ผนัง

ผนัง นั้นเรียกได้ว่าเป็นผิวหนังของบ้าน( skin ) สำหรับผนังภายนอกนั้นคอยปกป้องตัวบ้าน จากความเปลี่ยนแปลงของ อากาศ ร้อนหนาว แดด ลม ฝน ภายนอกบ้าน ส่วนผนังภายในนั้น ทำหน้าที่แบ่งส่วนใช้สอยต่าง ๆ ภายในบ้าน ให้เป็นสัดส่วน ตามการใช้สอย ผนังในบ้านนั้นมีทั้งผนัง ที่ทำหน้าที่เป็นโครงสร้าง หรือที่เราเรียกว่า ผนังรับน้ำหนัก ( ซึ่งแยกย่อยไปอีก เป็น ผนังรับน้ำหนัก ที่เป็น คอนกรีตเสริมเหล็ก และผนังรับน้ำหนัก ที่ใช้การก่ออิฐเต็มแผ่น) ผนังลักษณะนี้ให้นึกภาพง่าย ๆ ว่าเป็นเสาที่ยึดยาวออกไปเป็น ผนังนั่นเอง ผนังชนิดนี้จึงมีราคาค่อนข้างแพงกว่า ผนังปกติสักหน่อย ส่วนผนังอีกประเภท เป็นผนังที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไป คือ ผนังที่ไม่ได้ทำหน้าที่รับน้ำหนัก หรือมิได้ทำตัวเป็นโครงสร้าง




ส่วนมากเป็นผนังก่อด้วยอิฐ หรืออาจใช้เป็นแผ่นยิปซั่มบอร์ดก็ได้ ตัวผนังเองก็มีหลายชนิด เช่น ผนังก่ออิฐ ผนังหิน ผนังคอนกรีตบล็อก ผนัง Glass Block หรือผนังแก้ว นอกจากนี้ก็ยังมีผนังที่เป็น ผนังกระจก ( curtain wall ) นิยมใช้กันมากในตึกสูง และมีการนำมาใช้กับ บ้านพักอาศัยในส่วนที่ ต้องการเปิดมุมมองสู่ภายนอก เช่น ห้องรับแขก ห้องพักผ่อน เป็นต้น ในวิธีการก่อสร้างนั้นผนังแต่ละอย่าง ก็มีรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันออกไปตามประเภท

กล่าวถึงผนังที่ใช้กันอยู่ทั่วไป นั่นคือ ผนังก่ออิฐ มีสองลักษณะ การก่ออิฐโชว์แนว และ ผนังก่ออิฐฉาบปูน

ผนังก่ออิฐโชว์แนว คือผนังที่มีการก่ออิฐเรียงกัน และไม่มีการฉาบทับ เพื่อต้องการโชว์แนวของอิฐผนังชนิดนี้ จึงไม่มีปูนฉาบหน้า กันความชื้น ดังนั้นในการก่ออิฐโชว์แนวสำหรับผนัง ด้านนอกอาคาร ไม่ควรจะก่อโชว์ทั้งสองด้าน เพราะเวลาฝนตก หรือมีความชื้น เข้ากระทบผนัง น้ำจะซึมเข้าด้านในได้โดยง่าย ข้อควรระวัง อีกประการ ก็คือ อย่าก่อในบริเวณที่มีรถวิ่งผ่านหรือวิ่งเฉียด (เช่นโรงรถ ข้างถนน เป็นต้น) เพราะหากมีการกระทบให้อิฐโชว์แนวมีรอย การแก้ไขทำได้ยาก ส่วนใหญ่มักต้องทุบผนังทั้งแผงออก และก่อขึ้นใหม่

ผนังก่ออิฐฉาบปูน นั้น เป็นผนังที่ใช้อิฐก่อขึ้นมา และฉาบทับด้วยปูน เพื่อความเรียบร้อย สำหรับการก่ออิฐในผนังชนิดนี้ จะต่างจาก การก่ออิฐของ ผนังก่ออิฐโชว์แนว เพราะจะต้องก่ออิฐให้ ผิวคอนกรีตมีรอยบุ๋ม ลึกประมาณ 3-5 มิลลิเมตร เพื่อเวลาฉาบปูน จะได้ยึดเกาะ ผิวคอนกรีตได้แน่นหนา ก่อนฉาบปูนก็ควร ทำความสะอาดผนัง ด้วยไม้กวาด หรือลมเป่า ให้เศษ หรือฝุ่นปูน หลุดออกเสียก่อน และทำการรดน้ำให้ชุ่มเสีย ทิ้งไว้ซักครึ่งนาที ก่อนให้อิฐดูดน้ำให้เต็มที่ ป้องกันไม่ไห้อิฐ ดูดน้ำ ไปจากปูน อันจะก่อให้เกิดการแตกร้าวของผนังได้

สำหรับงานผนังก่ออิฐ ไม่ว่าจะเป็นผนังก่ออิฐโชว์แนว หรือผนังก่ออิฐฉาบปูน นั้นควรตรวจสอบว่า ได้มีการเตรียมเหล็กนวดกุ้ง ยื่นออกมาจากเสา เพื่อยึดประสานระหว่าง เสาและผนังบ้านของท่าน ป้องกันการร้าวของผนัง ข้อควรระวังอีกอย่างหนึ่ง ที่จะป้องกันการร้าวของผนัง โดยเฉพาะผนังทางด้านทิศตะวันตก กับด้านทิศใต้ ที่ได้รับแดดและความร้อนมาก มีการยืดหดมาก และมีโอกาสที่จะแตก (ลายเงา) ได้มาก หากมีงบประมาณเพียงพอเวลาจะฉาบปูน ให้เอาลวดกรงไก่บุที่ผนังเสียก่อน เพราะลวดกรงไก่นี้ จะทำหน้าที่ เป็นตัวยึดป้องกันการแตกร้าวได้ครับ ส่วนผนังด้านที่มีประตู หน้าต่าง หรือช่องเปิด เป็นส่วนประกอบ และทุก ๆ ความสูงของผนัง 3 เมตร ก็อย่าลืมทำเสาเอ็นเสียด้วยนะครับ




นอกจากผนังก่ออิฐฉาบปูนและผนังก่ออิฐโชว์แนวแล้วยังมี ่ ผนังที่เป็นบล๊อคอิฐแก้ว ผนังกระจก และผนังยิปซั่ม หรือผนังเบา



นอกจากผนังก่ออิฐฉาบปูนและผนังก่ออิฐโชว์แนวแล้วยังมี ่ ผนังที่เป็นบล๊อคอิฐแก้ว ผนังกระจก และผนังยิปซั่ม หรือผนังเบา

1. ผนังบล๊อคอิฐแก้ว (Glass block) นั้นส่วนใหญ่นิยมใช้ก่อเป็นผนังใน ส่วนที่ต้องการแสงสว่างหรือตกแต่งเพื่อความสวยงาม ในการทำผนังบล๊อคอิฐแก้ว ก็มีข้อควรระวังคล้าย ๆ กับการก่อผนังอิฐโชว์แนว เพราะหากผนังอิฐบล๊อค เกิดการแตกร้าวขึ้นสักก้อน ก็ยากแก่การปรับเปลี่ยนแก้ไข เพราะฉะนั้น การทำผนังก่ออิฐบล๊อค จึงนิยมทำกัน ในพื้นที่ไม่ใหญ่มากนัก ในกรณีที่ก่อเป็นพื้นที่ ขนาดใหญ่ ก็ควรมีการทำเสาเอ็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ทุก ๆ ระยะห่าง 3 เมตร

2. ผนังกระจก ( Curtain wall ) ด้วยวิทยาการปัจจุบัน เราสามารถพัฒนาการก่อสร้าง จนสามารถนำกระจกมาใช้เป็นผนังได้แล้ว ซึ่งผนังกระจกเหล่านี้จะมีลักษณะการติดตั้งต่าง ๆ กันตามลักษณะ การยึดเกาะของแผ่นกระจก คือ

2.1 กระจกยึดติดกับกรอบเพียง 2 ด้าน (two-side support) ซึ่งมักจะยึดที่พื้น หรือเพดาน ส่วนอีก 2 ด้านที่เหลือปล่อยให้ชิดกับกระจกแผ่นอื่นๆ การยึดติดกระจกแบบนี้จะมีปัญหาเรื่องการแอ่นตัวของกระจก ซึ่งสามารถป้องกันแก้ไขโดยเพิ่มความหนาของกระจก หรือเปลี่ยนการยึดติดกระจกเป็น 3 ด้านหรือ 4 ด้าน ตามความเหมาะสม

2.2 กระจกยึดติดกับกรอบเพียง 3 ด้าน (three-sided support) กระจกจะยึดติดกับกรอบ 3 ด้าน อีกด้านหนึ่งอาจจะวางลอยๆ หรือต่อกับ กระจกแผ่นอื่นๆ ซึ่งมีความแข็งแรงกว่าแบบแรก

2.3 กระจกยึดติดกับกรอบ 4 ด้าน (four-sided support) เป็นรูปแบบการติดตั้งที่แข็งแรงที่สุด ในการติดตั้งผนังกระจกนั้น ควรหาช่างที่ชำนาญ มาติดส่วนผนัง ที่เป็นกระจกโค้งนั้น ก็สามารถทำได้ครับ เพียงแต่มีราคาแพง และต้องอาศัยความชำนาญ ในการติดตั้งมากเป็นพิเศษ เมื่อเสียหายก็ยาก ในการซ่อมแซม และหามาเปลี่ยนใหม่ครับ เพราะฉะนั้น หากท่านไม่ต้องการ มีปัญหายุ่งยากกับการซ่อมแซมในภายหลัง ก็ควรที่จะหลีกเลี่ยงเสีย

3. ผนังยิปซั่ม หรือผนังเบา เป็นผนังที่นิยมใช้กันมาก ในปัจจุบัน เพราะมีน้ำหนักเบา ประหยัด และติดตั้งได้รวดเร็ว ในการติดตั้งผนังเบานั้น ต้องคำนึงถึงตำแหน่ง สวิทช์และปลั๊กไฟต่างๆให้ครบถ้วน เพราะหากต้องการ ติดเพิ่มเติมทีหลังนั้นจะมีความยุ่งยากมาก และอาจทำให้เกิด การเสียหาย กับผนังขึ้นได้ ผนังยิปซั่มมี อายุการใช้งานสั้น และมักจะมีปัญหาในเรื่องความชื้น จึงนิยมใช้กับผนังภายใน และผนังตกแต่ง ที่มีการปรับเปลี่ยนบ่อย ๆ ครับ สำหรับงานผนังที่นับว่า เป็นเปลือกของอาคารนั้น สามารถพิจารณาเลือกใช้ ตามประโยชน์ใช้สอย รสนิยม และความต้องการ ของแต่ละท่านได้ตามสะดวก
ลำดับชั้นในการก่ออิฐผนัง ผนังก่ออิฐหรือคอนกรีตบล็อค ความหนาโดยทั่วไป ของผนังก่ออิฐฉาบปูน 10 เซนติเมตร ตีเส้นแนวการกอ่ อิฐที่พื้นเพื่อกำหนดแนวการก่อ หรือ ขึงเอ็นแนวระดับทั้งแนวตั้งและแนวนอนไม่ว่าจะก่อด้วยวัสดุชนิดใดก็ตาม ก่อนก่ออิฐมอญ(อิฐแดง) ต้องชุบน้ำให้ชุ่ม เพื่อป้องกันไม่ให้อิฐดูดซึมน้ํ้าจากปูนก่อ ทำให้ปูนแห้งแตกง่าย แนวการก่ออิฐแต่ละชั้นควรมีแนวสลับกันเพื่อการยึดเหนี่ยวให้แข็งแรง หรือก่อตามแบบที่กำหนด โดยมีปูนก่อรองเต็มหน้าหนาไม่น้อยกว่า 2 ซม. การก่อผนังอิฐที่มีขนาดพื้นที่เกินกว่า 9 ตารางเมตร (3x3 เมตร) ต้องทำเอ็นคสล. ขนาด 0.10x0.10 ม. โดยเหล็กยึดใช้ขนาด 6 มม. จำนวน 2 เส้นและเหล็กปลอกขนาด 6 มม. ระยะห่าง 15 ซม.
กรณีผนังไม่มีช่องเปิด(หน้าต่าง)เมื่อก่อผนังไปครึ่งหนึ่งต้องทำคานเอ็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ส่วนในกรณีที่ก่อผนังที่มีช่องเปิดประตูและหน้าต่าง โดยรอบของประตูและ หน้าต่างต้องทำเอ็นคอนกรีตเสริมเหล็กโดยรอบ(ขนาดหน้าตัด 10 x 10 เซนติเมตร ) เพื่อป้องกันการแตกร้าวแนวทแยงที่มุมประตูและหน้าต่าง

คุณสมบัติของคอนกรีต (Concrete Properties)

คุณสมบัติของคอนกรีต (Concrete Properties) การพิจารณาถึงคุณสมบัติของคอนกรีตที่สำคัญๆ จะแยกพิจารณาคุณสมบัติของคอนกรีตใน 2 ลักษณะคือ คอนกรีตในสภาพที่ยังเหลว และ คอนกรีตในสภาพที่แข็งตัวแล้ว
1. คอนกรีตในสภาพที่ยังเหลว มีคุณสมบัติอยู่ 2 ประการที่ควรพิจารณา คือ
1.1 ความสามารถเทได้ (Workability) ความสามารถเทได้ หรือ ความคล่องตัวในการเท คือ ผลรวมของพลังงานที่ต้องใช้เพื่อเอาชนะแรงเสียดทานระหว่างอนุภาคส่วนผสมในคอนกรีต และแรงเสียดทานระหว่างคอนกรีตกับแบบหล่อ และเหล็กเสริมคอนกรีต หากคอนกรีตมีความสามารถเทได้ดี คอนกรีตจะไหลได้เต็มแบบและหุ้มเหล็กเสริมได้ดี ทั้งยังสามารถทำให้แน่นได้โดยปราศจากการแยกตัว
ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสามารถเทได้ของคอนกรีตได้แก่
1.1.1 ปริมาณน้ำในส่วนผสม น้ำมากจะช่วยเพิ่มการหล่อลื่นให้คอนกรีต แต่เมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้ว จะมีช่องว่างในคอนกรีตมาก ทำให้กำลังของคอนกรีตลดลง
1.1.2 คุณสมบัติของปูนซีเมนต์และวัสดุมวลรวม
1.1.3 ส่วนผสมของคอนกรีต ถ้าใช้ทรายมากจะมีความสามารถการเทได้มากขึ้น แต่กำลังจะลดลง
1.1.4 สารผสมเพิ่ม
การทดสอบความสามารถเทได้ของคอนกรีต ที่ใช้กันแพร่หลาย คือ การทดสอบหาค่ายุบตัว (Slump Test) ตัวอย่างค่ายุบตัวที่เหมาะสมกับงานก่อสร้างทั่วๆ ไปในประเทศไทยมีแสดงไว้ในตาราง




1.2 การอยู่ตัว (Soundness) การอยู่ตัวหรือความข้นเหลว หมายถึงการที่คอนกรีตคงความสม่ำเสมอของเนื้อคอนกรีตตลอดช่วงเวลาที่เท หรือขนย้าย คอนกรีตที่มีการอยู่ตัวดี จะสามารถอัดแน่นในแบบหล่อได้ดีโดยไม่เกิดการแยกตัว (Segregation) และไม่เกิดการเยิ้ม (Bleeding) ปัจจุบันยังไม่มีเครื่องมือวัดค่าการอยู่ตัวจะอาศัยการสังเกตเป็นหลัก
2. คอนกรีตในสภาพที่แข็งตัวแล้ว คุณสมบัติของคอนกรีตที่แข็งตัวแล้ว มีหลายประการ แต่ในที่นี้จะขอกล่าวถึงคุณสมบัติที่สำคัญที่สุด คือ กำลังของคอนกรีต (Strength)
กำลังของคอนกรีตขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ปัจจัยที่สำคัญมากอย่างหนึ่ง คือ อัตราส่วนน้ำ-ซีเมนต์ (Water-Cement Ratio [w/c]) ถ้าใช้น้ำผสมคอนกรีตมาก กำลังของคอนกรีตจะน้อย การที่กำลังของคอนกรีตที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นั้น เป็นผลมาจากปฏิกิริยาระหว่างน้ำกับซีเมนต์ น้ำจึงมีความจำเป็นอย่างมากต่อกำลังของคอนกรีต ดังนั้น ในงานก่อสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก เมื่อผสมคอนกรีตจะต้องควบคุมปริมาณน้ำที่ใช้ผสมคอนกรีตให้ได้ตามที่ออกแบบส่วนผสม และเมื่อคอนกรีตเริ่มก่อตัว จะต้องคอยควบคุมให้คอนกรีตสูญเสียน้ำน้อยที่สุด โดยปกติ จะถือเอากำลังของคอนกรีตเมื่ออายุครบ 28 วัน เป็นมาตรฐานในการบอกกำลังของคอนกรีต และกำลังของคอนกรีตจะหาจาก แท่งคอนกรีตรูปทรงกระบอก หรือแท่งคอนกรีตรูปทรงลูกบาศก์

เทคอนกรีตอย่างไร ให้ได้ระดับ กล้องระดับ ช่วยคุณได้นะครับ

เทคอนกรีตอย่างไร ให้ได้ระดับตามที่แบบก่อสร้างกำหนด? จะทำไงล่ะคราวนี้ เพิ่งจบมาซะด้วย ตอนฝึกงานก็ถูกใช้ให้ชงกาแฟ กับถ่ายเอกสาร แล้วจะรู้ไหมนี่เรา???? ปัญหาแบบนี้ใครไม่เจอกับตัวเองก็คงจะเครียดพอสมควร ครั้นจะถามผู้อื่นก็กลัวจะเสียหน้า แต่ท่านรู้หรือไม่ วิธีการเทคอนกรีตให้ได้ระดับนั้นง่ายกว่าที่ท่านคิดซะอีก มีมากมายหลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับลักษณะของงาน (ความมีคุณภาพของงาน) โดยมีอุปกรณ์ที่ท่านไม่คิดว่ามันจะสามารถนำมาใช้งานได้ จนไปถึงเครื่องมือที่แสนจะไฮ-โซ ราคาแพง ทั้งนี้จะใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์แบบใด ก็จะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงานที่ทำก็เพียงพอแล้วครับ
ถ้าพูดถึงการเทคอนกรีตให้ได้ระดับ ลักษณะของงานที่ผมคิดว่าน่าจะเด่นชัดที่สุดก็คงจะเป็น “การเทคอนกรีตพื้น” นั่นเองครับ เพราะอะไรน่ะหรือ ก็เพราะคำว่า “พื้น” มันจะสื่อถึงความราบเรียบเป็นระดับเดียวกันนั่นเองครับ (แม้จะเอียง ก็ยังเอียงแบบเรียบๆ ถ้าทำเป็นหนามแหลมๆ แล้วใครจะมาเดินล่ะครับ) ความพิดพลาดในการทำระดับในการเทพื้นผิด อาจจะสามารถส่งผลกระทบถึงงานอื่นๆ ในอนาคตได้ไม่มากก็น้อย เช่น
• คอนกรีตเหลือบ้างหล่ะ อันนี้ไม่ซีเรียสเท่าไหร่
• คอนกรีตไม่พอบ้างหล่ะ อันนี้ซีเรียสพอสมควร เพราะอาจจะโดนเจ้านายชื่นชมได้ (ประชดเล็กๆ)
• งาน Finishing จบไม่ลงบ้างหล่ะ อันนี้ก็ต้องเคลียร์กันไปตามความเหมาะสม
• ฯลฯ
ปัญหาต่างๆที่กล่าวมานั้น แม้บางอย่างจะเป็นปัญหาเล็กๆ แต่จะดีกว่าไหมถ้าเราทำให้มันถูกต้องเสียก่อน เพื่อป้องกันเสียตั้งแต่เนิ่นๆ




วิธีการง่ายๆในการเทคอนกรีตให้ได้ระดับ
1. การทำก้อนลูกปูน (ผมเรียก “กองขี้หมา”) อันนี้ใช้กับงานแบบหยาบๆ ไม่ต้องการระดับที่ถูกต้องมากมายนัก
2. การใช้เชือกไนลอนหรือเอ็นขึงทำระดับ อันนี้ก็เป็นที่นิยมสำหรับงานที่ไม่ใหญ่มากนัก แต่อาจจะกีดขวางการทำงานบ้าง
3. การใช้เหล็กเสียบวัดความหนาของเนื้อคอนกรีต อันนี้ผมชอบเพราะเร็วดี แต่ตวามแม่นยำจะน้อยมาก ต้องอาศัยประสบการณ์พอสมควร
4. การใช้กล้องระดับ อันนี้ชัวร์ที่สุด แม่นที่สุด (ถ้าคนถือไม้ระดับกับคนส่องกล้องไม่เมา) จะใช้กับงานขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่ในการทำงานมากๆ เพราะการทำระดับผิดไป จะส่งผลถึงปริมาณคอนกรีตที่ใช้แน่นอน
ส่วนเทคนิคอื่นๆ หรือวิธีการอื่นๆ รวมถึงขั้นตอนการทำงาน ผมจะไม่ขอกล่าวในที่นี้ครับ ท่านที่มีความสงสัย หรือมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม สามารถแนะนำติชมเพิ่มเติมได้ที่เว็บบอร์ดนะครับ

น้ำหนักบรรทุกคงที่ (Dead Load : DL)

น้ำหนักบรรทุกคงที่ (Dead Load : DL) หมายถึงน้ำหนักบรรทุกที่กระทำอยู่กับที่ คงที่ตายตัว ไม่มีการเคลื่อนย้ายหรือเปลี่ยนแปลงขนาดของน้ำหนัก ถ้าจะให้เห็นลักษณะที่ชัดเจนก็คือชิ้นส่วนของโครงสร้างของอาคารนั่นเอง ซึ่งได้แก่ เสา คาน พื้น หลังคา ผนัง บันได กระเบื้องปูพื้น พื้นสำเร็จรูป และคอนกรีตทับหน้าของพื้นสำเร็จรูป เป็นต้น แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าชิ้นส่วนของอาคารเหล่านั้นมันมีน้ำหนักเท่าไหร่ แต่ไม่ต้องกังวล เพราะน้ำหนักต่างๆเหล่านั้นเขาได้มีการทดสอบมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพียงแต่เราทราบขนาดหรือพื้นที่ของชิ้นส่วนนั้นๆ ก็จะสามารถทราบน้ำหนักคงที่โดยคร่าวๆได้แล้ว ซึ่งน้ำหนักคงที่ของวัสดุต่างๆ มีข้อมูลน้ำหนักต่อหน่วยโดยประมาณ ดังแสดงไว้ในตารางต่อไปนี้


น้ำหนักบรรทุกคงที่ของวัสดุ
หน่วยน้ำหนักโดยประมาณ
1. คอนกรีตเสริมเหล็ก
2300- 2400 กก./ลบ.ม.
2. เหล็ก
7700 – 7900 กก./ลบ.ม.
3. ไม้
460 – 490 กก./ลบ.ม.
4. กระจก
2900 – 3000 กก./ลบ.ม.
5. น้ำ
1000 กก./ลบ.ม.
6. ผนังอิฐบล็อกรวมฉาบหนา 10 ซม.
120 – 150 กก./ตร.ม.
7. ผนังอิฐมอญรวมฉาบหนา 10 ซม.
180 – 200 กก./ตร.ม.
8. ผนังอิฐบล็อกมวลเบารวมฉาบหนา 10 ซม.
90 – 100 กก./ตร.ม.
9. ผนังเบา เช่น ไม้อัด, ยิปซั่ม รวมโครงคร่าว
20 – 40 กก./ตร.ม.
10. หลังคากระเบื้องลอนคู่, ลอนเล็ก รวมแป
12 – 15 กก./ตร.ม.
11. หลังคากระเบื้องโมเนีย, ดินเผาเคลือบ รวมระแนง
50 – 70 กก./ตร.ม.
12. โครงสร้างหลังคา
20 – 50 กก./ตร.ม.
13. ฝ้าเพดาน รวมโครงคร่าว
15 – 20 กก./ตร.ม.
14. พื้นไม้รวมตง
30 – 50 กก./ตร.ม.
15. พื้นสำเร็จรูปรวมคอนกรีตทับหน้า รวมหนา 10 ซม.
240 – 260 กก./ตร.ม.
16. กระเบื้องปูพื้นรวมปูนทราย หนา 5 ซม.
120 – 150 กก./ตร.ม.



น้ำหนักบรรทุกจร (Live Load : LL)

น้ำหนักบรรทุกจร (Live Load : LL) หมายถึง น้ำหนักบรรทุกที่เป็นลักษณะมีการเคลื่อนย้าย เคลื่อนที่ หรือมีการเปลี่ยนแปลงขนาดน้ำหนักอยู่ตลอดเวลา หรืออยู่ชั่วคราว เช่น รถยนต์ หิมะ แรงลม ผู้คนที่ใช้อาคาร วัสดุอุปกรณ์สำนักงาน เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาเราจะสามารถสังเกตุได้ว่า แรงกระทำเหล่านี้จะเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว และเมื่อมีการเคลื่อนย้ายออกไป ก็จะไม่มีแรงกระทำคงค้าง ซึ่งตามข้อกำหนดของพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 หรือข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเรื่องควบคุมอาคาร พ.ศ. 2544 ได้กำหนดค่าน้ำหนักบรรทุกจรขั้นต่ำเพื่อใช้ควบคุมการออกแบบไว้ดังตารางต่อไปนี้


ประเภทการใช้อาคาร
น้ำหนักบรรทุกจรขั้นต่ำ (กก.ตร.ม.)
1. หลังคา
50
2. พื้นกันสาดหรือพื้นหลังคาคอนกรีต
100
3. ที่พักอาศัย โรงเรียนอนุบาล ห้องน้ำ-ห้องส้วม
150
4. ห้องแถว ตึกแถว อาคารชุด หอพัก โรงแรม
200
5. สำนักงาน ธนาคาร
250
6. อาคารพาณิชย์ มหาวิทยาลัย วิทยาลัย โรงเรียน
300
7. ห้องโถง บันไดและช่องทางเดินของอาคารชุด หอพัก โรงแรม โรงพยาบาล สำนักงาน ธนาคาร
300
8. ตลาด ห้างสรรพสินค้า หอประชุม โรงมหรสพ ภัตตาคาร ห้องประชุม ห้องอ่านหนังสือในหอสมุด ที่จอดรถ/เก็บรถยนต์นั่ง
400
9. ห้องโถง บันไดและช่องทางเดินของอาคารพาณิชย์ มหาวิทยาลัย วิทยาลัย โรงเรียน
400
10. คลังสินค้า โรงกีฬา พิพิธภัณฑ์ อัฒจันทร์ โรงพิมพ์ โรงงานอุตสาหกรรม ห้องเก็บเอกสารและพัสดุ
500
11. ห้องโถง บันได ช่องทางเดินของตลาด ห้างสรรพสินค้า หอประชุม โรงมหรสพ ภัตตาคาร และหอสมุด
500
12. ห้องเก็บหนังสือของหอสมุด
600
13. ที่จอดรถหรือเก็บรถยนต์บรรทุกเปล่าและรถอื่นๆ
800
14. แรงลมที่กระทำต่ออาคาร (กรณีไม่มีเอกสารอ้างอิง)

ส่วนของอาคารที่สูงไม่เกิน 10 เมตร
50
ส่วนของอาคารที่สูงกว่า 10 เมตร แต่ไม่เกิน 20 เมตร
80
ส่วนของอาคารที่สูงกว่า 20 เมตร แต่ไม่เกิน 40 เมตร
120
ส่วนของอาคารที่สูงกว่า 40 เมตร
160


ตุ๊กตาค้ำยัน

ก็เป็นธรรมเนียมครับก่อนอื่น ต้องสวัสดีพี่ๆ น้องๆ ชาววิศวกรรมโยธาทุกๆ คนครับ ก็เหมือนเดิมครับพบกัน เช่นเดิมครับอีกแล้วครับท่าน มีเรื่องมาเล่าให้ฟังครับ มีอยู่ว่า “เด็กๆ มักชอบเล่นตุ๊กตา ส่วน โครงการงานก่อสร้างทำไมต้องเอาตุ๊กตาของเด็กๆ มาเกี่ยวข้องด้วยล่ะครับ!!!” ชักจะงงๆ ส่วนท่านที่ทราบดีแล้วที่อยู่ในวงการก่อสร้าง ก็อย่ารำคาญเลยล่ะครับ ส่วนนักศึกษาวิศวกรรมโยธาที่จะเป็นนายช่างต่อไปก็คงให้เรียนรู้ต่อไปครับ
คำว่า “ตุ๊กตา” ภาษาทางช่าง หมายถึง ค้ำยันสำหรับรองรับคานคอนกรีตนั่นเองครับ ส่วนการเรียกชื่อตุ๊กตานี้ผมคงเกิดไม่ทันหรอก และไม่ทราบแน่ชัดครับว่า “นายช่างคนไทยสมัยโบราณบัญญัติไว้” ครับ ต้องขอยกย่อง นายช่างคนไทยสมัยโบราณ ต่อไปมาเข้าเรื่องเลยครับ การที่ผู้รับเหมาหรือผู้ควบคุมที่จะทำการติดตั้งหรือหล่อคานคอนกรีตจำเป็นต้องทำตุ๊กตา ส่วนประกอบก็มีไม่กี่อย่างหรอกครับ ไม้กลมๆ หรือไม้หน้าสาม (1½” x 3″ ) นั่นแหละครับ ตะปู ฆ้อน เลื่อย เป็นต้น


พอทำตุ๊กตาแล้วก็จะมีไม้แบบท้องคานและผูกเหล็กคานในลำดับต่อ พอเสร็จแล้วก็ประกอบแบบข้างเพื่อเทคอนกรีตคานต่อไปดัง รูปที่ 1 ครับในส่วนระยะเวลาในการรื้อถอดตุ๊กตา ก็ตามข้อกำหนดของ (วสท.) ระยะเวลาก็ประมาณ 14 วันครับ ปัจจุบันความทันสมัยและการพัฒนาของวงการคอนกรีตกำลังสูง สามารถเพิ่มและเร่งกำลังของคอนกรีตให้ทันต่อการใช้งานได้ครับ สามารถเร่งถอดตุ๊กตาในระยะเวลา อันสั้นได้ครับ ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องอยู่ที่ผู้รับเหมาหรือผู้ควบคุมงานใช้คอนกรีต กำลังอัดที่เท่าใดและประสานงานกับทางเจ้าหน้าทดสอบคอนกรีตเสมอว่า คานคอนกรีตที่จะถอดตุ๊กตาต้องมีผลการทดสอบ ของคอนกรีตก่อนครับ เพื่อความปลอดภัยของโครงสร้างที่จะทำการรื้อตุ๊กตาต่อไปครับ

ตัวอย่างการออกแบบพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กหลักสองทาง

ตัวอย่างการออกแบบพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กหลักสองทาง หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า “พื้นสองทาง” (Two Way Slab) นั่นเองครับ ซึ่งเจ้าพื้นสองทางนี้ก็คือพื้นที่มีอัตราส่วนด้านสั้นต่อด้านยาว (S/L) มากกว่า 0.5 นั่นเองครับ ซึ่งจะต้องเป็นพื้นที่มีคานรองรับทั้งสี่ด้าน ทั้งนี้อาจจะเป็นพื้นเดี่ยว (ผืนเดียว) หรือเป็นพื้นต่อเนื่องก็ได้ ในส่วนของการออกแบบพื้นสองทางตามตัวอย่างนี้ จะใช้การออกแบบโดยวิธีที่สอง ตามมาตรฐาน วสท. 1007-43 ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและเป็นที่นิยมในการออกแบบครับ โดยจะใช้ค่าสัมประสิทธิ์โมเมนต์ (Moment Coefficient) คูณกับน้ำหนักบรรทุก เพื่อปรับค่าการโก่งตัวทั้งในด้านสั้นและด้านยาวให้มีค่าเท่ากันนั่นเองครับ ทั้งนี้เราสามารถประมาณความหนาของพื้นได้จาก 1/180 ของเส้นรอบรูปพื้น แต่ต้องไม่น้อยกว่า 8 cm. ครับ ส่วนพื้นสองทางที่นำมาเป็นตัวอย่างนี้ มีด้านกว้าง (S) 2.4 m. และด้านยาว (L) 4.0 m. ครับ เป็นพื้นไม่ต่อเนื่องกันสองด้าน (พื้นด้านหน้าอาคารตัวริมสุด)


ค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ที่ใช้ในการออกแบบ
• fc‘ = 280 ksc. ; fc = 126 ksc. ; fy = 2400 ksc. ; fs = 1200 ksc.
• n = 8.07 ; k = 0.4588 ; j = 0.847 ; R = 24.484 ksc.
ประมาณความหนาของพื้น จาก h = (S+L)/90 = 7.1 cm. → 8.0 cm.
น้ำหนักบรรทุกที่ใช้ในการออกแบบ
• น้ำหนักบรรทุกคงที่ = 2400 x 0.08 = 192 kg/m2
• น้ำหนักบรรทุกจร = 200 kg/m2
• น้ำหนักวัสดุปูพื้น = 120 kg/m2
• รวมน้ำหนักบรรทุกทั้งหมด (W) = 512 kg/m2
หาค่าสัมประสิทธิ์โมเมนต์ (c) จากตาราง (วิธีที่สอง ตามมาตรฐาน วสท. 1007-43) โดยเลือกใช้ค่าสัมประสิทธิ์โมเมนต์ (c) ที่ให้ค่าโมเมนต์ดัดสูงสุด (ทั้งโมเมนต์ลบและโมเมนต์บวก)
ด้านสั้น (เลือกใช้ค่าที่ให้ค่าโมเมนต์ดัดสูงสุด) จะได้
• c+ = 0.059 ; c- = 0.078
ด้านยาว (เลือกใช้ค่าที่ให้ค่าโมเมนต์ดัดสูงสุด) จะได้
• c+ = 0.037 ; c- = 0.049
คำนวณค่าโมเมนต์ดัดที่เกิดขึ้นและปริมาณเหล็กเสริม จาก M = cWS2 และ Ast = M/fsjd จะได้
ค่าโมเมนต์ดัดที่เกิดขึ้นและปริมาณเหล็กเสริมด้านสั้น
• M- = 230.03 kg.m. ; Ast = 4.53 cm2
• M+ = 174.00 kg.m. ; Ast = 3.42 cm2
ค่าโมเมนต์ดัดที่เกิดขึ้นและปริมาณเหล็กเสริมด้านยาว
• M- = 230.03 kg.m. ; Ast = 2.84 cm2
• M+ = 109.12 kg.m. ; Ast = 2.15 cm2
สรุปรายละเอียดเหล็กเสริมและระยะเรียงของเหล็กเสริม
รายละเอียดเหล็กเสริมและระยะเรียงของเหล็กเสริมด้านสั้น
• M- เลือกใช้ RB 9 mm. ระยะเรียงเหล็กเสริม = 100As/Ast = 14 cm.
• M+ เลือกใช้ RB 9 mm. ระยะเรียงเหล็กเสริม = 100As/Ast = 18 cm.
รายละเอียดเหล็กเสริมและระยะเรียงของเหล็กเสริมด้านยาว
• M- เลือกใช้ RB 9 mm. ระยะเรียงเหล็กเสริม = 100As/Ast = 22 cm.
• M+ เลือกใช้ RB 9 mm. ระยะเรียงเหล็กเสริม = 100As/Ast = 29 cm.
ทั้งนี้ในการออกแบบเพื่อการก่อสร้าง ควรเลือกใช้เหล็กเสริม และระยะเรียงของเหล็กเสริมให้เหมาะสมกับสภาพการทำงาน เพื่อความประหยัด ความปลอดภัย และการทำงานที่ง่ายขึ้นครับ

วิธีการเดินสายไฟฟ้า

วิธีการเดินสายไฟฟ้า
ประเภทแรกคือ การเดินสายไฟบนผนังหรือที่เรียกว่า เดินลอย วิธีนี้ค่าใช้จ่ายถูกกว่า แต่จะมองเห็นสายไฟบนผนัง ไม่ค่อยเรียบร้อย การตกแต่งห้องลำบากกว่า แต่สามารถตรวจ สอบความเสียหายได้ง่าย รวมทั้งการเปลี่ยนสายไฟก็ง่าย เพราะมองเห็น
ประเภทที่สองคือ การเดินผ่านท่อซึ่งฝังในผนังอาคารหรือที่เรียกว่า เดินร้อยสายผ่านท่อ วิธีนี้จะได้งานที่เรียบร้อย เพราะมองไม่เห็น จากภายนอก ท่อสายไฟจะฝังอยู่ในผนัง ต้อง ทำพร้อมการก่อสร้างอาคาร การตกแต่งห้องจะง่ายกว่าและมีท่อป้องกันสายไฟไว้ ค่าใช้จ่ายสูงกว่า แบบแรก การติดตั้งก็ยุ่งยากกว่ารวมถึงการตรวจสอบและการเปลี่ยนภายหลังก็ทำได้ ลำบากกว่าแบบแรก
- ระบบไฟฟ้าภายในบ้าน
ระบบไฟฟ้าภายในบ้าน ควรแยกวงจรเป็นส่วนๆ ไว้ เช่น แยกตามชั้นต่างๆ หากเกิดไฟฟ้าขัดข้องขึ้นที่ชั้นไหน ก็ สามารถสับคัตเอาท์ ปิดไฟเฉพาะส่วนชั้นนั้น เพื่อซ่อมแซมได้ และที่สำคัญส่วน ห้องครัว ควรแยกวงจรไว้ต่างหาก ด้วย เวลาไม่อยู่บ้านนานๆ จะได้ปิดไฟทั้งหมด เหลือเฉพาะ ส่วนครัวไว้ตู้เย็นในครัวจะใช้งานได้ อาหารต่างๆ จะได้ไม่เสีย

- ปัญหาของสายไฟฟ้า
ตามปกติทั่วไปสายไฟฟ้าจะมีอายุการใช้งานประมาณ 7-8 ปี แต่เมื่อมีการตรวจเช็ค และพบว่าฉนวนที่หุ้มสายไฟ เริ่มเปลี่ยนสี เป็นสีเหลืองและเริ่มกรอบแตก ก็สมควรที่จะ เปลี่ยนสายไฟใหม่ โดยไม่ต้องรอให้หมดอายุก่อน เพราะ อาจลัดวงจร และทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้
สายไฟฟ้าควรเดินอยู่ในท่อร้อยสายไฟ เพื่อป้องกัน ฉนวนที่หุ้มสายไฟไม่ให้ขีดข่วนชำรุด โดยเฉพาะสายไฟที่เดิน อยู่ภายนอกบ้าน เช่น ไฟรั้ว สนาม หรือกระดิ่งที่ติดอยู่หน้า บ้าน ส่วนใหญ่จะไม่มีท่อหุ้ม เมื่อโดนแดดโดนฝนนานๆ ก็จะ รั่วได้ เป็นอันตรายมาก ควรหมั่นตรวจสอบอยู่เสมอ หรือถ้า เปลี่ยนเป็นแบบเดินท่อก็จะปลอดภัยกว่า ที่สำคัญเวลามีปัญหา อย่าซ่อมไฟฟ้าเอง ควรตามผู้รู้หรือช่างมาซ่อมจะดีกว่า

- ชนิดของหลอดไฟ
หลอดไฟที่ใช้กันอยู่ทั่วไปมี 2 ประเภท คือ
หลอดอินแคนเดสเซนต์ หรือหลอดแบบมีไส้ ทำงาน โดยการปล่อยกระแสไฟเข้าสู่ขดลวด เพื่อให้เกิดความร้อน แล้วเปล่งแสงออกมา หลอดชนิดนี้จะกินไฟมาก มีอายุการ ใช้งานประมาณ 750 ชม.
หลอดอีกประเภท คือ หลอดฟลูออเรสเซนต์ หรือ หลอดนีออน เป็นหลอดที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน เพราะมี ประสิทธิภาพสูง มีราคาสูง (การทำงานซับซ้อนกว่าจะได้แสง มา) มีอายุการใช้งานประมาณ 8,000ชม.

- ชนิดของโคมไฟ
ชนิดของโคมไฟแบ่งตามชนิดของการใช้งานได้ ดังนี้
โคมส่องห้องโดยทั่วไป จะเป็นโคมที่ติดบนฝ้าเพดาน หรือผนังก็ได้ ความสว่างจะปานกลาง เพื่อให้เห็นห้องโดยทั่ว ไปรวมถึงทางเดินและบันไดด้วย
โคมส่องเฉพาะจุด จะมีความสว่างมากกว่า จะใช้ส่อง เฉพาะจุดที่จะเน้นความสำคัญ เช่น รูปภาพ ต้นไม้ หรือจุดที่ ต้องทำงานเป็นพิเศษ เช่น มุมอ่านหนังสือ ส่วนทำงาน หรือ เตรียมอาหาร
โคมสำหรับตั้งพื้น จะมีความสว่างน้อยที่สุด จะใช้เพื่อ นั่งพักผ่อน ดูทีวี ฟังเพลง ห้องนอน เพื่อบรรยากาศที่ดี ไม่ ต้องการแสงสว่างมารบกวนมากจนเกินไป

- ระบบไฟฟ้าในห้องน้ำ
สำหรับห้องน้ำขนาดกลางโดยทั่วๆไป จะมีขนาด ประมาณ 4-6 ตารางเมตร ควรจะมีไฟส่องสว่างประมาณ 2 จุด จุดแรกที่หน้ากระจกติดกับอ่างล้างหน้า ส่วนที่สอง ควรอยู่กลางห้องบริเวณส่วนที่อาบน้ำ แต่ต้องระวังไม่ให้ต่ำ ลงมาจนถูกน้ำกระเด็นโดนได้ ส่วนปลั๊กควรอยู่ในระดับที่ สูงพอจะใช้งานได้สะดวก เช่น ใช้สำหรับที่เป่าผม หรือที่ โกนหนวด และควรจะใช้ชนิดมีฝาปิด เพื่อไม่ให้โดนน้ำ และที่สำคัญสวิทซ์ปิด-เปิดควรอยู่นอกห้อง และระบบวงจร ไฟฟ้าของห้องน้ำควรมีเบคเกอร์ตัด เมื่อเกิดไฟฟ้าช็อตด้วย

- หลอดไฟฟ้า "ฮาโลเจน"
หลอดไฟแบบ "ฮาโลเจน" จะให้แสงสีขาวนวล มี ความสว่างมากกว่าหลอดแบบอินแคนเดสเซนต์ในกำลังวัตต์ ที่เท่ากัน จึงทำให้ประหยัดค่าไฟฟ้ามากกว่า แต่หลอดฮาโล- เจนจะมีราคาสูงกว่า ประโยชน์ใช้สอยที่เหมาะสมกับหลอด ประภทนี้ได้แก่ ใช้ไฟส่องที่โต๊ะทำงาน ปฏิมากรรม และภาพ เขียนประดับผนังต่างๆ ทำให้งานดูโดดเด่นขึ้น

- ประโยชน์และชนิดของ "ฟิวส์"
"ฟิวส์"เป็นเครื่องป้องกันกำลังของกระแสไฟฟ้าที่เกินขนาดหรือเกิดการลัดวงจร แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
แบบที่ 1 ฟิวส์เส้น จะมีลักษณะเป็นเส้นเปลือยใช้ต่อ เชื่อมในวงจร เมื่อเกิดการลัดวงจร ฟิวส์เส้นนี้จะขาด
แบบที่ 2 ฟิวส์หลอด จะมีลักษณะเป็นหลอดกระเบื้อง เมื่อเกิดการช็อตจะทำให้เกิดประกายไฟ ภายในบรรจุสารเคมี เพื่อป้องกันการสปาร์ค จะดีกว่าแบบแรก
แบบที่ 3 ปลั๊กฟิวส์ จะมีลักษณะคล้ายหลอดเกลียว ใช้โดยวิธีหมุนเกลียวเข้าไป มีลักษณะการทำงานเหมือนแบบที่ 2 แต่จะไม่เกิดประกายไฟ




- วิธีการประหยัดไฟฟ้า ข้อควรปฏิบัติเพื่อการประหยัดไฟฟ้ามี ดังนี้
1. ปิดสวิทซ์เมื่อไม่ใช้งาน หรือเมื่อออกจากห้องถึงแม้ ว่าจะเป็นช่วงสั้นๆ ก็ตาม
2. ใช้หลอดไฟฟ้าวัตต์ต่ำ ควรตรวจดูความเหมาะสม ของห้อง เช่น ห้องกว้างควรใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ 36 วัตต์ หรือห้องเล็กก็ใช้ 18 วัตต์ ควรใช้แสงสว่างเท่าที่จำเป็น
3. หมั่นทำความสะอาดหลอดไฟและโคมไฟอยู่ เสมอ เพราะละอองฝุ่นที่เกาะอยู่จะทำให้แสงสว่างลดน้อยลง และอาจเป็นสาเหตุให้ท่านต้องเปิดไฟหลายดวงเพื่อให้แสง สว่างพอเพียง สำหรับหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่มีขายในท้อง ตลาด ปัจจุบันมีชนิดที่มีประสิทธิภาพสูง คือ ขนาด 18 วัตต์ และ 36 วัตต์ ซึ่งให้แสงสว่างเท่ากับหลอดอินแคนเดสเซนต์ ขนาด 20 วัตต์ และ 40 วัตต์ แต่กินไฟน้อยกว่า
ระบบปรับอากาศ
- ชนิดของระบบปรับอากาศ
มีอยู่ 3 ระบบ คือ ระบบติดหน้าต่าง ระบบแยกส่วน ที่เรียกว่า สปลิทไทพ์ (Split Type) และระบบเครื่องทำน้ำเย็น (Water Chiller)
- ระบบติดหน้าต่าง ต้องเตรียมโครงไว้สำหรับรับน้ำ หนักของตัวเครื่อง เพราะมีน้ำหนักมาก และต้องติดลอยอยู่ กลางกำแพง ถ้าไม่เตรียมไว้จะเกิดการแตกร้าวได้ เพราะความ สั่นสะเทือนของเครื่อง
-ระบบแยกส่วน จะมีปัญหามาก ถ้าตัวเครื่องเป่าลม เย็นอยู่กลางห้อง เพราะต้องคำนึงถึงการระบายน้ำว่าจะไปทาง ใด และถ้าต่อลงห้องน้ำ ก็อาจมีกลิ่นย้อนเข้ามา ทำให้ภายใน ห้องมีกลิ่นเหม็น และภายนอก ต้องมีที่วางคอนเดนเซอร์
เครื่องทำลมเย็นของเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน จะประกอบด้วย โบล์เวอร์ และคอล์ยเย็น ซึ่งมีสารทำความเย็นระเหยอยู่ภายในคอล์ยที่ความดันต่ำ ถ้าเป็นสารทำความเย็นฟรีออน 22 ที่ใช้กันจะมีความดันประมาณ 4.5 บาร์ ขณะที่ท่อทนความดันได้กว่า 20 บาร์ โอกาสที่จะเกิดการระเบิดจึงน้อยมาก และหากจะมีการระเบิดเกิดขึ้น เพราะความบกพร่องของฝีมือการประกอบก็จะไม่เกิดไฟไหม้ขึ้น เพราะสารทำความเย็นไม่ติดไฟ เป็นสารที่สามารถใช้ดับไฟได้ โดยเฉพาะใช้เป็นสารดับไฟในห้องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์ ฯลฯ โดยการเข้าไปไล่อากาศ (ออกซิเจน) ออกไปจากห้อง หรือทำให้อากาศภายในห้องมีสัดส่วนออกซิเจนเจือจางจนไฟดับไป
- ระบบเครื่องทำน้ำเย็น (Water Chiller) เครื่องปรับอากาศที่ใช้ในอาคารขนาดใหญ่ โดยทั่วไปจะเป็นเครื่องปรับอากาศระบบน้ำเย็น ซึ่งมีน้ำเย็นไหลเวียนไปยังเครื่องทำลมเย็นที่ติดตั้งอยู่ในบริเวณที่จะปรับอากาศของอาคาร น้ำเย็นที่ไหลเข้าไปใน เครื่องทำลมเย็นมีอุณหภูมิประมาณ 7 C แลไหลออกไปมีอุณหภูมิประมาณ 13 C ในขณะที่อากาศที่ไหลเข้าไปมีภาวะที่ 26 C กระเปาะแห้ง ความชื้นสัมพัทธ์ 55 เปอร์เซ้นต์ และออกจากเครื่องที่ภาวะ 15.5 C กระเปาะแห้ง 14.5 C กระเปาะเปียก น้ำที่ออกจากเครื่องทำลมเย็นจะถูกปั้มเข้าไปในเครื่องทำน้ำเย็นขนาดใหญ่ ที่ติดตั้งอยู่ในห้องเครื่องประธาน (Main Machine Room) เพื่อทำให้น้ำมีอุณหภูมิลดลงจาก 13 C เป็น 7 C เครื่องทำลมเย็นที่ติดตั้งอยู่ในบริเวณที่ปรับอากาศ มีส่วนประกอบคือ แผ่นกรองอากาศ ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นแผงใยอะลูมิเนียม แผงท่อน้ำเย็นที่มีน้ำเย็นไหลอยู่ภายใน มีโบล์เวอร์และมอเตอร์ไฟฟ้าที่ดูดอากาศ จากบริเวณที่ปรับอากาศ ให้ไหลผ่านแผ่นกรอง และแผงท่อน้ำเย็น แล้วส่งอากาศ ที่ถูกกรองให้สะอาดและถูกทำให้เย็นลงเข้าไป ปรับอากาศในบริเวณที่ปรับอากาศ จะเห็นได้ว่าบริเวณที่ปรับอากาศนั้นมีเฉพาะเครื่องทำลมเย็นท่อน้ำ และท่อลมที่ต่อเข้ากับ เครื่องทำลมเย็นเท่านั้น ไม่มีส่วนที่จะทำให้เกิดไฟไหม้ ไม่มีส่วนที่จะระเบิด ท่อน้ำอาจจะแตกได้ถ้าประกอบหรือเชื่อมไม่ดี และหากท่อแตก ก็จะทำให้น้ำรั่วกระจายทำความเสียหายเพราะเปียกน้ำเท่านั้น
- วิธีการติดตั้งระบบแยกส่วน (Split Type)
แบ่งออกเป็น 3 ระบบ คือ
1. แบบตั้งพื้น คือ ติดตั้งส่วนที่เป่าลมเย็นไว้กับพื้น วิธีนี้จะสะดวกในการติดตั้ง สามารถซ่อนท่อน้ำทิ้งได้สะดวก ดูแลรักษาง่าย แต่จะเสียพื้นที่ในการติดตั้ง ไม่เหมาะสำหรับ ห้องเล็ก
2. แบบติดผนัง คือส่วนที่เป่าลมเย็นไว้กับผนัง การ ติดตั้งค่อนข้างลำบาก เสียพื้นที่การใช้งานในส่วนผนัง แต่ไม่ เสียพื้นที่การใช้งานของห้อง ถ้าเกิดการรั่วซึม จะทำให้ห้อง เลอะเทอะบริเวณผนัง
3. แบบแขวนเพดาน คือ ติดตั้งส่วนที่เป่าลมเย็นไว้ บนเพดาน ข้อดี คือ ใช้พื้นที่ห้องได้เต็มที่มากกว่า 2 แบบ แรก การติดตั้งลำบากมาก เพราะต้องแขวนกับฝ้าเพดาน ต้องเตรียมวางแผนล่วงหน้า การดูแลรักษายาก ยิ่งเกิดการ รั่วซึมจะทำให้พื้นที่ใช้งานใต้เครื่องเปียกได้
- วิธีป้องกันหยดน้ำจากท่อน้ำทิ้ง
โดยทั่วไปการติดตั้งเครื่องปรับอากาศจะเตรียมท่อ น้ำทิ้ง เพื่อระบายน้ำออกนอกบ้าน โดยใช้ท่อ PVC. ขนาด 1 นิ้ว แต่อาจจะทำให้เกิดหยดน้ำที่ท่อได้ เนื่องจากอากาศ ภายในท่อน้ำทิ้งซึ่งเย็นเมื่อเทียบกับอากาศภายนอกซึ่งร้อน จะเกิดการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำเกาะตามท่อ และจะหยดเลอะ เทอะภายในห้อง ดังนั้นวิธีที่ถูกต้อง ควรหุ้มด้วยฉนวนที่ท่อ น้ำทิ้งด้วย ฉนวนดังกล่าวจะทำหน้าที่ควบคุมไม่ให้อากาศ ภายนอกกับภายในสัมผัสกันโดยตรง และจะสามารถป้องกัน การเกิดหยดน้ำได้และเพื่อความสวยงามของห้อง ก็ควรทาสี หรือใช้เทปพันบริเวณท่อฉนวนนั้นให้กลมกลืนกับสีข้องห้อง

- ปัญหาของการเดินท่อน้ำทิ้ง
ปัญหาที่เกิดจากการติดตั้งเครื่องปรับอากาศก็คือ การเดินท่อน้ำทิ้งซึ่งจะปรากฏอยู่ภายในห้อง ทำให้ไม่สวย งาม วิธีการแก้ไข คือ
1. พยายามติดตั้ง FAN COIL ไว้กับผนังที่ติด กับภายนอก เพื่อให้ท่อต่างๆ เจาะทะลุผนังออกสู่ภายนอก ได้โดยให้มีส่วนของท่อน้ำทิ้งอยู่ในห้องน้อยที่สุด
2. ถ้าเป็นห้องอยู่กลางบ้าน อาจแก้ไขด้วยการฝังท่อน้ำทิ้งเข้ากับผนัง ถ้าเป็นผนังปูน ก็ใช้วิธีการสกัดผนังฝังท่อลงไปแล้วฉาบปูนทับหรือถ้าเป็นผนังเบาเช่น ยิบซั่ม บอร์ด หากความกว้างของโครงเคร่ากว้างพอก็ฝังท่อในผนังได้เลย แต่ถ้ากว้างไม่พอก็อาจเสริมโครงเคร่าอีก 1 ชั้น เพื่อให้ความกว้างเพียงพอในการซ่อนท่อน้ำทิ้งแล้วจึงเจาะผนังด้านที่ติดกับภายนอก เพื่อระบายน้ำออกอีกทีหนึ่ง

- ประโยชน์ของเครื่องปรับอากาศ
ประโยชน์ของเครื่องปรับอากาศ นอกจากทำความ เย็นแล้วยังช่วยทำให้อากาศสะอาด และควบคุมความชื้น ภายในห้องด้วย
แต่สิ่งที่ไม่ควรลืมคือ การติดตั้งพัดลมระบายอากาศ ด้วย เพราะจะทำให้อากาศไม่อับ มีการถ่ายเทอากาศจาก ภายนอกด้วย ซึ่งถ้ามีแต่ระบบทำความเย็นอย่างเดียว จะทำ ให้อากาศถ่ายเทไม่สะดวก มีผลเสียต่อสุขภาพ

- ปัญหาเครื่องปรับอากาศไม่เย็น
เหตุที่แอร์ไม่เย็นอาจจะเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้คือ
1. ตัวเครื่องแอร์กับคอนเดนเซอร์อยู่ห่างกันเกินไป
2. ตัวคอนเดนเซอร์อยู่ในที่อับไม่สามารถระบาย อากาศได้
3. น้ำยาแอร์หมด
นอกจากนี้แล้วก็ยังขึ้นอยู่กับการบำรุงรักษาและวิธีการใช้ที่ถูกต้องก็จะทำให้ยืดอายุการใช้งานได้อีกนาน
- วิธีการใช้เครื่องปรับอากาศให้ประหยัด
แบ่งได้ 2 แบบ คือ
1. วิธีประหยัดที่ไม่ต้องลงทุน เช่น จัดระบบให้ เครื่องปรับอากาศทำงานเป็นช่วงสลับกัน และปรับความเย็น ให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะคือ 25 องศาเซลเซียส ควบคุม ปริมาณอากาศภายนอกที่จะเข้ามา เพื่อไม่ให้เสียความเย็น ออกไป ทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศอย่างสม่ำเสมอ และ ติดตั้งเครื่องปรับอากาศให้อยู่สูงจากพื้นพอควร เพื่ออากาศจะ ได้หมุนเวียนได้โดยง่าย และอย่าให้เครื่องได้รับแสงอาทิตย์ โดยตรง จะทำให้เครื่องทำงานหนักขึ้น
2. วิธีประหยัดที่ต้องลงทุน เช่น ใส่ฉนวนกันความ ร้อนที่เพดาน ติดตั้งแผ่นสะท้อนความร้อนจากแสงอาทิตย์ ที่หลังคาของบ้าน หรืออาจติดตั้งกระจก 2 ชั้นเพื่อลดความ ร้อนจากแสงอาทิตย์ ซึ่งวิธีนี้ค่อนข้างมีค่าใช้จ่ายสูง รวมทั้ง การติดตั้งม่านกันแสง เลือกขนาดของเครื่องปรับอากาศให้ เหมาะสมกับขนาดของพื้นที่ห้อง และควรเป็นเครื่องปรับ อากาศที่มีฉลากเบอร์ 5 ด้วย
การติดตั้งพัดลมดูดอากาศบนฝ้าเพดาน
บ้านที่มีระบบปรับอากาศทั่วไปจะมีการติดตั้งพัดลมดูดอากาศ เพื่อระบายอากาศ เสีย และนำเอาอากาศบริสุทธิ์ (FRESH AIR) เข้ามาหมุนเวียนภายในห้อง ซึ่งพัดลม ดังกล่าวอาจติดบริเวณผนังหรือบนหน้าต่างที่เป็นกระจก ซึ่งทำให้ไม่สวยงาม จึงนิยมระบาย ขึ้นไปในช่องว่างของฝ้าเพดาน ซึ่งถ้าจำนวนพัดลมมีมากและเป่าขึ้นเพดานพร้อมๆ กัน อาจ ทำให้อากาศระบายออกไม่ทัน วิธีแก้ไขก็คือ เพิ่มเกล็ดระบายอากาศบริเวณฝ้าเพดานส่วนภายนอกห้อง เพื่อให้ อากาศใต้ฝ้าระบายออกได้ทัน

- ชนิดของระบบเครื่องฟอกอากาศ
เครื่องฟอกอากาศในบ้าน มีด้วยกัน 2 ชนิด คือ
1. ระบบแผ่นกรองอากาศ จะทำงานโดยการกรอง ฝุ่นละอองต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาให้ติดอยู่บนแผ่นกรอง ระบบ นี้จะมีราคาถูก แต่จะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแผ่น กรองในระยะยาว คือ ต้องเปลี่ยนทุก 4-6 เดือน
2. ระบบไฟฟ้าสถิต เป็นระบบที่ได้พัฒนาขึ้นมา อีกขั้นหนึ่ง คือ ใช้แผ่นกรองระบบไฟฟ้าสถิต โดยการดูด จับฝุ่นใหเข้ามาติดอยู่กับแผ่นกรอง สามารถดักจับฝุ่นขนาด เล็กมากๆ ได้ และยังผลิตอากาศบริสุทธิ์ได้ด้วย ระบบนี้ ราคาค่อนข้างสูง แต่จะประหยัดในระยะยาว เพราะสามารถ ถอดล้างทำความสะอาดได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนแผ่นกรอง

การติดตั้ง HOOD ระบายอากาศในห้องครัว
HOOD ระบายอากาศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับห้องครัว เพื่อระบายอากาศ และกลิ่น จากภายในสู่นอกอาคาร สิ่งที่ต้องคำนึงในการติดตั้ง คือ
1. ขนาดของห้องครัว และลักษณะของการปรุงอาหารว่าเป็นอาหารประเภทไหน มีควัน มีกลิ่นมากน้อยเท่าไร รวมไปถึงการกำหนดทิศทางของอากาศที่ระบายออกมา ต้อง ไม่รบกวนส่วนอื่นๆ ของบ้าน
2. ระยะของเคาน์เตอร์ปรุงอาหารกับความสูงของช่องท่อลม ต้องสัมพันธ์กันเพื่อ ประสิทธิภาพในการทำงาน และต้องมีความสัมพันธ์กับประเภทการใช้เตาว่ามีเปลวไฟสูง ขนาดไหนด้วย เพราะมีสายไฟฟ้าอยู่ภายในอาจเกิดอันตรายได้