กุหลาบเหลือง
ราศีมังกร (16 ม.ค.-15 ก.พ.)
ชาวราศีมังกรเป็นธาตุดิน เป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความเป็นผู้นำ มีมนุษยสัมพันธ์ดี รักอิสระไม่ชอบให้ใครบงการ เป็นนักต่อสู้ แสวงหา และเป็นนักผจญภัย เนื่องจากชีวิตในวัยเด็กต้องดิ้นรนต่อสู้ คนมังกรจึงเป็นคนเก่ง ขยันขันแข็ง อดทน และเฉลียวฉลาด
ไม้มงคลที่ชาวราศีมังกรควรปลูกคือ แก้ว วาสนา โป๊ยเซียน และกุหลาบ เพื่อเสริมความร่ำรวย รุ่งเรือง ทำให้เกิดโชคลาภ วาสนา ให้กับตนเอง และเพื่อเสริมความมั่นคงแก่ลูกหลาน
นอกจากนี้แล้วยังมีไม้มงคลเพื่อเสริมดวงชะตาให้กับผู้ที่เกิดราศีมังกร
ไผ่ ซึ่งแสดงถึงความอดทนความเป็นนักสู้
ราชพฤกษ์ดอกสีเหลืองของราชพฤกษ์เปรียบได้กับความรุ่งเรืองดั่งทอง
ต้นจำปี ไม้เหล่านี้จะให้ความร่มเย็น และต้นไม้เหล่านี้ห้ามปลูกตรงทางเข้าประตูรั้วด้านหน้า เพราะถือว่าเป็นการทำให้ปากมังกรอับจน ควรจะปลูกด้านข้าง หรือ ด้านหลัง หรือบริเวณรอบๆ
ดอกเข็ม
ราศีกุมภ์ (16 ก.พ.-15 มี.ค.)
ไม้มงคลของชาวราศีกุมภ์ เป็นอิทธิพลของธาตุไฟผสมกับธาตุทอง ซึ่งบ่งบอกพลังที่ฟุ้งและสร้างสรรค์ มั่นคงประดุจดั่งทองคำ เป็นผู้ที่มีพลังความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถทำงานได้ในทุกสถานที่ ทุกสถานะการณ์และทุกเวลา ชอบความเป็นอิสระ และมักจะรำคาญกับคนรอบข้างที่จู้จี้ขี้บ่น หรือชอบบงการ
ต้นไม้ที่ควรปลูกได้แก่ ต้นเข็ม เฟื้องฟ้า หรือบอนไซ ไว้บริเวณสวนหน้าบ้าน โรงงาน หรือร้านค้าของตน เพื่อเป็นศิริมงคลให้เกิดความมั่นคั่ง รุ่งเรือง และมีชีวิตที่ยืนยาว
เข็ม เพื่อเสริมพลังความฉลาดเฉียบแหลมของผู้เกิดราศีกุมภ์
เฟื่องฟ้า เป็นพรรณไม้ที่สามารถสร้างคุณค่าของชีวิตให้สูงขึ้น และเมื่อดอกเฟื้องฟ้าบาน เชื่อว่าจะแสดงถึงชีวิตที่สดใสเบิกบาน สว่าง รุ่งเรือง และความก้าวไกลแห่งชีวิต
บอนไซ แสดงถึงความแข็งแกร่ง อดทน สามารถทนอยู่ได้ทุกที่ ทุกสถานการณ์ สมกับเป็นพรรณไม้ของชาวราศีกุมภ์
ต้นวาสนา
ราศีมีน (16 มี.ค.-15 เม.ย.)
ชาวราศีมีนเป็นคนธาตุน้ำ ถือได้ว่าเป็นผู้มีความเป็นอัจฉริยะ มีความคิดและมีสติปัญญาที่ดี เป็นผู้มีพลัง มีความทะเยอทะยาน ดิ้นรน และก้าวไปสู่ความสำเร็จ ชาวราศีมีน มีอุปนิสัยอ่อนโยนและเป็นผู้มีน้ำใจโอบอ้อมอารี
ไม้มงคลที่ช่วยเสริมโฉลก เสริมความร่ำรวย คือ ต้นเฟื่องฟ้า ต้นกล้วยไม้ ต้นวาสนา ไม้ที่ช่วยเสริมความร่ำรวย รุ่งเรือง และให้โชคลาภกับผู้เกิดราศีมีน
กล้วยไม้ คนโบราณเชื่อว่า กล้วยไม้ จะทำให้เกิดความประทับใจแก่บุคคลทั่วไป ทำให้คนในบ้านมีจริยธรรม เหมาะกับผู้ปลูกที่มีอุปนิสัยเยือกเย็นอ่อนโยน เฟื่องฟ้าแสดงถึงชีวิตที่รุ่งเรือง สดใสเบิกบาน
ต้นวาสนา ทำให้ผู้ปลูกมีบุญ มีโชควาสนาที่ประเสริฐ เกิดความสุข สมหวัง ถือเป็นไม้เสี่ยงทาย ถ้าสามารถปลูกได้สวยงามและออกดอก เชื่อว่าจะทำให้มีโชคลาภ ปรารถนาสิ่งใดก็จะได้ดังหวัง ส่วนไม้ที่ให้พลังอำนาจแก่ชาวราศีมีน เช่น โมก กล้วย มะม่วง จะช่วยเสริมบารมีคุ้มครองบริวารและลูกหลานเช่นกัน
เฟื่องฟ้า
ราศีเมษ (16 เม.ษ.-15 พ.ค.)
ชาวราศีเมษเป็นคนธาตุไฟ เป็นผู้มีความกระตือรือร้น ทะเยอทะยาน เกิดมาเพื่อเป็นผู้นำ มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง กล้าคิดกล้าตัดสินใจ ทำงานก้าวหน้า จะประสบความสำเร็จในชีวิตแน่นอน เมื่อพบอุปสรรคมักแก้ไขให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี ชาวราศีเมษเป็นผู้ที่รักการเดินทางท่องเที่ยว และชอบเสี่ยง ชอบผจญภัย
ไม้มงคลของชาวราศีเมษ คือ ต้นมะยม เพื่อให้คนนิยมชมชอบ ต้นมะขาม เพื่อให้ผู้คนเกรงขาม และต้นเฟื่องฟ้า เพื่อความร่ำรวย
มะยม และ มะขาม ต้นไม้ทั้งสองนี้จะเป็นพลังช่วยหนุนให้ชาวราศีเมษประสบความสำเร็จในชีวิต และในหน้าที่การงาน มะยม ปลูกแล้วจะทำให้มีคนนิยมชมชอบ มีเมตตามหานิยม สำหรับมะขามจะทำให้มีแต่ผู้คนเกรงขาม ให้ความนับถือ นอกจากนี้ยังมีต้นเฟื้องฟ้าที่จะทำให้ชาวราศีเมษมีชีวิตที่รุ่งเรือง สว่างไสว และสดใสเบิกบาน
ดอกแก้ว
ราศีพฤษภ (16 พ.ค.-15 มิ.ย.)
ชาวราศีพฤษภเป็นคนธาตุดิน เป็นผู้มีความตั้งใจในการทำงานสูง มีความจริงใจ และมีมิตรภาพที่ดี มีจิตใจกว้างขวาง ยินดีช่วยเหลือเมื่อมีผู้เอ่ยปากขอความช่วยเหลือด้วยวาจาที่อ่อนหวาน พื้นดวงจะไปเรื่อยๆ ไม่มีอะไรโลดโผนมากนัก
ไม้มงคลที่ปลูกเพื่อความอุดมสมบูรณ์ ต้องเป็นไม้จำพวกธาตุทอง คือ ต้นโมก ต้นแก้ว และต้นส้มโอ
ดอกสีขาวของโมกจะทำให้เกิดความสุขความบริสุทธิ์สดใส และโบราณยังเชื่อว่าต้นโมกสามารถคุ้มกันรักษาความปลอดภัยทั้งปวงจากภายนอก และควรปลูกทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของบ้านและควรปลูกในวันเสาร์
แก้ว จะทำให้มีโชคมีลาภ คนในบ้านจะมีความดี มีคุณค่าสูง ควรปลูกทางทิศ ตะวันออกและควรปลูกในวันพุธ
ส้มโอ เป็นต้นไม้ที่บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์
โป๊ยเซียน
ราศีเมถุน (16 มิ.ย.-15 ก.ค.)
ชาวราศีเมถุน เป็นคนธาตุดิน เป็นคนขี้เบื่อไม่ชอบความซ้ำซากจำเจ ชอบสิ่งใหม่ๆ จึงรักการเดินทางท่องเที่ยว ดิ้นรน บวกกับเป็นคนที่มีพลังในการสร้างสรรค์สูง แต่ขาดความรอบคอบ จึงมักจะเป็นผู้นำเพราะหากเมื่อใดที่เป็นผู้ตามจะรู้สึกอึดอัด ชอบชีวิตธรรมชาติและรักความยุติธรรม
ไม้มงคลจะต้องเป็นไม้มงคลของธาตุไฟ ซึ่งได้แก่ ต้นกุหลาบ ต้นโป๊ยเซียน ต้นโมก ต้นทับทิม และต้นเข็ม
โมกจะทำให้เกิดความสุข ความบริสุทธิ์ และความสดใส เข็ม ควรปลูกเป็นร่องตรงประตูบ้าน หรือสองฝากทางเข้าบ้านจะทำให้ชะตารุ่งเรือง อุปสรรคและปัญหาไม่กล้ำกลาย
ทับทิม เพื่อให้เกิดความสงบร่มเย็นของชีวิต
โป๊ยเซียน ถือเป็นไม้เสี่ยงทาย ถ้าปลูกออกดอกได้มากกว่า 8 ดอก ผู้ปลูกและคนในบ้านจะมีโชคลาภ และยังเชื่อว่าโป๊ยเซียนช่วยคุ้มครองให้อยู่เย็นเป็นสุข
กุหลาบ หากปลูกไว้ประจำบ้าน จะเกิดความสง่าภาคภูมิ จะทำให้คนในบ้านมีคุณค่าแห่งชีวิตที่สูง
กล้วยไม้
ราศีกรกฎ (16 ก.ค.-15 ส.ค.)
ชาวราศีกรกฎเป็นธาตุน้ำ มักเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในชีวิต เนื่องจากเป็นผู้มีความขยันหมั่นเพียร และอดทนเป็นที่หนึ่ง มีความกระตือรือร้น ดูภายนอกเหมือนเป็นคนหยิ่งไว้ตัว แต่จริงๆ แล้วชาวราศีกรกฎเป็นคนน่ารักน่าคบ กว่าบรรดาราศีอื่นๆ แม้จะเป็นคนจู้จี้ขี้บ่น และเจ้าระเบียบอยู่บ้าง
ไม้มงคล คือ ต้นชมพู่ ต้นวาสนา ให้วาสนาสูงส่ง ต้นพลูด่าง เฟื่องฟ้า และกล้วยไม้
กล้วยไม้ เป็นไม้ดอกที่ให้โชคลาภและเหมาะกับผู้ปลูกที่มีอุปนิสัยเยือกเย็นอ่อนโยน เช่นชาวราศีกรกฎ กล้วยไม้จะออกดอกต้องได้รับการดูแลด้วยความหมั่นเพียร ดอกที่สวยงาม จะทำให้เกิดความประทับใจแก่ผู้พบเห็น และเชื่อว่าจะ ทำให้คนในบ้านมีจริยธรรม
ชมพู่ ช่วยให้อุดมทรัพย์ มั่งมีเงินทอง วาสนา ทำให้ผู้ปลูกมีบุญ มีโชควาสนาที่ประเสริฐ เกิดความสุข สมหวัง
พลูด่าง นำพามาซึ่งความร่มเย็น เป็นสุข
เฟื่องฟ้าจะช่วยเสริมให้ชีวิตสดใสเบิกบาน
โป๊ยเซียน
ราศีสิงห์ (16 ส.ค.-15 ก.ย.)
ชาวราศีสิงห์เป็นคนธาตุไฟ ชอบสิ่งที่ท้าทายความสามารถ สู้ปัญหา มีความเข้มแข็งและไม่ชอบให้ใครข่ม ชอบทำอะไรออกหน้า เป็นผู้นำเสมอ ชาวราศีสิงห์เป็นคนที่มีบุคลิกภาพโดดเด่น สง่างาม หลงตัวเอง เอาแต่ใจ มีอารมณ์แปรปรวนไม่ค่อยแน่นอน
ไม้มงคลควรเป็นต้นไม้ที่เกิดความร่มรื่น คือ กล้วยไม้ ต้นกล้วย ต้นปาล์ม ต้นหมากแดง ต้นไทร ต้นโมก และ ขนุน ซึ่งนับได้ว่าเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งของคนไทย ตามโบราณเชื่อกันว่า
การปลูกต้นขนุนในบริเวณบ้านจะหนุนเนื่อง บุญบารมี เงินทอง มีคนเกื้อหนุน และอุดหนุนจุนเจือ
จำปี ดอกสีขาวบริสุทธิ์มีกลิ่นหอม จะทำให้ชีวิตสดใสการงานก้าวหน้าไปในทางที่ถูกที่ควร มีแต่ความรุ่งเรือง ปราศจากปัญหาใดๆ
โป๊ยเซียน เพื่อเสริมความร่ำรวย รุ่งเรือง เป็นไม้เสี่ยงทาย เชื่อว่าถ้าออกดอก 8 ดอกแล้วจะทำให้มีโชคลาภ
กล้วยไม้ ดอกสวยของกล้วยไม้ย่อมเป็นที่ประทับใจแก่ผู้พบเห็น
ราชพฤกษ์
ราศีกันย์ (16 ก.ย.-15 ต.ค.)
ชาวราศีกันย์เป็นคนธาตุดิน มีพลังแข็งแรงในตนเองแม้จะพบกับอุปสรรคล้มลุกคลุกคลานหลายต่อหลายครั้ง แต่ก็สามารถยืนหยัดขึ้นได้ด้วยตนเองคือจุดเด่นของชาวราศีกันย์ นอกจากนี้อุปนิสัยของชาวเราศีกันย์เป็นคนเจ้าระเบียบ มีความจำดี และช่างสังเกต
ไม้มงคลคือ สนฉัตร ต้นคูน หรือต้นราชพฤกษ์ เฟื่องฟ้า โป๊ยเซียน ขนุน มะยม
สนฉัตร ทำให้มีเกียรติและความสง่า ได้รับความสนใจจากบุคคลทั่วไป ควรปลูกทางทิศเหนือและปลูกในวันเสาร์เพื่อเป็นศิริมงคล
ราชพฤกษ์ ปลูกไว้จะช่วยเสริมให้มีเกียรติ มีศักดิ์ศรีและบารมี
เฟื่องฟ้า ทำให้เกิดความสดใส เบิกบาน มีชีวิตที่เฟื่องฟู
โป๊ยเซียน จะนำมาซึ่งโชคลาภ
ขนุน เป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งของคนไทย การปลูกต้นขนุนบริเวณบ้านจะหนุนเนื่อง บุญบารมี เงินทอง จะมีคนเกื้อหนุน และอุดหนุนจุนเจือช่วยเหลือ ขนุนจึงเหมาะกับผู้ที่เกิดราศีกันย์
มะยม ปลูกแล้วผู้คนจะได้นิยมชมชอบนับหน้าถือตา
จำปี
ราศีตุลย์ (16 ต.ค.-15 พ.ย.)
ชาวราศีตุลย์เป็นธาตุลม เป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง เจ้าหลักการ มีเหตุมีผล ตัดสินใจช้าเพราะมักจะพินิจพิจารณาอย่างรอบคอบ ชาวราศีตุลย์เป็นผู้ที่มีพลังเข็มแข็งและ มีความรับผิดชอบสูง
ไม้มงคล คือ ต้นโกสน หมากแดง ปาล์ม จำปี จำปา พลูด่างและเฟิร์นข้าหลวง
หมากแดง ปาล์ม พลูด่าง โกสน ปลูกไว้จะช่วยเสริมให้มีบุญบารมี ช่วยคุ้มครองให้อยู่เย็นเป็นสุข
จำปี ดอกสีขาวบริสุทธิ์มีกลิ่นหอม จะทำให้ชีวิตสดใสการงานก้าวหน้าไปในทางที่ถูกที่ควร มีแต่ความรุ่งเรือง ปราศจากปัญหาใดๆ
จำปา ดอกไม้ที่ใช้แสดงถึงความรักมาแต่โบราณ การปลูกจำปาก็เพื่อแสดงถึงความรักต่อผู้อื่นและเพื่อให้มีแต่คนรัก เฟิร์นข้าหลวง จะนำมาซึ่งชื่อเสียงเกียรติยศแก่ผู้ปลูก
พวงแสด
ราศีพิจิก (16 พ.ย.-15 ธ.ค.)
ชาวราศีพิจิกเป็นคนธาตุน้ำ จะเป็นคนลำบากมาก่อน แต่เมื่อเติบโตจะประสบความสำเร็จในชีวิต แต่เนื่องจากเป็นผู้ที่มีความสามารถ ชอบความท้าทาย และไม่ยอมแพ้ต่อใครหรือสิ่งใดง่ายๆ เป็นคนอารมณ์แปรปรวน บางทีก็ใจเย็นดี แต่บางทีก็ใจร้อนมาก เป็นคนมีจิตใจดี มีความเมตตาสูง
ไม้มงคลต้องเป็นไม้ประเภทธาตุทอง ได้แก่ พวงแสด เฟื่องฟ้า ว่านสี่ทิศ ปาล์ม เบญจมาศ ขนุน
ว่านสี่ทิศ พวงแสด ปาล์ม เฟื่องฟ้า แสดงถึงชีวิตที่สว่างไสวรุ่งเรือง สดใสเบิกบาน
เบญจมาศ ช่วยให้รุ่งเรืองมั่นคง
ขนุน ช่วยให้เกิดความรุ่งเรืองมั่นคง เป็นไม้มงคลแต่โบราณ เชื่อกันว่า การปลูกต้นขนุนในบริเวณบ้านจะช่วยหนุนเนื่อง บุญบารมี เงินทอง จะมีคนเกื้อหนุน และอุดหนุนจุนเจือ
ว่านสี่ทิศ ไม่ว่าจะเดินทางไปที่ต่างถิ่น ในทิศใดก็จะแคล้วคลาด ปลอดภัย และมีแต่ผู้ให้ความช่วยเหลือ
พลูด่าง
ราศีธนู (16 ธ.ค.-15 ม.ค.)
ชาวราศีธนูเป็นคนธาตุไฟ เป็นผู้ที่มีเชื่อมั่นในตัวเองสูง ดื้อรั้น มีพลังแห่งความแข็งแกร่ง มีความสามารถและมองการณ์ไกล จึงทำให้สร้างฐานะได้ด้วยตัวเอง ทุกย่างก้าวในชีวิตจะมั่นใจว่าต้องได้มาด้วยชัยชนะ ชอบที่จะมีชื่อเสียง เกียรติยศ มีโลกทัศน์ที่ดี และมองโลกในแง่ดี
ไม้มงคล ไม้ที่ช่วยเสริมมงคลชีวิตให้ชาวราศีธนูคือ บัว บ้านใดปลูกบัว จะทำให้เกิดความบริสุทธิ์ เบิกบาน ทำให้คนในครอบครัวมีความห่วงใยผูกพันธ์กัน
เฟิร์นข้าหลวง จะนำมาซึ่งชื่อเสียงเกียรติยศแก่ผู้ปลูก แก้ว ช่วยกระจายอุปสรรคปัญหาออกไปจากชีวิต
นอกจากนี้ยังมี พลูด่าง และ โป๊ยเซียน จะช่วยเสริมโชคลาภแก่ชาวราศีธนูอีกด้วย
สารผสมเพิ่ม (ADMIXTURES) และประเภทของสารผสมเพิ่ม
สารผสมเพิ่ม (ADMIXTURES) และประเภทของสารผสมเพิ่ม
สารผสมเพิ่ม หมายถึง สารเคมีอื่นๆ นอกเหนือไปจาก ปูนซีเมนต์ วัสดุมวลรวม และน้ำที่ใช้เติมลงในส่วนผสมของคอนกรีต ด้วยจุดประสงค์เพื่อปรับเปลี่ยนคุณสมบัติบางประการของคอนกรีต สารผสมเพิ่มจะให้ผลแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของปูนซีเมนต์ที่ใช้ ขนาด รูปร่าง และส่วนขนาดคละของวัสดุมวลรวม น้ำ และอุณหภูมิ ดังนั้น การใช้สารผสมเพิ่ม จึงควรได้ทราบถึงข้อมูล ตลอดจนข้อแนะนำในการใช้ของบริษัทผู้ผลิตโดยละเอียด นอกจากนี้สารผสมเพิ่มจะให้ผลดีต่อเมื่อใช้ในปริมาณที่เหมาะสม สารผสมเพิ่มที่นิยมใช้กันทั่วไปได้แก่
1. สารเร่งการก่อตัว (ACCELERATORS) สารเร่งการก่อตัว จะทำให้คอนกรีตก่อตัว และแข็งตัวเร็วขึ้นกว่าปกติ นอกจากนี้ผลพลอยได้ของการใช้สารเร่งการก่อตัว คือ จะทำให้คอนกรีตมีกำลังในระยะแรกสูงกว่าคอนกรีตธรรมดา โดยทั่วไปแล้ว สารเร่งการก่อตัวจะใช้เมื่อต้องการเร่งเวลาในการถอดแบบหล่อ หรือเมื่อต้องการให้คอนกรีตรับแรงได้เร็วกว่าปกติ เช่น การทำเสาเข็มธรรมดา และเสาคอนกรีตอัดแรง ใช้อุดรูรั่วในเนื้อคอนกรีต
สารที่นิยมใช้เป็นตัวเร่งการก่อตัวคือ แคลเซี่ยมคลอไรด์ และโซเดี่ยมซิลิเกต เป็นต้น
2. สารหน่วงการก่อตัว (RETARDERS) สารหน่วงการก่อตัว มีคุณสมบัติช่วยให้คอนกรีตก่อตัวช้ากว่าธรรมดา (เกินกว่า 1 ½ ชั่วโมง) ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ ในกรณีที่ต้องเสียเวลาเคลื่อนย้ายคอนกรีตที่ผสมแล้วไปยังจุดเทที่อยู่ไกลๆ หรือในกรณีที่ต้องใช้เวลาในการเคลื่อนย้าย และการเทนานๆ ข้อเสียของการใช้สารหน่วงการก่อตัว คือจะทำให้กำลังคอนกรีตลดต่ำไปในช่วง 3 วันแรก แต่ผลพลอยได้คือ ช่วยลดปริมาณน้ำได้ประมาณ 5 – 15 % ซึ่งเป็นผลทำให้คอนกรีตมีกำลังสูงในระยะเวลาหลัง และมีกำลังเท่ากับหรือสูงกว่าคอนกรีตธรรมดาเมื่อ อายุ 28 วัน
สารชนิดนี้ได้แก่ แคลเซียม หรือยิบซัม ซึ่งบริษัทผู้ผลิตปูนซีเมนต์ทั้งหลายก็ได้ใช้ปนอยู่แล้วในปูนซีเมนต์ที่ผลิต
3. สารลดปริมาณน้ำ (WATER REDUCING ADMIXTURE) สารลดปริมาณน้ำ ช่วยลดปริมาณน้ำที่ต้องใช้ในส่วนผสมคอนกรีต แต่ยังได้ความข้นเหลวเทียบเท่ากับคอนกรีตธรรมดา เมื่อใช้น้ำในส่วนผสมคอนกรีตน้อยลง (อัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์น้อยลง) จะมีผลในการเพิ่มกำลังของคอนกรีต
สารชนิดนี้เป็นสารอินทรีย์ ส่วนใหญ่ทำมาจากเกลือลิกโนซัลโพนิค (Lignosulfonic acid) หรือเกลือ และสารประกอบของกรดไฮดรอกซี่ คาร์บอซีลิค (Hydroxycarboxylic Acid) หรือสารประกอบโพลีเมอร์บางชนิด เช่น โพลิเมอร์ ไฮดรอกซีเลต (Hydroxylated Polymers)
4. สารป้องกันน้ำ (WATERPROOFING) สารป้องกันน้ำจะทำให้คอนกรีตทึบน้ำ กันน้ำไม่ให้น้ำซึมผ่านได้ สารป้องกันน้ำจะเข้าไปแทรกอุดรูเล็กๆ ในคอนกรีต ทำให้คอนกรีตทึบน้ำ ถ้าสามารถออกแบบส่วนผสมคอนกรีตให้พอดี และสามารถผสมคอนกรีตได้ตามที่ออกแบบ เมื่อนำคอนกรีตไปหล่อแล้วคอนกรีตจะแน่นทึบกันน้ำ แต่ในกรณีไม่สามารถทำได้ก็จำเป็นต้องใช้สารชนิดนี้ช่วย สารป้องกันน้ำมักจะใช้กับคอนกรีตที่ต้องกันไม่น้ำซึมผ่านได้ เช่น โครงสร้างที่กั้นน้ำห้องใต้ดิน อุโมงค์ สระน้ำ หลังคา พื้นห้องน้ำ เป็นต้น นอกจากนี้สารป้องกันน้ำยังสามารถนำมาใช้กับมอร์ต้า (ปูน+ทราย+น้ำ) ที่ใช้โบกกำแพง หรือเทพื้นเพื่อกันมิให้ความชื้นซึมเข้าไปได้ และป้องกันราชื้น
สารชนิดนี้เป็นพวกอัลคาไลน์ซิลิเกต (Alkaline Silicates) เช่น โซเดียมซิลิเกต หรืออลูมิเนียม และสังกะสีซัลเฟต (Zinc Sulphates)
5. สารกระจายกักฟองอากาศ (AIR-ENTRAINING ADMIXTURES) สารกระจายกักฟองอากาศจะช่วยให้เกิดฟองอากาศเล็กๆ มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น แผ่ปนอยู่ทั่วเนื้อคอนกรีต โดยฟองเหล่านี้จะไม่ทะลุถึงกันได้ ในคอนกรีต 1 ลบ.ม. อาจมีฟองอากาศเล็กๆ นี้ ประมาณ 3 – 6 % ของเนื้อคอนกรีตทั้งหมดโดยปริมาตร การที่ในเนื้อคอนกรีตมีฟองอากาศขนาดเล็กๆ เหล่านี้ จะช่วยทำให้คอนกรีตมีความสามารถในการเทได้มากขึ้น แม้ว่าจะมีปริมาณน้ำน้อยก็ตาม เพราะฟองอากาศเหล่านี้จะช่วยทำหน้าที่เป็นตัวหล่อลื่นแทนน้ำ นอกจากนี้ช่วยมิให้น้ำในคอนกรีตแข็งเป็นน้ำแข็ง ก่อนที่คอนกรีตจะก่อตัว ซึ่งเป็นประโยชน์ในการหล่อคอนกรีตในฤดูหนาว หรือในเมืองที่มีอากาศหนาวเย็นมาก
สารกระจายกักฟองอากาศยังช่วยลดการแยกตัว การสูญเสียน้ำ ไม่รั่วซึม รวมทั้งเพิ่มความต้านทานซัลเฟตด้วย ข้อเสียของการใช้สารนี้ก็คือ ทำให้คอนกรีตมีกำลังต่ำลง เนื่องจากคอนกรีตมีรูพรุนมาก และในการใช้เครื่องเขย่าคอนกรีตเพื่อทำให้คอนกรีตแน่นตัว ต้องระวังให้มากกว่าเดิมเพราะถ้าเขย่ามากแล้ว จะทำให้จำนวนฟองอากาศลดน้อยลงไปเกือบ 50 เปอร์เซ็นต์
สารกระจายกักฟองอากาศมีหลายชนิดซึ่งอาจทำมาจากยางไม้ ไขมัน น้ำมันสัตว์ – พืช นอกจากการใช้สารเคมีกระจายกักฟอกอากาศมาผสมในคอนกรีตแล้ว ปัจจุบันยังมีคอนกรีตกระจายกักฟองอากาศ ซึ่งผลิตขึ้นโดยใช้ซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ชนิดกระจายกักฟองอากาศ (Air Enrraining Cement) ซึ่งให้คุณสมบัติเช่นเดียวกันกับการเติมสารดังได้กล่าวมาแล้ว
สารผสมเพิ่ม หมายถึง สารเคมีอื่นๆ นอกเหนือไปจาก ปูนซีเมนต์ วัสดุมวลรวม และน้ำที่ใช้เติมลงในส่วนผสมของคอนกรีต ด้วยจุดประสงค์เพื่อปรับเปลี่ยนคุณสมบัติบางประการของคอนกรีต สารผสมเพิ่มจะให้ผลแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของปูนซีเมนต์ที่ใช้ ขนาด รูปร่าง และส่วนขนาดคละของวัสดุมวลรวม น้ำ และอุณหภูมิ ดังนั้น การใช้สารผสมเพิ่ม จึงควรได้ทราบถึงข้อมูล ตลอดจนข้อแนะนำในการใช้ของบริษัทผู้ผลิตโดยละเอียด นอกจากนี้สารผสมเพิ่มจะให้ผลดีต่อเมื่อใช้ในปริมาณที่เหมาะสม สารผสมเพิ่มที่นิยมใช้กันทั่วไปได้แก่
1. สารเร่งการก่อตัว (ACCELERATORS) สารเร่งการก่อตัว จะทำให้คอนกรีตก่อตัว และแข็งตัวเร็วขึ้นกว่าปกติ นอกจากนี้ผลพลอยได้ของการใช้สารเร่งการก่อตัว คือ จะทำให้คอนกรีตมีกำลังในระยะแรกสูงกว่าคอนกรีตธรรมดา โดยทั่วไปแล้ว สารเร่งการก่อตัวจะใช้เมื่อต้องการเร่งเวลาในการถอดแบบหล่อ หรือเมื่อต้องการให้คอนกรีตรับแรงได้เร็วกว่าปกติ เช่น การทำเสาเข็มธรรมดา และเสาคอนกรีตอัดแรง ใช้อุดรูรั่วในเนื้อคอนกรีต
สารที่นิยมใช้เป็นตัวเร่งการก่อตัวคือ แคลเซี่ยมคลอไรด์ และโซเดี่ยมซิลิเกต เป็นต้น
2. สารหน่วงการก่อตัว (RETARDERS) สารหน่วงการก่อตัว มีคุณสมบัติช่วยให้คอนกรีตก่อตัวช้ากว่าธรรมดา (เกินกว่า 1 ½ ชั่วโมง) ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ ในกรณีที่ต้องเสียเวลาเคลื่อนย้ายคอนกรีตที่ผสมแล้วไปยังจุดเทที่อยู่ไกลๆ หรือในกรณีที่ต้องใช้เวลาในการเคลื่อนย้าย และการเทนานๆ ข้อเสียของการใช้สารหน่วงการก่อตัว คือจะทำให้กำลังคอนกรีตลดต่ำไปในช่วง 3 วันแรก แต่ผลพลอยได้คือ ช่วยลดปริมาณน้ำได้ประมาณ 5 – 15 % ซึ่งเป็นผลทำให้คอนกรีตมีกำลังสูงในระยะเวลาหลัง และมีกำลังเท่ากับหรือสูงกว่าคอนกรีตธรรมดาเมื่อ อายุ 28 วัน
สารชนิดนี้ได้แก่ แคลเซียม หรือยิบซัม ซึ่งบริษัทผู้ผลิตปูนซีเมนต์ทั้งหลายก็ได้ใช้ปนอยู่แล้วในปูนซีเมนต์ที่ผลิต
3. สารลดปริมาณน้ำ (WATER REDUCING ADMIXTURE) สารลดปริมาณน้ำ ช่วยลดปริมาณน้ำที่ต้องใช้ในส่วนผสมคอนกรีต แต่ยังได้ความข้นเหลวเทียบเท่ากับคอนกรีตธรรมดา เมื่อใช้น้ำในส่วนผสมคอนกรีตน้อยลง (อัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์น้อยลง) จะมีผลในการเพิ่มกำลังของคอนกรีต
สารชนิดนี้เป็นสารอินทรีย์ ส่วนใหญ่ทำมาจากเกลือลิกโนซัลโพนิค (Lignosulfonic acid) หรือเกลือ และสารประกอบของกรดไฮดรอกซี่ คาร์บอซีลิค (Hydroxycarboxylic Acid) หรือสารประกอบโพลีเมอร์บางชนิด เช่น โพลิเมอร์ ไฮดรอกซีเลต (Hydroxylated Polymers)
4. สารป้องกันน้ำ (WATERPROOFING) สารป้องกันน้ำจะทำให้คอนกรีตทึบน้ำ กันน้ำไม่ให้น้ำซึมผ่านได้ สารป้องกันน้ำจะเข้าไปแทรกอุดรูเล็กๆ ในคอนกรีต ทำให้คอนกรีตทึบน้ำ ถ้าสามารถออกแบบส่วนผสมคอนกรีตให้พอดี และสามารถผสมคอนกรีตได้ตามที่ออกแบบ เมื่อนำคอนกรีตไปหล่อแล้วคอนกรีตจะแน่นทึบกันน้ำ แต่ในกรณีไม่สามารถทำได้ก็จำเป็นต้องใช้สารชนิดนี้ช่วย สารป้องกันน้ำมักจะใช้กับคอนกรีตที่ต้องกันไม่น้ำซึมผ่านได้ เช่น โครงสร้างที่กั้นน้ำห้องใต้ดิน อุโมงค์ สระน้ำ หลังคา พื้นห้องน้ำ เป็นต้น นอกจากนี้สารป้องกันน้ำยังสามารถนำมาใช้กับมอร์ต้า (ปูน+ทราย+น้ำ) ที่ใช้โบกกำแพง หรือเทพื้นเพื่อกันมิให้ความชื้นซึมเข้าไปได้ และป้องกันราชื้น
สารชนิดนี้เป็นพวกอัลคาไลน์ซิลิเกต (Alkaline Silicates) เช่น โซเดียมซิลิเกต หรืออลูมิเนียม และสังกะสีซัลเฟต (Zinc Sulphates)
5. สารกระจายกักฟองอากาศ (AIR-ENTRAINING ADMIXTURES) สารกระจายกักฟองอากาศจะช่วยให้เกิดฟองอากาศเล็กๆ มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น แผ่ปนอยู่ทั่วเนื้อคอนกรีต โดยฟองเหล่านี้จะไม่ทะลุถึงกันได้ ในคอนกรีต 1 ลบ.ม. อาจมีฟองอากาศเล็กๆ นี้ ประมาณ 3 – 6 % ของเนื้อคอนกรีตทั้งหมดโดยปริมาตร การที่ในเนื้อคอนกรีตมีฟองอากาศขนาดเล็กๆ เหล่านี้ จะช่วยทำให้คอนกรีตมีความสามารถในการเทได้มากขึ้น แม้ว่าจะมีปริมาณน้ำน้อยก็ตาม เพราะฟองอากาศเหล่านี้จะช่วยทำหน้าที่เป็นตัวหล่อลื่นแทนน้ำ นอกจากนี้ช่วยมิให้น้ำในคอนกรีตแข็งเป็นน้ำแข็ง ก่อนที่คอนกรีตจะก่อตัว ซึ่งเป็นประโยชน์ในการหล่อคอนกรีตในฤดูหนาว หรือในเมืองที่มีอากาศหนาวเย็นมาก
สารกระจายกักฟองอากาศยังช่วยลดการแยกตัว การสูญเสียน้ำ ไม่รั่วซึม รวมทั้งเพิ่มความต้านทานซัลเฟตด้วย ข้อเสียของการใช้สารนี้ก็คือ ทำให้คอนกรีตมีกำลังต่ำลง เนื่องจากคอนกรีตมีรูพรุนมาก และในการใช้เครื่องเขย่าคอนกรีตเพื่อทำให้คอนกรีตแน่นตัว ต้องระวังให้มากกว่าเดิมเพราะถ้าเขย่ามากแล้ว จะทำให้จำนวนฟองอากาศลดน้อยลงไปเกือบ 50 เปอร์เซ็นต์
สารกระจายกักฟองอากาศมีหลายชนิดซึ่งอาจทำมาจากยางไม้ ไขมัน น้ำมันสัตว์ – พืช นอกจากการใช้สารเคมีกระจายกักฟอกอากาศมาผสมในคอนกรีตแล้ว ปัจจุบันยังมีคอนกรีตกระจายกักฟองอากาศ ซึ่งผลิตขึ้นโดยใช้ซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ชนิดกระจายกักฟองอากาศ (Air Enrraining Cement) ซึ่งให้คุณสมบัติเช่นเดียวกันกับการเติมสารดังได้กล่าวมาแล้ว
ป้ายกำกับ:
ประเภทของสารผสมเพิ่ม
ลักษณะของคนที่มักไม่ก้าวหน้าในการทำงาน
ลักษณะของคนที่มักไม่ก้าวหน้าในการทำงาน
ลักษณะของคนที่มักไม่ก้าวหน้าในการทำงานหรือมักมีปัญหาในการทำงาน ได้แก่
1. มีปัญหาในการสื่อความหมาย นับเป็นปัญหาสำคัญมาก เป็นพวกที่พูดกันเข้าใจยาก เข้าใจผิดบ่อย ๆ ขาดสมาธิในการฟัง มีความผิดปกติในการพูดและสื่อความหมาย บางรายทำให้เกิดความ เสียหายแก่องค์กรมาก
2. ก้าวร้าว ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ มักแสดงออกเต็มที่ (เป็นพวก Impulsive Personality) เมื่อแสดงความก้าวร้าวไปแล้วมักเสียใจ อยากแก้ตัว แต่ก็ทำซ้ำ ๆอีก แต่บางคนก้าวร้าวจนเป็นนิสัย (Aggressive Personality) มักทำเป็นประจำและไม่รู้สึกผิดด้วย
3. ใจแคบ ไม่ยืดหยุ่น ทำให้เปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานได้ยาก ไม่เห็นใจคนอื่น ไม่มีการอะลุ้มอล่วย มักทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ได้ง่าย
4. ย้ำคิดย้ำทำ ชอบทำอะไรซ้ำ ๆ คิดซ้ำ ๆ เปลี่ยนแปลงยาก มักเป็นคนที่หวังผลการทำงานเต็มร้อย แต่ก็ทำไม่ได้ ชอบตำหนิคนอื่น ทำให้ขาดพลังในการทำงานเป็นทีม
5. ใจน้อย ทำให้โกรธง่าย มักประชดหรือแกล้งประท้วง และทำผิดได้ง่าย ต้องการให้คนชื่นชมและสนใจเขา บางรายถูกนายตำหนิเกิดความใจน้อยขนาดแกล้งทำให้เครื่องจักรในโรงงานเสียหาย ก็มี
6. ระแวง มักมองคนอื่นเป็นคู่แข่งและศัตรู
ถ้าคุณเริ่มสังเกตุได้ว่าตัวเองมีลักษณะดังที่กล่าวในข้างต้น ก็จงเปลี่ยนแปลงมันซะ
ลักษณะของคนที่มักไม่ก้าวหน้าในการทำงานหรือมักมีปัญหาในการทำงาน ได้แก่
1. มีปัญหาในการสื่อความหมาย นับเป็นปัญหาสำคัญมาก เป็นพวกที่พูดกันเข้าใจยาก เข้าใจผิดบ่อย ๆ ขาดสมาธิในการฟัง มีความผิดปกติในการพูดและสื่อความหมาย บางรายทำให้เกิดความ เสียหายแก่องค์กรมาก
2. ก้าวร้าว ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ มักแสดงออกเต็มที่ (เป็นพวก Impulsive Personality) เมื่อแสดงความก้าวร้าวไปแล้วมักเสียใจ อยากแก้ตัว แต่ก็ทำซ้ำ ๆอีก แต่บางคนก้าวร้าวจนเป็นนิสัย (Aggressive Personality) มักทำเป็นประจำและไม่รู้สึกผิดด้วย
3. ใจแคบ ไม่ยืดหยุ่น ทำให้เปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานได้ยาก ไม่เห็นใจคนอื่น ไม่มีการอะลุ้มอล่วย มักทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ได้ง่าย
4. ย้ำคิดย้ำทำ ชอบทำอะไรซ้ำ ๆ คิดซ้ำ ๆ เปลี่ยนแปลงยาก มักเป็นคนที่หวังผลการทำงานเต็มร้อย แต่ก็ทำไม่ได้ ชอบตำหนิคนอื่น ทำให้ขาดพลังในการทำงานเป็นทีม
5. ใจน้อย ทำให้โกรธง่าย มักประชดหรือแกล้งประท้วง และทำผิดได้ง่าย ต้องการให้คนชื่นชมและสนใจเขา บางรายถูกนายตำหนิเกิดความใจน้อยขนาดแกล้งทำให้เครื่องจักรในโรงงานเสียหาย ก็มี
6. ระแวง มักมองคนอื่นเป็นคู่แข่งและศัตรู
ถ้าคุณเริ่มสังเกตุได้ว่าตัวเองมีลักษณะดังที่กล่าวในข้างต้น ก็จงเปลี่ยนแปลงมันซะ
ป้ายกำกับ:
การทำงาน
แบบก่อสร้างและประเภทของแบบก่อสร้าง (Construction Drawing)
แบบก่อสร้างและประเภทของแบบก่อสร้าง (Construction Drawing)
โดยทั่วไปแล้ว แบบก่อสร้างอาคารจะประกอบด้วยแบบประเภทต่างๆ คือ
- แบบสถาปัตยกรรม
- แบบวิศวกรรมโครงสร้าง
- แบบวิศวกรรมไฟฟ้า
- แบบวิศวกรรมเครื่องกล
- แบบวิศวกรรมสุขาภิบาล
1. แบบสถาปัตยกรรม หากจะกล่าวอย่างง่ายๆ แบบสถาปัตยกรรม คือ แบบก่อสร้างที่จะแสดงลักษณะและรายละเอียดของอาคารเมื่อก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ ดังนั้นในการก่อสร้างจะต้องพยายามก่อสร้างให้ได้ลักษณะ และรายละเอียดตามที่แสดงไว้ในแบบสถาปัตยกรรม หากแบบวิศวกรรมโครงสร้าง หรือแบบประเภทอื่น ขัดแย้งหรือไม่สอดคล้องกับแบบสถาปัตยกรรม ควรพยายามแก้ไขแบบประเภทอื่นก่อน โดยทั่วไปแบบสถาปัตยกรรมจะแสดงในอัตราส่วน (Scale) ที่มีการกำหนดไว้แน่นอน ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความสัมพันธ์ระหว่างขนาดอาคารและขนาดกระดาษที่ใช้แสดงแบบ แบบสถาปัตยกรรม ประกอบด้วยแบบย่อยๆ ดังต่อไปนี้
1.1 สารบัญแบบ การกำหนดหมายเลขหน้ามักใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ (A = สถาปัตยกรรม, S = วิศวกรรมโครงสร้าง, E = วิศวกรรมไฟฟ้า, SN = วิศวกรรมสุขาภิบาล) ตามด้วยตัวเลขหน้าของแบบประเภทนั้นๆ โดยมีขีดคั่นกลาง เช่น A–01, S–01, E-03, SN-02 เป็นต้น การเรียงลำดับจะเป็นแบบสถาปัตยกรรมขึ้นก่อน ตามด้วยแบบวิศวกรรมโครงสร้าง แบบวิศวกรรมไฟฟ้า และแบบวิศวกรรมสุขาภิบาล ตามลำดับ
1.2 ผังแสดงจุดก่อสร้าง ผังนี้จะแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง อาคาร พื้นที่ก่อสร้าง และบริเวณโดยรอบพื้นที่ก่อสร้าง โดยจะแสดงตำแหน่งที่แน่นอนของอาคาร ทิศทางการหันหน้าของอาคาร ความลาดชัน (Slope) ของพื้นที่ก่อสร้าง ตำแหน่งถนน/ทางสาธารณะ ตำแหน่งท่อประปา/ท่อระบายน้ำสาธารณะและแสดงอาคารหรือสภาพแวดล้อมธรรมชาติโดยรอบพื้นที่ก่อสร้าง ผังแสดงจุดก่อสร้างจะมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องก่อสร้างในพื้นที่ที่จำกัด และมีเขตติดต่อกับที่ดินอื่น
1.3 รายการประกอบแบบก่อสร้าง เป็นส่วนที่มีความสำคัญมาก ซึ่งผู้ดำเนินการก่อสร้าง ผู้ควบคุมงานก่อสร้าง หรือผู้ตรวจงานก่อสร้าง จะต้องศึกษาให้ละเอียดเพราะเป็นส่วนที่จะกำหนด ระบุรายละเอียด ข้อกำหนดต่างๆ ในการดำเนินการก่อสร้าง ตลอดจนวัสดุก่อสร้าง ซึ่งผู้ดำเนินการก่อสร้างจะต้องปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด
1.4 แบบแปลนพื้น ในแบบแปลนพื้นของแบบสถาปัตยกรรมนี้ จะต้องมีแบบแปลนพื้นแสดงสำหรับทุกชั้นของอาคาร แนวของรูปตัดของอาคาร และการกำหนดทิศทางการมองเพื่อแสดงรูปด้าน รวมไปถึงสัญลักษณ์แสดงทิศจะระบุอยู่ในแบบแปลนนี้ ข้อมูลที่สำคัญๆ ที่จะระบุอยู่ในแบบแปลนพื้นมีดังนี้
• ขนาดมิติ ความกว้าง ยาว
• ระดับของพื้นภายนอกอาคาร และภายในอาคาร (เช่น พื้น เพดาน หลังคา เป็นต้น)
• ตำแหน่งของเสา แนวผนัง บันได ประตู และหน้าต่าง
• การแบ่งพื้นที่ใช้สอย
• ชนิด ประเภทของพี้น ผนัง เพดาน ประตู และหน้าต่าง
1.5 แบบแปลนหลังคา เนื่องจากหลังคาจะมีรายละเอียดน้อยกว่าพื้น แบบแปลนหลังคาจึงไม่มีระบุข้อมูลมากเหมือนแบบแปลนพื้น คงจะมีแต่ขนาดมิติ ความกว้างยาว ระยะยื่นชายคา ประเภทของวัสดุมุงหลังคา และลักษณะของหลังคา เท่านั้น
1.6 รูปด้าน รูปด้านนี้จะประกอบด้วย รูปด้านทุกด้านของอาคาร (ด้านหน้า ด้านหลัง และด้านข้าง) รูปด้านจะแสดงให้เห็นถึงภาพของอาคารที่สร้างเสร็จสมบูรณ์ เมื่อมองจากด้านนอกอาคาร ผู้อ่านแบบจึงต้องสังเกตรายละเอียดต่างๆ ให้ดี รายละเอียดต่างๆ ที่ระบุอยู่ในแบบด้านข้างจะมีไม่มาก คงมีแต่เพียง ขนาดมิติต่างๆ ของอาคาร และรายละเอียดปลีกย่อยเล็กน้อยอื่นๆ
1.7 รูปตัด รูปตัดจะมีรายละเอียดแสดงอยู่มาก เช่นเดียวกับแปลนพื้น จำนวนของรูปตัดจะขึ้นอยู่กับความสลับซับซ้อนของอาคาร ข้อมูลที่ไม่มีแสดงไว้ในแปลนพี้น แต่มีแสดงในรูปตัด ได้แก่ ระดับของพื้นชั้นต่างๆ เพดาน รวมถึงระดับของคานหลังคา และโครงสร้างส่วนอื่นๆ ของหลังคา รายละเอียดวัสดุโครงสร้าง หลังคา และวัสดุมุงหลังคา ตลอดจนเชิงชายและปั้นลม
1.8 รูปขยาย รูปขยายจะแสดงรายละเอียดต่างๆ ที่ไม่มีแสดงไว้ในแบบอื่น ส่วนใหญ่แล้วรูปขยายที่จะต้องมี ได้แก่ แบบขยายประตู-หน้าต่าง แบบขยายห้องน้ำ-ห้องส้วม นอกจากนี้อาจจะมีแบบขยายอื่นๆ ได้อีก เช่นแบบขยายบันได เป็นต้น
2. แบบวิศวกรรมโครงสร้าง แบบวิศวกรรมโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก จะเป็นแบบที่แสดงรายละเอียดโครงสร้างทั้งหมด ตลอดจนรายละเอียดการเสริมเหล็กเช่นเดียวกับแบบสถาปัตยกรรม แบบวิศวกรรมโครงสร้างจะประกอบด้วยแบบย่อยๆ อีกหลายแบบ ดังต่อไปนี้
2.1 แบบแปลน แบบแปลนของแบบวิศวกรรมโครงสร้างจะระบุ ขนาด มิติ ตำแหน่ง และชนิดขององค์อาคารแต่ละส่วน โดยการระบุองค์อาคารแต่ละตัวที่จะใช้ ตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่เพื่อบอกประเภทขององค์อาคาร (F = ฐานราก, C = เสาหรือตะม่อ, GB = คานคอดิน, B = คาน, RB = คานหลังคา, S = พื้น, ST = บันได) ตามด้วยหมายเลขประจำองค์อาคารนั้นๆ สำหรับแบบแปลนจะมีไล่จากล่างสุดถึงบนสุด นั่นคือ แบบแปลนฐานราก แบบแปลนพื้นชั้นบน แบบแปลนคานหลังคา แบบแปลนโครงหลังคา
2.2 แบบขยาย แบบขยายหลักๆ ที่จะต้องมี ได้แก่ แบบขยายฐานราก และแบบขยายการเสริมเหล็ก เสา คาน พื้น และบันได ซึ่งจะระบุรายละเอียดขนาด มิติ ขององค์อาคารแต่ละตัว ตลอดจนการเสริมเหล็ก
3. แบบวิศวกรรมไฟฟ้า แบบวิศวกรรมไฟฟ้า ประกอบด้วย สัญลักษณ์ รายการประกอบแบบ และแบบระบบไฟฟ้าของอาคาร โดยส่วนใหญ่จะแยกเป็นแต่ละชั้น ในที่นี้จะไม่ขอกล่าวถึงในรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องระบบไฟฟ้า แต่ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้าง จะเป็นลักษณะการเดินท่อร้อยสายไฟ ซึ่งอาจจะต้องมีการฝังท่อไว้ในโครงสร้าง
4. แบบวิศวกรรมเครื่องกล แบบวิศวกรรมเครื่องกลจะประกอบด้วยรายละเอียดในการติดตั้งเครื่องจักรในอาคาร เช่น ลิฟท์ บันไดเลื่อน เครื่องจักรกลขนาดใหญ่ ระบบกลไกต่างๆ ที่ต้องใช้ภายในอาคาร
5. แบบวิศวกรรมสุขาภิบาล สำหรับแบบวิศวกรรมสุขาภิบาลจะหมายรวมถึง ระบบน้ำดี และน้ำเสีย ซึ่งประกอบด้วย แบบผังระบบน้ำดี และผังระบบน้ำเสีย ของแต่ละชั้น และอาจมีแบบขยาย บ่อเกรอะ บ่อซึม ในกรณีที่ไม่ได้ใช้บ่อบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป
โดยทั่วไปแล้ว แบบก่อสร้างอาคารจะประกอบด้วยแบบประเภทต่างๆ คือ
- แบบสถาปัตยกรรม
- แบบวิศวกรรมโครงสร้าง
- แบบวิศวกรรมไฟฟ้า
- แบบวิศวกรรมเครื่องกล
- แบบวิศวกรรมสุขาภิบาล
1. แบบสถาปัตยกรรม หากจะกล่าวอย่างง่ายๆ แบบสถาปัตยกรรม คือ แบบก่อสร้างที่จะแสดงลักษณะและรายละเอียดของอาคารเมื่อก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ ดังนั้นในการก่อสร้างจะต้องพยายามก่อสร้างให้ได้ลักษณะ และรายละเอียดตามที่แสดงไว้ในแบบสถาปัตยกรรม หากแบบวิศวกรรมโครงสร้าง หรือแบบประเภทอื่น ขัดแย้งหรือไม่สอดคล้องกับแบบสถาปัตยกรรม ควรพยายามแก้ไขแบบประเภทอื่นก่อน โดยทั่วไปแบบสถาปัตยกรรมจะแสดงในอัตราส่วน (Scale) ที่มีการกำหนดไว้แน่นอน ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความสัมพันธ์ระหว่างขนาดอาคารและขนาดกระดาษที่ใช้แสดงแบบ แบบสถาปัตยกรรม ประกอบด้วยแบบย่อยๆ ดังต่อไปนี้
1.1 สารบัญแบบ การกำหนดหมายเลขหน้ามักใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ (A = สถาปัตยกรรม, S = วิศวกรรมโครงสร้าง, E = วิศวกรรมไฟฟ้า, SN = วิศวกรรมสุขาภิบาล) ตามด้วยตัวเลขหน้าของแบบประเภทนั้นๆ โดยมีขีดคั่นกลาง เช่น A–01, S–01, E-03, SN-02 เป็นต้น การเรียงลำดับจะเป็นแบบสถาปัตยกรรมขึ้นก่อน ตามด้วยแบบวิศวกรรมโครงสร้าง แบบวิศวกรรมไฟฟ้า และแบบวิศวกรรมสุขาภิบาล ตามลำดับ
1.2 ผังแสดงจุดก่อสร้าง ผังนี้จะแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง อาคาร พื้นที่ก่อสร้าง และบริเวณโดยรอบพื้นที่ก่อสร้าง โดยจะแสดงตำแหน่งที่แน่นอนของอาคาร ทิศทางการหันหน้าของอาคาร ความลาดชัน (Slope) ของพื้นที่ก่อสร้าง ตำแหน่งถนน/ทางสาธารณะ ตำแหน่งท่อประปา/ท่อระบายน้ำสาธารณะและแสดงอาคารหรือสภาพแวดล้อมธรรมชาติโดยรอบพื้นที่ก่อสร้าง ผังแสดงจุดก่อสร้างจะมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องก่อสร้างในพื้นที่ที่จำกัด และมีเขตติดต่อกับที่ดินอื่น
1.3 รายการประกอบแบบก่อสร้าง เป็นส่วนที่มีความสำคัญมาก ซึ่งผู้ดำเนินการก่อสร้าง ผู้ควบคุมงานก่อสร้าง หรือผู้ตรวจงานก่อสร้าง จะต้องศึกษาให้ละเอียดเพราะเป็นส่วนที่จะกำหนด ระบุรายละเอียด ข้อกำหนดต่างๆ ในการดำเนินการก่อสร้าง ตลอดจนวัสดุก่อสร้าง ซึ่งผู้ดำเนินการก่อสร้างจะต้องปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด
1.4 แบบแปลนพื้น ในแบบแปลนพื้นของแบบสถาปัตยกรรมนี้ จะต้องมีแบบแปลนพื้นแสดงสำหรับทุกชั้นของอาคาร แนวของรูปตัดของอาคาร และการกำหนดทิศทางการมองเพื่อแสดงรูปด้าน รวมไปถึงสัญลักษณ์แสดงทิศจะระบุอยู่ในแบบแปลนนี้ ข้อมูลที่สำคัญๆ ที่จะระบุอยู่ในแบบแปลนพื้นมีดังนี้
• ขนาดมิติ ความกว้าง ยาว
• ระดับของพื้นภายนอกอาคาร และภายในอาคาร (เช่น พื้น เพดาน หลังคา เป็นต้น)
• ตำแหน่งของเสา แนวผนัง บันได ประตู และหน้าต่าง
• การแบ่งพื้นที่ใช้สอย
• ชนิด ประเภทของพี้น ผนัง เพดาน ประตู และหน้าต่าง
1.5 แบบแปลนหลังคา เนื่องจากหลังคาจะมีรายละเอียดน้อยกว่าพื้น แบบแปลนหลังคาจึงไม่มีระบุข้อมูลมากเหมือนแบบแปลนพื้น คงจะมีแต่ขนาดมิติ ความกว้างยาว ระยะยื่นชายคา ประเภทของวัสดุมุงหลังคา และลักษณะของหลังคา เท่านั้น
1.6 รูปด้าน รูปด้านนี้จะประกอบด้วย รูปด้านทุกด้านของอาคาร (ด้านหน้า ด้านหลัง และด้านข้าง) รูปด้านจะแสดงให้เห็นถึงภาพของอาคารที่สร้างเสร็จสมบูรณ์ เมื่อมองจากด้านนอกอาคาร ผู้อ่านแบบจึงต้องสังเกตรายละเอียดต่างๆ ให้ดี รายละเอียดต่างๆ ที่ระบุอยู่ในแบบด้านข้างจะมีไม่มาก คงมีแต่เพียง ขนาดมิติต่างๆ ของอาคาร และรายละเอียดปลีกย่อยเล็กน้อยอื่นๆ
1.7 รูปตัด รูปตัดจะมีรายละเอียดแสดงอยู่มาก เช่นเดียวกับแปลนพื้น จำนวนของรูปตัดจะขึ้นอยู่กับความสลับซับซ้อนของอาคาร ข้อมูลที่ไม่มีแสดงไว้ในแปลนพี้น แต่มีแสดงในรูปตัด ได้แก่ ระดับของพื้นชั้นต่างๆ เพดาน รวมถึงระดับของคานหลังคา และโครงสร้างส่วนอื่นๆ ของหลังคา รายละเอียดวัสดุโครงสร้าง หลังคา และวัสดุมุงหลังคา ตลอดจนเชิงชายและปั้นลม
1.8 รูปขยาย รูปขยายจะแสดงรายละเอียดต่างๆ ที่ไม่มีแสดงไว้ในแบบอื่น ส่วนใหญ่แล้วรูปขยายที่จะต้องมี ได้แก่ แบบขยายประตู-หน้าต่าง แบบขยายห้องน้ำ-ห้องส้วม นอกจากนี้อาจจะมีแบบขยายอื่นๆ ได้อีก เช่นแบบขยายบันได เป็นต้น
2. แบบวิศวกรรมโครงสร้าง แบบวิศวกรรมโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก จะเป็นแบบที่แสดงรายละเอียดโครงสร้างทั้งหมด ตลอดจนรายละเอียดการเสริมเหล็กเช่นเดียวกับแบบสถาปัตยกรรม แบบวิศวกรรมโครงสร้างจะประกอบด้วยแบบย่อยๆ อีกหลายแบบ ดังต่อไปนี้
2.1 แบบแปลน แบบแปลนของแบบวิศวกรรมโครงสร้างจะระบุ ขนาด มิติ ตำแหน่ง และชนิดขององค์อาคารแต่ละส่วน โดยการระบุองค์อาคารแต่ละตัวที่จะใช้ ตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่เพื่อบอกประเภทขององค์อาคาร (F = ฐานราก, C = เสาหรือตะม่อ, GB = คานคอดิน, B = คาน, RB = คานหลังคา, S = พื้น, ST = บันได) ตามด้วยหมายเลขประจำองค์อาคารนั้นๆ สำหรับแบบแปลนจะมีไล่จากล่างสุดถึงบนสุด นั่นคือ แบบแปลนฐานราก แบบแปลนพื้นชั้นบน แบบแปลนคานหลังคา แบบแปลนโครงหลังคา
2.2 แบบขยาย แบบขยายหลักๆ ที่จะต้องมี ได้แก่ แบบขยายฐานราก และแบบขยายการเสริมเหล็ก เสา คาน พื้น และบันได ซึ่งจะระบุรายละเอียดขนาด มิติ ขององค์อาคารแต่ละตัว ตลอดจนการเสริมเหล็ก
3. แบบวิศวกรรมไฟฟ้า แบบวิศวกรรมไฟฟ้า ประกอบด้วย สัญลักษณ์ รายการประกอบแบบ และแบบระบบไฟฟ้าของอาคาร โดยส่วนใหญ่จะแยกเป็นแต่ละชั้น ในที่นี้จะไม่ขอกล่าวถึงในรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องระบบไฟฟ้า แต่ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้าง จะเป็นลักษณะการเดินท่อร้อยสายไฟ ซึ่งอาจจะต้องมีการฝังท่อไว้ในโครงสร้าง
4. แบบวิศวกรรมเครื่องกล แบบวิศวกรรมเครื่องกลจะประกอบด้วยรายละเอียดในการติดตั้งเครื่องจักรในอาคาร เช่น ลิฟท์ บันไดเลื่อน เครื่องจักรกลขนาดใหญ่ ระบบกลไกต่างๆ ที่ต้องใช้ภายในอาคาร
5. แบบวิศวกรรมสุขาภิบาล สำหรับแบบวิศวกรรมสุขาภิบาลจะหมายรวมถึง ระบบน้ำดี และน้ำเสีย ซึ่งประกอบด้วย แบบผังระบบน้ำดี และผังระบบน้ำเสีย ของแต่ละชั้น และอาจมีแบบขยาย บ่อเกรอะ บ่อซึม ในกรณีที่ไม่ได้ใช้บ่อบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป
ป้ายกำกับ:
ประเภทของแบบก่อสร้าง,
construction,
drawing
งานระบบกันซึม Leakage & Waterproof System
งานระบบกันซึม Leakage & Waterproof System
1. งานทำระบบกันซึม (Waterproof system) แบบ Waterproof Membrane ด้วย Liquid Membrane
Waterproof Membrane เป็นระบบกันซึมชนิดพิเศษ "ชนิดเหลว" (Liquid Membrane) ซึ่งเป็นวัสดุ "Polymer" ที่มีความทนทาน ต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ และมีความยืดหยุ่นสูง 400% สามารถให้ตัวได้ แม้กรณีอาคารมีการ Movement
และการแตกร้าวของพื้นคอนกรีต สามารถใช้งานบนพื้นผิวได้ และสะท้อนแสง UV และรังสีความร้อน ได้มากกว่า 80% ทำให้สามารถประหยัดพลังงาน ในตัวอาคารได้อย่างมาก
พื้นที่ ที่สามารถใช้ระบบ Waterproof Membrane ได้แก่ ดาดฟ้าอาคาร, ระเบียง, ผนังอาคาร
2. งานทำระบบกันซึม (Waterproof system) แบบ Waterproof Cement ด้วย Cement Base เป็นวัสดุกันซึมคล้ายซีเมนต์ และส่วนของเหลว ประเภทผสมเสร็จ จากโรงงาน (Acrylic Co-Polymer) มี คุณสมบัติ เมื่อแข็งตัวแล้ว จะไม่เห็นรอยต่อที่เกิดจาก การทา สามารถซึมแทรกเข้าในช่องว่างเล็ก ๆ ที่ผิวคอนกรีตได้ หรือรอยตามด จะคงสภาพอยู่ถาวร เหมือนเป็นเนื้อเดียวกับคอนกรีต ไม่เป็นพิษ สามารถทาใน Tank น้ำดื่มได้.สระว่ายน้ำ,กระถางต้นไม้ และอื่นๆ
3. งานซ่อมน้ำรั่วซึม ( Water Leak) ด้วย Polyurethane Foam High Pressure Injection (PU-FOAM Injection) PU Foam จะทำปฏิกิริยากับน้ำในคอนกรีต และขยายตัว (ประมาณ 10 เท่า) อัดแน่นจนสิ้นสุดปฏิกิริยาในรูปของ Foam และปิดทางน้ำ ทำให้ไม่รั่วซึม การซ่อมป้องกันน้ำรั่วซึมด้วย Polyurethane Foam High Pressure Injection สามารถซ่อมงานในพื้นที่ดังต่อไปนี้
• ถังเก็บน้ำ (Water Tank) ที่เป็นโครงสร้างคอนกรีต
• สระว่ายน้ำ (Swimming Pool)
• พื้น และผนังชั้นใต้ดิน (D-wall, Slab, King Post, Basement)
• รอยต่อโครงสร้างคอนกรีต (Construction Joint)
• โครงสร้างคอนกรีตที่เป็นรูพรุน และมีน้ำรั่วซึม (Honey Comb)
• บ่อลิฟต์ (Lift Pitch, Sump Pitch)
ระบบกันซึม
1. ระบบกันซึมแบบแผ่นสำเร็จรูป มาปูปิดทับ มีกรรมวิธีในการติดตั้งหลักอยู่ 2 วิธีการ แบบที่มีกาวอยู่ในตัวเอง แกะกระดาษออก แปะได้เลย เหมือนกับ แปะ พลาสเตอร์ กับ แบบที่ต้องพ่นไฟ เพื่อให้ แผ่นรองที่เป็นสารพวก พลาสติกใต้แผ่น ละลาย กลาย เป็นกาวเหลว ยึดติดกับแผ่น หลังคา
- ผู้ออกแบบ มัก กำหนดให้ใช้ในกรณีที่เป็นพื้นที่กว้างโล่ง ไม่มีเหลี่ยมมุมมาก ไม่มีแท่นเครื่อง มากมาย เพราะหากมีซอกมุมมาก หรือแท่นอุปกรณ์ ต่างๆมาก การ ตัดชิ้น งานเพื่อแปะเข้าเหลื่ยมมุมให้ได้ดี เนี้ยบ และ ไม่มีจุดอ่อนให้ รั่วทำ ได้ยากมากครับ และต้องมั่นใจว่าจะไม่มีการเข้ามาเจาะพื้น (เพื่อยึดจานดาว เทียม,เสาอากาศทีวี,etc.) เพราะการเข้ามาเก็บงานของระบบนี้กระทำ ได้ยากกว่า ระบบทา และหากการเก็บงานไม่ดีพอเกิดการรั่วซึม มีโอกาสต้องรื้อทำใหม่สูง เนื่องจากหาตำแหน่งที่รั่วไม่พบ และไล่น้ำที่อยู่ตรงกลางระหว่างแผ่นกันซึมกับ แผ่นคอนกรีตออกไม่ได้ หรือได้ไม่หมด (ลักษณะเหมือน Sandwich) เลยไม่รู้ ว่าSlab Concrete รั่วที่บริเวณใด "ต้องรื้อขึ้นมาทำใหม่ทั้งหมด"
- ในระบบแผ่นสำเร็จรูปนี้ สถาปนิกนิยมกำหนดให้ใช้การติดตั้งแบบพ่นไฟมากกว่าแบบ กาวติด เพราะมีการยึดเกาะดีกว่าแบบกาว เนื่องจากบ้านเรามีฝุ่นผงมาก แม้จะทำการ ล้างกำจัดอย่างดีแล้วก็ตาม โอกาสหลุดร่อนของแบบกาวในตัวจึงมีมากอีกทั้งคนงาน หากติดตั้งขอบแผ่นไม่ดี ก็อาจโดนการเดินขณะทำงานเตะจนขอบเปิดให้น้ำเข้าไป สะสมได้ ยกเว้น บาง กรณีที่มี เงื่อนไข ไม่สามารถ ใช้ระบบพ่นไฟ จึงจะมีการนำมา พิจารณาใช้ (เช่น อยู่ใกล้แหล่งเชื้อเพลิง เป็นต้น )
ระบบกันซึมแบบแผ่นสำเร็จรูป ผมพบว่าประมาณ 95% เป็นพวกสาร Bitumen ซึ่งเป็นผลผลิตจากอุตสาหกรรมปิโตรเลียม แล้วเสริมด้วยเส้นใย Fiber ต่างๆ เช่น Glass fiber หรือ Polyester ลักษณะคล้ายSandwich คือ เป็นพวก Bitumen + Fiber +Bitumen เพื่อให้มีความยืดหยุ่น แข็งแรง ไม่ฉีกขาดง่าย ส่วนผิวบนจะเป็นเม็ดทราย หรือ เม็ดหินสี หรือผิวดำๆของ Bitumen ที่รอการเท topping ทับ ทั้งนี้แล้วแต่ทางผู้ออกแบบจะกำหนด
- Bitumen ที่ทางผู้ออกแบบ มักกำหนดเลือกกัน เป็น Modified Bitumen APP. (Atactic PolyPropylene) เพราะมีคุณสมบัติที่ทนต่อรังสีUV. ได้ดี เหมาะกับ สภาพอากาศบ้าน เรา รับแรงดึงและแรงกระแทกได้ดีพอประมาณ ไม่น่าใช้ Modified Bitumen SBS. แม้ จะรับแรงต่างๆได้ดีกว่าก็ตาม เพราะ SBS. ไม่สามารถทน UV. ได้
- Fiber ที่ทางผู้ออกแบบกำหนดมักให้ใช้เป็นพวก Polyester มากกว่าพวก Glass fiber เพราะมีความยืดหยุ่นตัว และรับแรงต่างๆได้ดีกว่า (ความหนาแน่น น่าใช้ที่ไม่ต่ำ กว่า 180 กรัมต่อตารางเมตร)
****การติดตั้ง ส่วนใหญ่ผู้ผลิตมักแนะนำให้ทารองพื้นด้วยพวก Asphalt primer เพื่อเพิ่มการยึดเกาะและช่วยเก็บรอยแตกร้าว
2. ระบบกันซึมแบบของเหลวนำมาพ่นหรือทา ในแบบนี้พบว่ามีสารที่นำมาใช้กันหลักๆ ในปัจจุบันอยู่ประมาณ 3 ตัวหลักๆ
2.1. พวก Bitumen เหลว เนื่องจากเป็นผลผลิตจากน้ำมันที่มีคุณสมบัติกันน้ำและความชื้นได้ดี แต่มักไม่ใช่ Modified Bitumen จึงแพ้แสง UV. ค่อนข้าง มาก จึงควรมีสีทับหน้าเพื่อป้องกันการเสื่อมเมี่อโดนแสงแดด (เป็นเหตุผล ที่ทำไม เชลล์เวเธอร์โค้ท เบอร์ 3 ที่ชาวบ้านนิยมใช้ จึงมีอายุในการเป็นสารกันรั่วซึมได้เพียง1-2ปี )
2.2. พวก Acrylic rasin เนื่องจากคุณสมบัติที่เป็นพวก Polymer เหลวทาแล้วเป็นแผ่นฟิลม์ และทนแสงUV. ได้ดีกว่าพวก Bitumen ธรรมดา จึงมี การนำมาใช้มาก แต่ต้องไม่ลืมว่า Acrylic เป็นพวก Thermoplastic ที่โดนความร้อนแล้วอ่อนตัว
2.3. พวก Polyurethane ด้วยลักษณะที่เป็นทั้ง โฟม สารเคลือบผิวแข็ง ที่ทาแล้วต่อเนื่องเป็นผืนเดียวกัน และยืดหยุ่นตัวได้บ้าง จึงมีการนำมาใช้เป็นสารกันซึมด้วยเหมือนกัน (ความยืดหยุ่นน่าจะน้อยกว่า Acrylic) แต่ทนแสงUV. ไม่ค่อยดี จึงควรมีสีหรือสารเคลือบเพื่อป้องกันเหมือนพวก Bitumen
- ผู้ออกแบบมักกำหนดให้ใช้กับพื้นที่ไม่ใหญ่มาก หรือพื้นที่ที่มีซอกมุมมาก หรือ มีแท่นเครื่อง ขาของตัวเครื่องต่างๆบน ดาดฟ้าอยู่เยอะ เพราะพวกระบบทาจะทาเก็บ งานบริเวณลักษณะน้ำได้ดีกว่า แบบแผ่นสำเร็จ ที่ต้องตัดพับเข้ามุม (การเข้าเก็บงาน ที่มีการเจาะสกัดพื้นที่ทำระบบกันซึมแล้ว ทำได้ง่ายกว่าแบบแผ่น )
- แต่ปัญหาอยู่ที่การควบคุมความหนาให้ได้เท่ากันทั้งหมดตามที่ระบุค่อนข้างยาก เพราะเป็นการพ่น หรือ ทา นั้นจะควบคุมความหนาด้วย"ปริมาตรต่อพื้นที่เป็นตาราง เมตร" คนดูแลต้องคุมให้เข้มงวด และพื้นที่ทำต้องเรียบได้ ระดับสม่ำเสมอ (มิ เช่นนั้น อาจโดนอำ หรือ ไม่ได้ปริมาตร/ตรม.ตามกำหนดเพราะพื้นไม่เรียบ)
- หากต้องมีการเสริมเส้นใย Fiber ไม่ว่าในกรณี เพราะมีรอยแตกร้าวใหญ่ หรือเพื่อ กันการขยับตัวของตัวอาคาร หรือ เพื่อให้สามารถขึ้นไป ใช้งานได้บ้าง Fiber ที่ ใช้ควรเป็นแบบ Non woven Polyester มากกว่าพวก Glass fiber
3. ปัจจุบันเริ่มมีการใช้น้ำยาเคมีเหลวใสที่ใช้พ่นทับผิวคอนกรีต แล้วจะทำปฏิกิริยาเกิดเป็นผลึก Crystal ในเนื้อคอนกรีตเป็น ตัวป้องกันน้ำ แทนที่ระบบ membrane
(จริงๆเข้ามาตั้งแต่ตอนปลายยุคฟองสบู่) มักโฆษณาว่าจะแทรกซึมเข้าไปตามรอยแตกร้าวแล้วตกผลึกกันน้ำ และหากมีการแตกร้าว ที่อื่นเพิ่มก็จะแตกตัวเข้าอุดรูนั้นได้อีก ผมไม่เคยใช้ไม่ทราบว่าดีหรือไม่แต่ มีวิศวกรโครงสร้างทักว่า หากจะลองใช้ให้ดูว่า ผลึกนั้นไม่ควรเป็นผลึกที่เกิดจากการทำปฏิกิริยากับ Silicate ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของคอนกรีต เพราะยังไม่ผลทดสอบ ที่เชื่อได้ว่าไม่ทำให้คอนกรีตเสียคุณสมบัติที่ดีไปในการใช้งานระยะยาว (เพราะประเทศเราไม่เคยมีเขื่อนเพื่อกั้น หรือคุ้มครองผู้บริโภค ในเรื่องของมาตรฐาน ,การที่ต้องผ่านการทดสอบก่อน นำมาขายในประเทศไทยไม่เคยมี ใช้การ ทดลองใช้งานจริงกันเอาเอง ถ้าเฮงก็ดีไป แต่ถ้าซวยก็ทิ้งเงินเปล่า ไม่รู้จะทำอย่างไรดีเหมือนกัน)
การทำหลังคาดาดฟ้าที่ดีไม่รั่วน่าที่จะเริ่มจาก
1. ทำให้ผืนหลังคามีความลาดเอียงมากที่สุด โดยจะต้องวางแผนไว้ตั้งแต่ตอนทำ Shop Drawing เพราะต้องทำ การยกระดับคาน ช่วยในการทำ Slope ไม่เช่นนั้น ตรงปลายสุดของพื้นจะบางมาก หรือหากใช้การเท Topping ปรับระดับ ปูนทรายที่ใช้เทปรับระดับนั้นจะหนามาก (พื้นอาจพังก่อนจะรั่วก็ได้)
2. หลังคาคอนกรีตควรเป็นพื้นที่มีความหนา(design) ไม่น้อยกว่า 0.15 ม. เพื่อให้มีความทึบน้ำมากพอ คือให้หน่วงน้ำฝนไหลลงท่อระบายน้ำหมดก่อนแทรกซึมลงด้านล่าง และคอนกรีตที่ใช้เทดาดฟ้าต้องผสมน้ำยากันซึม ในปริมาตรที่พอดี (มากไปคอนกรีตจะไม่ค่อนแข็งตัว น้อยไปอาจทำให้ทึบน้ำไม่พอ)
3. อย่าทำการขัดมันพื้นดาดฟ้า เพราะการขัดมันมีขั้นตอนที่ทำให้เกิดการแตกร้าวได้มาก การทำขัดมัน ผู้รับเหมาจะ ดำเนินการโดย โรยผงซิเมนต์บนผิวหมาดของคอนกรีต แล้วปั่นด้วยเกรียงเหล็ก เมื่อแห้งจะเกิดเป็นฟิลม์ขัดมัน ที่ผิวคอนกรีตบางๆ เมื่อเจออุณหภูมิที่แตกต่างมากก็จะแตกร้าวได้อย่างง่าย เข้าข่ายแข็งแต่เปราะ (แถมดันบางอีก) แล้วรอยแตกที่ผิวเล็กๆนี้ก็จะเป็นตัวนำน้ำเข้ามา ทำให้คอนกรีตดีด้านล่างเกิดการแตกร้าวตามไปด้วยในที่สุด ดาดฟ้าจึงควรทำผิวเพียงการปาดเรียบเท่านั้น
4. งานระบบต่างๆที่อยู่บนพื้นดาดฟ้า ไม่ว่าระบบ Drain,ระบบระบายอากาศ ควรฝังตัวจริงที่จะใช้งานไว้เลย อย่าทำ การวาง Sleeve เพื่อมาเดินท่องานระบบภายหลังมีโอกาศรั่วมาก แต่หากจำเป็นที่จะต้อง Sleeve เพื่อกลับมา ติดตั้งงาน ระบบให้สกัดขอบของรู Sleeve ให้หยาบ แล้วเทเก็บกันการรั่วด้วย Non Shrink พร้อมกับการปั้น Curb ขังน้ำทดสอบไว้อย่างน้อย 1 วัน หาก ไม่ซึมหยดลงด้านล่างถือว่าใช้ได้ ถ้ายังรั่วให้สกัดออก ทำใหม่
5. หากดำเนินการตาม 4 ข้อข้างต้น ระบบกันซึมทั้งหลายที่กล่าวถึง เกือบไม่จำเป็นเลย แต่เพื่อความสบายใจ หากเป็นดาดฟ้าที่ไม่มีการใช้งาน ให้พ่นหรือ ทาด้วยวัสดุบางๆ(ราคาได้ไม่สูงมาก) หรือหากมีการใช้งานดาดฟ้าใช้ที่มีความหนา มีสารเคลือบกันการเสียดสี
1. งานทำระบบกันซึม (Waterproof system) แบบ Waterproof Membrane ด้วย Liquid Membrane
Waterproof Membrane เป็นระบบกันซึมชนิดพิเศษ "ชนิดเหลว" (Liquid Membrane) ซึ่งเป็นวัสดุ "Polymer" ที่มีความทนทาน ต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ และมีความยืดหยุ่นสูง 400% สามารถให้ตัวได้ แม้กรณีอาคารมีการ Movement
และการแตกร้าวของพื้นคอนกรีต สามารถใช้งานบนพื้นผิวได้ และสะท้อนแสง UV และรังสีความร้อน ได้มากกว่า 80% ทำให้สามารถประหยัดพลังงาน ในตัวอาคารได้อย่างมาก
พื้นที่ ที่สามารถใช้ระบบ Waterproof Membrane ได้แก่ ดาดฟ้าอาคาร, ระเบียง, ผนังอาคาร
2. งานทำระบบกันซึม (Waterproof system) แบบ Waterproof Cement ด้วย Cement Base เป็นวัสดุกันซึมคล้ายซีเมนต์ และส่วนของเหลว ประเภทผสมเสร็จ จากโรงงาน (Acrylic Co-Polymer) มี คุณสมบัติ เมื่อแข็งตัวแล้ว จะไม่เห็นรอยต่อที่เกิดจาก การทา สามารถซึมแทรกเข้าในช่องว่างเล็ก ๆ ที่ผิวคอนกรีตได้ หรือรอยตามด จะคงสภาพอยู่ถาวร เหมือนเป็นเนื้อเดียวกับคอนกรีต ไม่เป็นพิษ สามารถทาใน Tank น้ำดื่มได้.สระว่ายน้ำ,กระถางต้นไม้ และอื่นๆ
3. งานซ่อมน้ำรั่วซึม ( Water Leak) ด้วย Polyurethane Foam High Pressure Injection (PU-FOAM Injection) PU Foam จะทำปฏิกิริยากับน้ำในคอนกรีต และขยายตัว (ประมาณ 10 เท่า) อัดแน่นจนสิ้นสุดปฏิกิริยาในรูปของ Foam และปิดทางน้ำ ทำให้ไม่รั่วซึม การซ่อมป้องกันน้ำรั่วซึมด้วย Polyurethane Foam High Pressure Injection สามารถซ่อมงานในพื้นที่ดังต่อไปนี้
• ถังเก็บน้ำ (Water Tank) ที่เป็นโครงสร้างคอนกรีต
• สระว่ายน้ำ (Swimming Pool)
• พื้น และผนังชั้นใต้ดิน (D-wall, Slab, King Post, Basement)
• รอยต่อโครงสร้างคอนกรีต (Construction Joint)
• โครงสร้างคอนกรีตที่เป็นรูพรุน และมีน้ำรั่วซึม (Honey Comb)
• บ่อลิฟต์ (Lift Pitch, Sump Pitch)
1. ระบบกันซึมแบบแผ่นสำเร็จรูป มาปูปิดทับ มีกรรมวิธีในการติดตั้งหลักอยู่ 2 วิธีการ แบบที่มีกาวอยู่ในตัวเอง แกะกระดาษออก แปะได้เลย เหมือนกับ แปะ พลาสเตอร์ กับ แบบที่ต้องพ่นไฟ เพื่อให้ แผ่นรองที่เป็นสารพวก พลาสติกใต้แผ่น ละลาย กลาย เป็นกาวเหลว ยึดติดกับแผ่น หลังคา
- ผู้ออกแบบ มัก กำหนดให้ใช้ในกรณีที่เป็นพื้นที่กว้างโล่ง ไม่มีเหลี่ยมมุมมาก ไม่มีแท่นเครื่อง มากมาย เพราะหากมีซอกมุมมาก หรือแท่นอุปกรณ์ ต่างๆมาก การ ตัดชิ้น งานเพื่อแปะเข้าเหลื่ยมมุมให้ได้ดี เนี้ยบ และ ไม่มีจุดอ่อนให้ รั่วทำ ได้ยากมากครับ และต้องมั่นใจว่าจะไม่มีการเข้ามาเจาะพื้น (เพื่อยึดจานดาว เทียม,เสาอากาศทีวี,etc.) เพราะการเข้ามาเก็บงานของระบบนี้กระทำ ได้ยากกว่า ระบบทา และหากการเก็บงานไม่ดีพอเกิดการรั่วซึม มีโอกาสต้องรื้อทำใหม่สูง เนื่องจากหาตำแหน่งที่รั่วไม่พบ และไล่น้ำที่อยู่ตรงกลางระหว่างแผ่นกันซึมกับ แผ่นคอนกรีตออกไม่ได้ หรือได้ไม่หมด (ลักษณะเหมือน Sandwich) เลยไม่รู้ ว่าSlab Concrete รั่วที่บริเวณใด "ต้องรื้อขึ้นมาทำใหม่ทั้งหมด"
- ในระบบแผ่นสำเร็จรูปนี้ สถาปนิกนิยมกำหนดให้ใช้การติดตั้งแบบพ่นไฟมากกว่าแบบ กาวติด เพราะมีการยึดเกาะดีกว่าแบบกาว เนื่องจากบ้านเรามีฝุ่นผงมาก แม้จะทำการ ล้างกำจัดอย่างดีแล้วก็ตาม โอกาสหลุดร่อนของแบบกาวในตัวจึงมีมากอีกทั้งคนงาน หากติดตั้งขอบแผ่นไม่ดี ก็อาจโดนการเดินขณะทำงานเตะจนขอบเปิดให้น้ำเข้าไป สะสมได้ ยกเว้น บาง กรณีที่มี เงื่อนไข ไม่สามารถ ใช้ระบบพ่นไฟ จึงจะมีการนำมา พิจารณาใช้ (เช่น อยู่ใกล้แหล่งเชื้อเพลิง เป็นต้น )
ระบบกันซึมแบบแผ่นสำเร็จรูป ผมพบว่าประมาณ 95% เป็นพวกสาร Bitumen ซึ่งเป็นผลผลิตจากอุตสาหกรรมปิโตรเลียม แล้วเสริมด้วยเส้นใย Fiber ต่างๆ เช่น Glass fiber หรือ Polyester ลักษณะคล้ายSandwich คือ เป็นพวก Bitumen + Fiber +Bitumen เพื่อให้มีความยืดหยุ่น แข็งแรง ไม่ฉีกขาดง่าย ส่วนผิวบนจะเป็นเม็ดทราย หรือ เม็ดหินสี หรือผิวดำๆของ Bitumen ที่รอการเท topping ทับ ทั้งนี้แล้วแต่ทางผู้ออกแบบจะกำหนด
- Bitumen ที่ทางผู้ออกแบบ มักกำหนดเลือกกัน เป็น Modified Bitumen APP. (Atactic PolyPropylene) เพราะมีคุณสมบัติที่ทนต่อรังสีUV. ได้ดี เหมาะกับ สภาพอากาศบ้าน เรา รับแรงดึงและแรงกระแทกได้ดีพอประมาณ ไม่น่าใช้ Modified Bitumen SBS. แม้ จะรับแรงต่างๆได้ดีกว่าก็ตาม เพราะ SBS. ไม่สามารถทน UV. ได้
- Fiber ที่ทางผู้ออกแบบกำหนดมักให้ใช้เป็นพวก Polyester มากกว่าพวก Glass fiber เพราะมีความยืดหยุ่นตัว และรับแรงต่างๆได้ดีกว่า (ความหนาแน่น น่าใช้ที่ไม่ต่ำ กว่า 180 กรัมต่อตารางเมตร)
****การติดตั้ง ส่วนใหญ่ผู้ผลิตมักแนะนำให้ทารองพื้นด้วยพวก Asphalt primer เพื่อเพิ่มการยึดเกาะและช่วยเก็บรอยแตกร้าว
2. ระบบกันซึมแบบของเหลวนำมาพ่นหรือทา ในแบบนี้พบว่ามีสารที่นำมาใช้กันหลักๆ ในปัจจุบันอยู่ประมาณ 3 ตัวหลักๆ
2.1. พวก Bitumen เหลว เนื่องจากเป็นผลผลิตจากน้ำมันที่มีคุณสมบัติกันน้ำและความชื้นได้ดี แต่มักไม่ใช่ Modified Bitumen จึงแพ้แสง UV. ค่อนข้าง มาก จึงควรมีสีทับหน้าเพื่อป้องกันการเสื่อมเมี่อโดนแสงแดด (เป็นเหตุผล ที่ทำไม เชลล์เวเธอร์โค้ท เบอร์ 3 ที่ชาวบ้านนิยมใช้ จึงมีอายุในการเป็นสารกันรั่วซึมได้เพียง1-2ปี )
2.2. พวก Acrylic rasin เนื่องจากคุณสมบัติที่เป็นพวก Polymer เหลวทาแล้วเป็นแผ่นฟิลม์ และทนแสงUV. ได้ดีกว่าพวก Bitumen ธรรมดา จึงมี การนำมาใช้มาก แต่ต้องไม่ลืมว่า Acrylic เป็นพวก Thermoplastic ที่โดนความร้อนแล้วอ่อนตัว
2.3. พวก Polyurethane ด้วยลักษณะที่เป็นทั้ง โฟม สารเคลือบผิวแข็ง ที่ทาแล้วต่อเนื่องเป็นผืนเดียวกัน และยืดหยุ่นตัวได้บ้าง จึงมีการนำมาใช้เป็นสารกันซึมด้วยเหมือนกัน (ความยืดหยุ่นน่าจะน้อยกว่า Acrylic) แต่ทนแสงUV. ไม่ค่อยดี จึงควรมีสีหรือสารเคลือบเพื่อป้องกันเหมือนพวก Bitumen
- ผู้ออกแบบมักกำหนดให้ใช้กับพื้นที่ไม่ใหญ่มาก หรือพื้นที่ที่มีซอกมุมมาก หรือ มีแท่นเครื่อง ขาของตัวเครื่องต่างๆบน ดาดฟ้าอยู่เยอะ เพราะพวกระบบทาจะทาเก็บ งานบริเวณลักษณะน้ำได้ดีกว่า แบบแผ่นสำเร็จ ที่ต้องตัดพับเข้ามุม (การเข้าเก็บงาน ที่มีการเจาะสกัดพื้นที่ทำระบบกันซึมแล้ว ทำได้ง่ายกว่าแบบแผ่น )
- แต่ปัญหาอยู่ที่การควบคุมความหนาให้ได้เท่ากันทั้งหมดตามที่ระบุค่อนข้างยาก เพราะเป็นการพ่น หรือ ทา นั้นจะควบคุมความหนาด้วย"ปริมาตรต่อพื้นที่เป็นตาราง เมตร" คนดูแลต้องคุมให้เข้มงวด และพื้นที่ทำต้องเรียบได้ ระดับสม่ำเสมอ (มิ เช่นนั้น อาจโดนอำ หรือ ไม่ได้ปริมาตร/ตรม.ตามกำหนดเพราะพื้นไม่เรียบ)
- หากต้องมีการเสริมเส้นใย Fiber ไม่ว่าในกรณี เพราะมีรอยแตกร้าวใหญ่ หรือเพื่อ กันการขยับตัวของตัวอาคาร หรือ เพื่อให้สามารถขึ้นไป ใช้งานได้บ้าง Fiber ที่ ใช้ควรเป็นแบบ Non woven Polyester มากกว่าพวก Glass fiber
3. ปัจจุบันเริ่มมีการใช้น้ำยาเคมีเหลวใสที่ใช้พ่นทับผิวคอนกรีต แล้วจะทำปฏิกิริยาเกิดเป็นผลึก Crystal ในเนื้อคอนกรีตเป็น ตัวป้องกันน้ำ แทนที่ระบบ membrane
(จริงๆเข้ามาตั้งแต่ตอนปลายยุคฟองสบู่) มักโฆษณาว่าจะแทรกซึมเข้าไปตามรอยแตกร้าวแล้วตกผลึกกันน้ำ และหากมีการแตกร้าว ที่อื่นเพิ่มก็จะแตกตัวเข้าอุดรูนั้นได้อีก ผมไม่เคยใช้ไม่ทราบว่าดีหรือไม่แต่ มีวิศวกรโครงสร้างทักว่า หากจะลองใช้ให้ดูว่า ผลึกนั้นไม่ควรเป็นผลึกที่เกิดจากการทำปฏิกิริยากับ Silicate ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของคอนกรีต เพราะยังไม่ผลทดสอบ ที่เชื่อได้ว่าไม่ทำให้คอนกรีตเสียคุณสมบัติที่ดีไปในการใช้งานระยะยาว (เพราะประเทศเราไม่เคยมีเขื่อนเพื่อกั้น หรือคุ้มครองผู้บริโภค ในเรื่องของมาตรฐาน ,การที่ต้องผ่านการทดสอบก่อน นำมาขายในประเทศไทยไม่เคยมี ใช้การ ทดลองใช้งานจริงกันเอาเอง ถ้าเฮงก็ดีไป แต่ถ้าซวยก็ทิ้งเงินเปล่า ไม่รู้จะทำอย่างไรดีเหมือนกัน)
การทำหลังคาดาดฟ้าที่ดีไม่รั่วน่าที่จะเริ่มจาก
1. ทำให้ผืนหลังคามีความลาดเอียงมากที่สุด โดยจะต้องวางแผนไว้ตั้งแต่ตอนทำ Shop Drawing เพราะต้องทำ การยกระดับคาน ช่วยในการทำ Slope ไม่เช่นนั้น ตรงปลายสุดของพื้นจะบางมาก หรือหากใช้การเท Topping ปรับระดับ ปูนทรายที่ใช้เทปรับระดับนั้นจะหนามาก (พื้นอาจพังก่อนจะรั่วก็ได้)
2. หลังคาคอนกรีตควรเป็นพื้นที่มีความหนา(design) ไม่น้อยกว่า 0.15 ม. เพื่อให้มีความทึบน้ำมากพอ คือให้หน่วงน้ำฝนไหลลงท่อระบายน้ำหมดก่อนแทรกซึมลงด้านล่าง และคอนกรีตที่ใช้เทดาดฟ้าต้องผสมน้ำยากันซึม ในปริมาตรที่พอดี (มากไปคอนกรีตจะไม่ค่อนแข็งตัว น้อยไปอาจทำให้ทึบน้ำไม่พอ)
3. อย่าทำการขัดมันพื้นดาดฟ้า เพราะการขัดมันมีขั้นตอนที่ทำให้เกิดการแตกร้าวได้มาก การทำขัดมัน ผู้รับเหมาจะ ดำเนินการโดย โรยผงซิเมนต์บนผิวหมาดของคอนกรีต แล้วปั่นด้วยเกรียงเหล็ก เมื่อแห้งจะเกิดเป็นฟิลม์ขัดมัน ที่ผิวคอนกรีตบางๆ เมื่อเจออุณหภูมิที่แตกต่างมากก็จะแตกร้าวได้อย่างง่าย เข้าข่ายแข็งแต่เปราะ (แถมดันบางอีก) แล้วรอยแตกที่ผิวเล็กๆนี้ก็จะเป็นตัวนำน้ำเข้ามา ทำให้คอนกรีตดีด้านล่างเกิดการแตกร้าวตามไปด้วยในที่สุด ดาดฟ้าจึงควรทำผิวเพียงการปาดเรียบเท่านั้น
4. งานระบบต่างๆที่อยู่บนพื้นดาดฟ้า ไม่ว่าระบบ Drain,ระบบระบายอากาศ ควรฝังตัวจริงที่จะใช้งานไว้เลย อย่าทำ การวาง Sleeve เพื่อมาเดินท่องานระบบภายหลังมีโอกาศรั่วมาก แต่หากจำเป็นที่จะต้อง Sleeve เพื่อกลับมา ติดตั้งงาน ระบบให้สกัดขอบของรู Sleeve ให้หยาบ แล้วเทเก็บกันการรั่วด้วย Non Shrink พร้อมกับการปั้น Curb ขังน้ำทดสอบไว้อย่างน้อย 1 วัน หาก ไม่ซึมหยดลงด้านล่างถือว่าใช้ได้ ถ้ายังรั่วให้สกัดออก ทำใหม่
5. หากดำเนินการตาม 4 ข้อข้างต้น ระบบกันซึมทั้งหลายที่กล่าวถึง เกือบไม่จำเป็นเลย แต่เพื่อความสบายใจ หากเป็นดาดฟ้าที่ไม่มีการใช้งาน ให้พ่นหรือ ทาด้วยวัสดุบางๆ(ราคาได้ไม่สูงมาก) หรือหากมีการใช้งานดาดฟ้าใช้ที่มีความหนา มีสารเคลือบกันการเสียดสี
ชื่อทาง การค้า | Imper | Elvalex | Solex | Sea Chief | Tamseal 10 F | Ceramic Coating |
ชนิดวัสดุ | แผ่นยาง Polyester? หนา 3-4 มม. ผิวบน เป็นเม็ดหินสีดำ | Flexible Polymer หนา 1.5-2มม. เป็น แผ่นยางสีเทา | Acrylic rasin ทาหนารวม 1.5 ของเหลว+แผ่น+topcoat | สาร Poly urethane (โฟม) ทาหนารวม 3 มม.เป็นของ เหลว+topcoat | สาร Polymer ทาหนา2-3 มม เป็นของเหลว | Powder Ceramic mix in Acrylic rasin (สีอะครีลิค) พ่นหนา 0.3 มม. |
การติดตั้ง | ทารองพื้น ด้วย As-pheltic primer นำแผ่นมา ปูทับกัน ยึดติด ด้วย การพ่นไฟ | ทารองพื้น ด้วย As-pheltic primer นำแผ่นมา ปูทับกัน ยึดติดด้วยการพ่นไฟ | เป็นระบบ ทาทับเป็น ชั้น 1. รองพื้น ด้วย acry- lic poly-mer เก็บรอบร้าว 2. ปู poly- ester เสริม เฉพาะที่มี รอยร้าว ขนาดใหญ่ 3. ทารองพื้นทับด้วย สาร acrylic topcoat 4. พ่นทับหน้าด้วย สาร ceramic | เป็นระบบทาทับเป็น ชั้น 1. รองพื้นด้วย primer poly-urethaneปิดเก็บอุด รอยแตก ร้าวที่พื้น 2. เท PU.water- proof 3. ทาทับ ด้วยสาร top coat | ระบบทา | เป็น ระบบพ่นหรือทา |
ข้อดีพิเศษ | ป้องกันสารเคมีได้ดี ทนแสง UV.ได้ดี มีความยืด- หยุ่นสูง | ป้องกันสารเคมีได้ดี ทนแสง UV.ได้ด ีมีความยืดหยุ่นสูง | ป้องกัน สารเคมีได้ดีทนแสง UV.ได้ดี มีความยืดหยุ่นสูง | ป้องกันสารเคมีได้ดี ทนแสง UV. ด้ด ีมีความยืด- หยุ่นสูง | ป้องกัน สารเคมีได้ดี ทนแสง UV.ได้ดี มีความยืด หยุ่นสูง | |
ข้อควรระวัง | อาจอ่อนตัวเมื่อโดนร้อน | ติดไฟเกิด สารพิษ | ||||
ราคา บาท/ตรม | 450 | 600 | 700 | 700 | 450 | 220-300 |
รับประกัน | 5 ปี | 3 ปีที่ความหนา 2มม. 5 ปีที่ความหนา 3มม. | 3 ปี |
ตารางเปรียบเทียบระบบกันซึม
ชนิดของวัสดุ | อะคริลิค | บิทูเม็น | แผ่นปู | เมมเบรน PU | เกรดสูงPU | เคลือบบาง |
สี | ขาว เขียว เทา | ดำ | ดำ | เขียว | เลือกได้หลายสี | ดำ |
ความทนทานต่อสภาพภูมิอากาศ | 3 | 5 | 2 | 1 | 1 | 1 |
ความทนทานต่อแสงแดด | 2 | 5 | 4 | 1 | 1 | 3 |
ความคงทนเมื่อแช่น้ำ | 3 | 3 | 2 | 1 | 1 | 1 |
ความทนทานต่อการสึกกร่อน | 3 | 4 | 3 | 3 | 1 | 2 |
ความยืดหยุ่น | 3 (>300%) | 2 (>500%) | 2 (>500% ) | 1 (>600%) | 1 (>500%) | 1 (>500%) |
อายุการใช้งาน | 5 | 5 | 3 | 2 | 1 | 2 |
ข้อดี | ราคาถูก ไร้รอยต่อ ซ่อมแซมง่าย | ไร้รอยต่อ มีความ ยืดหยุ่นดี | มีความหนา มาก (3-5 มิลลิเมตร) | ทนต่อสภาพ ภูมิอากาศ ยืดหยุ่นดี ไร้รอยต่อ | คุณภาพ ดีที่สุด ในทุกด้าน ใช้เป็นที่ จอดรถได้ | ทนต่อสภาพ ภูมิอากาศ ไร้รอยต่อ มีความยืด หยุ่นดีที่สุด |
ข้อเสีย | บาง มีความแข็ง แรงน้อย ความยืดหยุ่น ด้อยลง หลังจาก1ปี | บาง มีความแข็ง แรงน้อย ไม่ทนทาน ต่อแสงแดด และสภาพ ภูมิอากาศ ต้องมีชั้น ทับหน้า | มีรอยต่อ ซึ่งเป็นจุด เสี่ยงต่อการ รั่วซึม | บาง มีความแข็ง แรงน้อย ราคาสูง | ราคาสูง | ไม่ทนทาน ต่อแสงแดด และต้องมี วัสดุทับหน้า |
*** ค่าในตาราง 1-5 1 คือ ดีที่สุด 5 คือ ด้อยที่สุด
แบบหล่อคอนกรีต (Concrete Formwork)
แบบหล่อคอนกรีต (Concrete Formwork) โดยทั่วไปการดำเนินงานสำหรับงานแบบหล่อจะปฏิบัติตามข้อกำหนดใน ACI 347 “Recommended Practice for Concrete Formwork” จัดทำแบบสำหรับหล่อคอนกรีตให้มีขนาด รูปร่าง แนว และระดับตามที่กำหนด โดยต้องจัดทำให้มีความมั่นคงแข็งแรงเพียงพอที่จะรับแรงดันที่เกิดจากการเทคอนกรีตและการสั่นคอนกรีตโดยไม่เกิดการเคลื่อนตัวของแบบหล่อ และก่อนเริ่มงานแบบหล่อ จะต้องเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์จัดทำแบบหล่อ เช่น ขนาด รูปร่าง คุณภาพและความแข็งแรงของวัสดุที่ใช้ให้ผู้ควบคุมงานของพิจารณาอนุมัติ
สำหรับแบบหล่อคอนกรีตผิวเปิด (Exposed Surfaces) หรือแบบหล่อที่ต้องการความเที่ยงตรงสูง เช่น แบบหล่อคอนกรีตช่องทางน้ำ จะต้องบุผิวหรือจัดทำด้วยแผ่นเหล็ก หรือไม้อัดที่มีผิวเรียบ ปราศจากรอยตำหนิใดๆ โดยจะต้องรักษาสภาพของผิวแบบหล่อดังกล่าวให้ดีอยู่เสมอ หากมีจุดบกพร่องใดๆ เกิดขึ้นจะต้องเปลี่ยนใหม่ทันที
การถอดแบบหล่อคอนกรีตโดยทั่วไป
สำหรับระยะเวลาโดยประมาณที่จะถอดแบบและค้ำยันบางส่วนของงานคอนกรีตให้อนุโลมตามข้อกำหนดดังนี้ คือ
- แบบหล่อด้านข้างของตอม่อ เสา และคานที่ไม่รับน้ำหนัก 2 วัน
- แบบหล่อใต้ท้องคานและแผ่นพื้น 21 วัน (หรือเมื่อคอนกรีตจะมีกำลังอัดไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของค่าที่ออกแบบ)
- ค้ำยันใต้ท้องคาน 28 วัน (หรือเมื่อคอนกรีตมีกำลังอัดร้อยละ 100 ของค่าที่ออกแบบ)
สำหรับแบบหล่อคอนกรีตผิวเปิด (Exposed Surfaces) หรือแบบหล่อที่ต้องการความเที่ยงตรงสูง เช่น แบบหล่อคอนกรีตช่องทางน้ำ จะต้องบุผิวหรือจัดทำด้วยแผ่นเหล็ก หรือไม้อัดที่มีผิวเรียบ ปราศจากรอยตำหนิใดๆ โดยจะต้องรักษาสภาพของผิวแบบหล่อดังกล่าวให้ดีอยู่เสมอ หากมีจุดบกพร่องใดๆ เกิดขึ้นจะต้องเปลี่ยนใหม่ทันที
การถอดแบบหล่อคอนกรีตโดยทั่วไป
สำหรับระยะเวลาโดยประมาณที่จะถอดแบบและค้ำยันบางส่วนของงานคอนกรีตให้อนุโลมตามข้อกำหนดดังนี้ คือ
- แบบหล่อด้านข้างของตอม่อ เสา และคานที่ไม่รับน้ำหนัก 2 วัน
- แบบหล่อใต้ท้องคานและแผ่นพื้น 21 วัน (หรือเมื่อคอนกรีตจะมีกำลังอัดไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของค่าที่ออกแบบ)
- ค้ำยันใต้ท้องคาน 28 วัน (หรือเมื่อคอนกรีตมีกำลังอัดร้อยละ 100 ของค่าที่ออกแบบ)
ป้ายกำกับ:
แบบหล่อคอนกรีต,
concrete,
formwork
นั่งร้านและอันตรายที่มักเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานในการใช้นั่งร้าน
ลักษณะของงานก่อสร้างส่วนใหญ่จะเป็นการทำงานบนที่สูง และงานใต้ดินที่มีระดับชั้นความลึกต่าง ๆ ซึ่งงานเหล่านี้จำเป็นที่จะต้องใช้นั่งร้านในการก่อสร้างงานเพื่อให้แล้วเสร็จ ผู้ใช้แรงงาน ช่าง หัวหน้างาน ตลอดจนวิศวกรที่ทำงานด้านการก่อสร้าง จึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงการทำงานที่สูงโดยไม่ใช้นั่งร้าน ด้วยเหตุนี้เราจึงควรมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานนั่งร้านให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดความปลอดภัย อันตรายจากงานนั่งร้าน มักจะพบเสมอในหน่วยงานก่อสร้าง เพราะมีการใช้งานตลอดเวลา ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด กล่าวคือ เมื่อเริ่มทำชั้นที่สองขึ้นไปต้องทำนั่งร้าน และค้ำยันจนกระทั่งโครงสร้างทั้งหมดเสร็จ จึงเริ่มการตกแต่งภายในและภายนอก การตกแต่งภายนอกต้องตั้งนั่งร้านจากชั้นล่างสุดจนกระทั่งถึงชั้นบนสุด ถ้าโครงสร้างสูงมากอาจใช้นั่งร้านชนิดแขวนเข้าช่วย เพื่อให้การตั้งนั่งร้านจากข้างล่างไม่ต้องต่อชั้นไปสูงมากนัก
ข้อควรรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการออกแบบนั่งร้าน
ในส่วนของนั่งร้านทั่วๆ ไปนั้น จำเป็นต้องมีแบบที่มาตรฐาน ซึ่งคำนึงถึงความปลอดภัยที่จะใช้งานเป็นหลัก นั่งร้านเหล่านั้นควรมีลักษณะ ดังนี้
• สำหรับนั่งร้านที่ทำด้วยไม้ การออกแบบเพื่อรับน้ำหนัก ควรออกแบบไว้สูงสุด 4 เท่าของน้ำหนักที่จะใช้งานจริง
• การใช้นั่งร้านนั้นไม่ว่าจะใช้งานเมื่อใดก็ตาม ให้ใช้อุปกรณ์ชิ้นส่วนชนิดเดียวกัน อย่าใช้ผสมผสานกัน
• ฐานของนั่งร้านจะต้องมั่นคง และวางอยู่ในลักษณะสมดุลย์ อย่าใช้พวกเศษวัสดุต่าง ๆ เช่น เศษอิฐ เศษไม้ รองขานั่งร้าน
• นั่งร้านควรมีการโยงยึด ผูกติด หรือค้ำยันกับตัวอาคาร เพื่อป้องกันการเอน หรือล้ม
• นั่งร้านที่สูงกว่า 2.00 เมตร จะต้องมีราวกันตก
• นั่งร้านที่สร้างด้วยไม้จะต้องใช้ไม้ที่ไม่ผุเปื่อย ไม่มีรอยร้าว หรือชำรุดอื่นๆ ที่จะทำให้ขาดความแข็งแรงทนทาน
• การทำนั่งร้านแบบเสาเรียงเดี่ยว กรณีที่ใช้ไม้ไผ่เป็นเสาควรตั้งให้ห่างกันไม่เกิน 1.50 เมตร ให้ใช้ไม้ไผ่ทำคานผูกติดกับเสาทุกต้น เมื่อตั้งเสาแล้วใช้ไม้ไผ่ทะแยงมุม ไม่เกิน 45 องศา กับแนวราบ
• ที่กล่าวมานี้เป็นตัวอย่างส่วนหนึ่งของแบบนั่งร้าน ซึ่งควรปฏิบัติกันในงานก่อสร้าง ซึ่งรายละเอียดอาจศึกษาได้จาก ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้าง(นั่งร้าน)
อันตรายที่มักเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานในการใช้นั่งร้าน ได้แก่
1. การพังของนั่งร้าน เป็นสาเหตุที่ทำให้คนงานได้รับอันตรายอย่างมาก การพังของนั่งร้านมีสาเหตุมากมาย เช่น
1.1 รับน้ำหนักการบรรทุกมากเกินไป เป็นเพราะคนงานขึ้นไปมากเกินไป หรือกองวัสดุไว้มากเกินความจำเป็น
1.2 วัสดุนำมาใช้ไม่สมบูรณ์ เช่น ใช้ไม้เก่าจนเนื้อไม้ยุ่ย หรือเป็นเหล็กที่คดงอเป็นสนิม
1.3 การประกอบหรือติดตั้งไม่ถูกต้อง ถ้าเป็นนั่งร้านไม้มีการยึคด้วยตะปูน้อย หรือไม่ถูกวิธี หรือนั่งร้านเหล็กใช้ส่วนประกอบไม่ครบ
1.4 ฐานของนั่งร้านไม่แข็งแรงมั่นคง วางบนดินอ่อน บนเศษไม้ผุ หรือวัสดุที่ไม่แข็งแรง พอที่จะรับน้ำหนักได้
1.5 จากการทำงานไม่ถูกวิธี เช่น การเทพื้นคอนกรีตโดยใช้ปั้มคอนกรีตจะไม่ไหลตามท่อและจะสุมเป็นกอง ถ้าคนงานไม่ขยับปลายท่อเพื่อเปลี่ยนที่กองของคอนกรีตใหม่ หรือเกิดจากคนงานโกยคอนกรีตไม่ทันก็จะมีคอนกรีตกองใหญ่ ซึ่งคอนกรีตนี้จะมีน้ำหนักมาก (1 ลูกบาศก์เมตรหนักประมาณ 2,400 กิโลกรัม) ถ้าคิดรวมกับน้ำหนักของคนงานที่ขึ้นไปปฏิบัติงานแล้ว จะทำให้ค้ำยันบริเวณนั้นรับน้ำหนักเกินกว่าที่ออกแบบไว้เป็นสาเหตุให้ค้ำยันพังทลาย
2. คนงานตกลงมาจากนั่งร้าน ไม่ใช่มีสาเหตุจากนั่งร้านพังเท่านั้น ที่ทำให้คนงานตกลงมาแต่ยังมีสาเหตุอื่น ๆ อีก ที่ทำให้คนงานตกลงมาจากนั่งร้าน เช่น
2.1 คนงานประมาทเลินเล่อ เดินสะดุดวัสดุบนนั่งร้านแล้วพลัดตกลงมา
2.2 คนงานทำงานเพลิน ทำให้ก้าวผิดเพราะไม่ทันสังเกตมองพื้นทางเดินบนนั่งร้าน เช่น ถอยหลังเพื่อให้ทำงานชนิดโดยไม่ได้ดูว่าตอนนี้ยืนอยู่ริมนั่งร้านแล้ว
2.3 อาจจะเป็นโรคปัจจุบันทันด่วน เช่น เป็นลม หน้ามืด ก็อาจจะทำให้ตกลงมาได้
2.4 เกิดจากการพัดของลมอย่างแรง เช่น ขณะทำงานเกิดมีฝนตกกระทันหันและลมพัดแรง พัดเอาคนงานตกลงมา กรณีเช่นนี้มีคนงานก่ออิฐโดนลมพัดทั้งคนทั้งกำแพงอิฐที่ยังก่อไม่เสร็จตกลงมาเสียชีวิต
3. การพังทลายของนั่งร้านตกลงมาโดนอาคารที่อยู่รอบข้าง หรือบ้านพักคนงานที่สร้างอยู่ติดอาคารที่กำลังก่อสร้าง เหตุการณ์เช่นนี้พบในเขตชุมชนที่ต้องสร้างอาคารสูงในพื้นที่ที่จำกัด โดยหลีกเลี่ยงไม่ได้
4. คนงานได้รับอันตรายจากการเดินผ่านนั่งร้าน ในการทำงานของคนงานต้องเดินผ่านนั่งร้านที่ตั้งอยู่รอบอาคาร เพื่อเข้าไปทำงานแล้วต้องเดินผ่านค้ำยันของชั้นที่เทคอนกรีตเสร็จใหม่ๆ หรือขึ้นไปตั้งนั่งร้านชั้นต่อไป ถ้าหากการตั้งนั่งร้านไม่เป็นระเบียบ ระเกะระกะ มีปลายของชิ้นส่วนนั่งร้านโผล่ยื่นออกมาคนงานอาจจะโดนทิ่มหรือเดินชนส่วนอันตรายเหล่านั้นทำให้ได้รับบาดเจ็บได้
หลักในการเลือกอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลกับลักษณะงาน
“อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล” หรือ “Personal Protective Equipment” หมายถึง สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่นำมาสวมใส่ลงบนอวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายหรือหลายส่วนรวมกัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อป้องกันอวัยวะส่วนนั้นของร่างกาย ไม่ให้ประสบอันตรายจากสิ่งหนึ่งสิ่งใดหรืออาจจะกล่าวได้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการป้องกันอันตรายอันเกิดจากสภาพสิ่งแวดล้อมในการทำงานให้แก่คนงาน
1. เลือกให้เหมาะสมกับลักษณะงานที่เป็นอันตราย ต้องทราบลักษณะงานที่ทำจะเกิดอันตรายอะไรได้บ้าง เช่น ถ้าเราต้องทำงานเกี่ยวกับกรด เราก็ควรเลือกใช้หน้ากากที่สามารถป้องกันไอกรดนั้นได้ เลือกใช้ถุงมือป้องกันกรด เป็นต้น
2. เป็นอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่ผ่านการทดสอบหรือรับรองประสิทธิภาพ จากสถาบันหรือองค์การที่เกี่ยวข้องกับงานทางด้านความปลอดภัยและสุขภาพอนามัย เช่น อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจที่มีหนังสือรับรองประสิทธิภาพจากสถาบันอาชีวอนามัยและความปลอดภัยแห่งสหรัฐอเมริกา (National Institute for Occupational Safety and Health : NIOSH) เป็นต้น
3. ขนาดพอเหมาะกับผู้ใช้ เนื่องจากอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลส่วนใหญ่แล้วจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มาจากต่างประเทศ และมีขนาดที่แตกต่างกันไปมาก บางชนิดจะมีขนาดใหญ่โตเกินไปไม่เหมาะสมกับขนาดร่างกายของคนไทย
4. ประสิทธิภาพสูง ต้องพิจารณาประสิทธิภาพของอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถป้องกันอันตรายนั้นได้เป็นอย่างดี
5. มีน้ำหนักเบา และสวมใส่สบาย เนื่องจากอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลต้องใช้สวมใส่เข้าไปยังอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนของร่างกาย ถ้ามีน้ำหนักเบาและสวมใส่สบาย ก็จะทำให้ผู้ใช้งานไม่เกิดความรำคาญ มีความเต็มใจที่จะสวมใส่อยู่ได้เป็นเวลานาน และมีความรู้สึกไม่ขัดขวางต่อการทำงาน
6. ใช้ง่ายไม่ยุ่งยาก อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่ออกแบบมาใช้ได้ง่าย ไม่ยุ่งยากจะทำให้ไม่ต้องใช้เวลาในการฝึกอบรม หรือฝึกปฏิบัติให้กับผู้ใช้งาน ซึ่งสามารถเรียนรู้วิธีการใช้ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้เกิดความพึงพอใจในการใช้อุปกรณ์ป้องกันนั้น
7. บำรุงรักษาง่าย เพื่อให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานและคงประสิทธิภาพในการป้องกันเอาไว้ การบำรุงรักษาควรกระทำได้ง่ายไม่ยุ่งยาก เพื่อให้ผู้ใช้งานหรือผู้ที่รับผิดชอบในการบำรุงรักษาให้ความสนใจในการบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ
8. ทนทาน หาอะไหล่ได้ง่าย ทำด้วยวัสดุที่ทนทานมีอายุการใช้งานที่ยาวนานและเมื่อมีชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ประกอบชำรุดหรือหมดอายุ สามารถหาอะไหล่มาเปลี่ยน
ป้ายกำกับ:
การออกแบบนั่งร้าน
ประเภทของสี
การแบ่งประเภทของสี แบ่งตามการใช้งานโดยเริ่มจากชั้นล่างสุด คือ
1. สีรองพื้น ( Primer ) หมายถึงสีชั้นแรกสุด ที่เคลือบติดวัสดุนั้นๆ เช่น สีรองพื้นกันสนิมมีหน้าที่กันไม่ให้เกิดสนิมเหล็ก หรือเกิดช้าที่สุด สีรองพื้นปูนใหม่กันด่าง คือ สีที่กันความเป็นด่างจากพื้นปูนใหม่ เพื่อไม่ให้เกิดความเป็นด่างจากเนื้อปูน ทำปฏิกิริยากับสีทาทับหน้า ลดจำนวนสีทับหน้า วิธีนี้สามารถลดจำนวนสีทับหน้าลงได้
2. สีชั้นกลาง ( Undercoat ) เป็นสีชั้นที่สองรองจากสีรองพื้น เป็นสีที่เป็นตัวประสานระหว่างสีรองพื้นกับสีทับหน้า เป็นตัวเพิ่มความหนาของฟิล์มสี และลดการใช้สีทับหน้า
3. สีทับหน้า ( Top Coat ) เป็นสีขั้นสุดท้ายที่จะให้คุณสมบัติที่สวยงาม คงทน เงางาม มีสีมากมายให้เลือกใช้ตรงตามวัตถุประสงค์ เช่น สีขาว เหลือง แดง ขึ้นอยู่กับรสนิยมและความพอใจ
4. สีทับหน้าประเภทใส ( Clear T/C ) เป็นสีที่ไม่มี Pigment จะไม่มีสีเป็นสีใสๆ หรือเหลืองอ่อน ใช้เคลือบบนวัสดุต่างๆ ให้เงามากขึ้น หรือด้าน หรือกึ่งเงากึ่งด้าน
การจำแนกวัตถุประสงค์ของสีกับการใช้งาน
สีเป็นวัสดุเคลือบผิวชนิดหนึ่ง ซึ่งผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ต่างๆ แล้วสรุปจำแนกสีนำไปใช้งานได้อย่างคร่าวๆ เพื่อให้ีความเข้าใจ แบบกว้างๆเกี่ยวกับการแยกลักษณะการใช้งานของสีชนิดต่างๆดังนี้
1. สีทาซีเมนต์ / คอนกรีต เช่น บ้าน อาคาร ตึก คอนโด อาพาร์ทเมนต์ ที่ใช้ปูนซีเมนต์ เป็นหลัก ควรใช้สีน้ำหรือสีน้ำ Emulsion เคลือบทับพื้นผิว ดูระบบด้วย
2. สีทาไม้ – ทาเหล็ก เช่น บ้านไม้ เรือไม้ เรือเหล็กขนาดเล็ก ชิ้นงานเหล็กต่างๆ ควรใช้สีเคลือบเงาทาดูระบบด้วย
3. สีทาถนน ถนนคอนกรีต ถนนลาดยาง ควรใช้สีทาถนนโดยเฉพาะ
4. สีอบ เป็นสีที่ใช้ความร้อน อบชิ้นงาน เช่น ตู้เอกสาร แผ่นโลหะเคลือบต่างๆ
5. สีอบ ประเภท UV Cure เป็นสีหรือกึ่งหมึกพิมพ์ ใช้กับถุงอาหาร จะผ่านแสง UV และจะแห้งทันที เช่น ถุงอาหาร ดินสอ
6. สีทนความร้อน เป็นสีที่ใช้กับงานต่างๆ ที่ต้องการทนความร้อน เช่น ปล่องไฟ ปล่องควัน ท่อไอเสีย
7. สีใช้เป็นสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น ทาท่อน้ำ ปล่องไฟ ท่อก๊าซ ทาขอบถนนบอกเป็นห้ามจอด ขอบทาง
8. สีใช้งานเฉพาะ เช่น สีพ่น Acrylic ประตู Alloy สีกันเพรียง สีทาเรือรบ สีพ่นรถยนต์ สีพรางรถถัง สีพ่นตู้เอกสาร สีพ่นเครื่องดับเพลิง ฯลฯ จะมีระบุเฉพาะ
แนวคิดในการเลือกใช้สี
สีในท้องตลาดมีมากมายหลายชนิด แบ่งแยกตามจุดประสงค์การใช้งาน แนวคิดกว้างๆ ในการเลือกใช้สี ต้องเลือกใช้สี ที่เหมาะสม กับจุดประสงค์ การใช้งาน เพื่อประโยชน์สูงสุด ที่ได้รับ การเลือกสีสำหรับอาคารนั้น ต้องเลือกให้ตรงตาม วัตถุประสงค์ที่ใช้ โดยแยกตาม ประโยชน์และหน้าที่ เฉพาะของสีโดยมี รายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ทาสีเพื่อปกป้องพื้นผิว การทีสีนั้นนอกจากทำเพื่อความเรียบร้อยสวยงามแล้วยังช่วยปกป้องและป้องกันความเสียหายอันเกิดกับพื้นผิวของวัสดุต่างๆ ของอาคารจากการกัดกร่อนของธรรมชาติ ได้แก่ แสงแดด ฝน สภาวะอากาศ รวมถึงทั้งสารเคมี และการสัมผัส เช็ด ถู ขูดขีด เป็นต้น
2. เพื่อสุขลักษณะและความสะอาด การทาสีที่ผ่านการเลือกใช้อย่างดี ถูกต้องตามลักษณะการใช้สอยของพื้นที่ในส่วนต่าง ๆ แล้ว จะช่วยทำให้ผิวหน้าของพื้นผิวเมื่อมีการใช้งานจะทำความสะอาดได้ง่ายไม่ดูดซึมน้ำและสารละลายต่างๆ ได้ เช่น ครัว ควรใช้สีที่ทำความสะอาดง่ายเช่นสีน้ำมัน หรือ สีAcrylic อย่างดี, ห้อง LAB หรือห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ ควรใช้สีที่มีความทนทานต่อสารเคมี และห้องน้ำ ควรใช้สีที่ทนต่อน้ำและความชื้นได้ดี ทำความสะอาดง่าย เป็นต้น
3. เพื่อปรับความเข้มของแสง บรรดาเฉดสีต่างๆ นอกจากจะมีผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้อยู่อาศัย เช่น ทำให้ดูโล่งกว้าง ดูหนักแน่น หรือดูเร้าใจ เป็นต้นแล้วก็ยังจะมีส่วนช่วยในการปรับ ความเข้ม จาง ของแสงจากแสงแดดและแสงไฟฟ้า เฉดของสีมีส่วนช่วยเพิ่มหรือลดความเข้มของแสงในอาคารได้ เช่น ในห้องอ่านหนังสือที่ต้องการแสงสว่างมาก ๆ ก็ควรใช้เฉดสีสว่าง เช่น สีขาว ในขณะที่ห้องชมภาพยนตร์ ควรจะเลือกใช้เฉดสีที่มืด ไม่รบกวนการชมภาพยนตร์ เป็นต้น ในห้องที่แสงไม่พอ ก็สามารถ ใช้เฉดสีสว่างเข้ามาช่วยทำให้แสงภายในห้องดีขึ้นได้ส่วนหนึ่ง
4. สัญลักษณ์เครื่องหมาย บางครั้งก็มีการใช้สีสื่อความหมาย เป็นเครื่องหมายสัญลักษณ์ ในรูปกราฟฟิก สีบางชนิด จะมีการสื่อ ความหมาย เป็นแบบมาตรฐานสากลได้ เช่น ป้ายจราจร สัญลักษณ์ ระวังอันตรายต่างๆ เป็นต้น
5. ความสวยงาม ประการสุดท้ายซึ่งเป็นประการสำคัญในการเลือกใช้สี คือเรื่องของความสวยงามความพอใจ ซึ่งเป็นผลโดยตรง และเห็นได้ชัดเจนที่สุด สำหรับงาน ทางสถาปัตยกรรม อาคารบ้านเรือนต่างๆ การเลือกชนิดของสี และ เฉดสีอาจช่วยเน้น ให้แนวความคิดใน การออกแบบแสดงออกมา ได้ดียิ่งขึ้น
การเลือกใช้สีนั้น อันดับแรก ต้องพิจาณา ถึงความต้องการใช้สอยในพื้นที่ที่จะทาเสียก่อน ว่ามีการใช้งานมากน้อย หนักเบาอย่างไรบ้าง ดูว่าพื้นที่นั้น ๆ มีความต้องการพิเศษ หรือไม่อย่างไร สุดท้ายจึงคำนึงถึงความชอบ ความสวยงาม
ชนิดและประเภทของสีเพื่อการใช้งาน
สีชนิดทาภายนอกอาคาร คือ สีที่จะทาในส่วนภายนอกอาคารทั้งหมด ที่มีการระบุให้ทาสี รวมทั้งพื้นผิวส่วนที่เปิดสู่ภายนอก หรือ พื้นผิวส่วนที่จะได้รับแสงแดดโดยตรงจากภายนอกได้ ให้ทาด้วยสีประเภทอาคิลิค (Pure Acrylic Paint )โดยทำการทา 3 เที่ยว ในการทาสีทุกชนิดโดยเฉพาะสีทาภายนอกนั้น ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดคือการเตรียมพื้นผิวสำหรับการทาสีนั่นเอง เพราะกว่า 80 % ของ การวิบัติของสี เกิดมาจาก การเตรียมพื้นผิวไม่ดี ก่อนการทาสีนั้น ต้องให้แน่ใจว่า พื้นที่จะทานั้น แห้งสนิท ไม่มีสภาพ เป็นกรดด่าง หรือมีฝุ่นเกาะ ควรเป็น ผนังที่ฉาบเรียบ ไม่มีรอยแตกให้เห็น หากมีต้องทำ การโป๊วปิดรอยต่อ เสียให้เรียบร้อย ก่อน การทาสี โดยปรกติ การทาสีทุกประเภทจะทาประมาณ 2 – 3 รอบและ ไม่ควร ทาสีเกิน 5 รอบ เพราะจะทำให้ชั้นของสี มีความหนาเกินไป และหลุดร่อนได้ง่าย
สีน้ำพลาสติกทาภายใน คือ สีที่จะทา ส่วนภายในอาคาร เช่น ผนังฉาบปูนพื้นผิว ยิปซั่มบอร์ด กระแผ่นเรียบ หรือส่วนอื่นๆ ที่ระบุให้ทา ด้วยสีพลาสติก ( ทา 2-3 เที่ยว ) ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะนำสีภายในใช้ทาผนังภายนอก เนื่องจากสีภายใน ไม่ทนแดดทนฝน ทำให้สี หลุดร่อนได้ง่าย ที่คิดว่ามีราคาถูกกว่าสีทาภายนอกตั้งแต่แรกก็จะกลายเป็นแพงกว่าขึ้นมาทันที แถมยังเสียเวลา เสียความรู้สึก อีกด้วย เวลาสีหลุดล่อนแตกลายงา ส่วนในผนังที่จะทาสีน้ำมันต้องสะอาด แห้ง และสิ่งที่สำคัญมากคือ ต้องไม่มีความชื้นเพราะ ความชื้นที่มีอยู่ ภายใน หากทาสีแล้วชั้น ของสีน้ำมันจะทับทำให้ระบายอากาศไม่ได้และจะทำให้เนื้อสีพอง บวม ออกมาได้ชัดเจน มากกว่าสีน้ำ หรือ สีอาคิลิค (Acrylic) สีในแต่ละส่วนของบ้าน ไม่ว่าจะเป็นภายนอก ภายใน หรือส่วนอื่นของบ้านย่อมมี รายละเอียดของสี ที่ทาแตกต่างกัน
การทาสี
คงจะมีอยู่น้อยคนนักที่ยังไม่เคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง และก็ยังคงมีอยู่น้อยคนเช่นกันที่จะปฏิเสธ
คำกล่าวข้างต้นว่าไม่เป็นความจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสุภาพสตรีทั้งหลาย ซึ่งส่วนใหญ่จะพบว่าการแต่งหน้าหรือแต่งตัวเป็นส่วนหนึ่ง
ของกิจวัตรประจำวันที่ขาดเสียไม่ได้ และถ้าจะเพิ่มเติมคำกล่าวข้างต้นเสียหน่อยว่า ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง บ้านสวยเพราะ
สีดี ก็ไม่น่าจะผิดความเป็นจริงแต่ประการใด เพราะบ้านที่มีสีสันสวยงามดูใหม่สะอาดตา ย่อมมีส่วนช่วยให้บ้านหลังนั้นดูเด่นเป็นสง่า
น่าอยู่อาศัย เป็นที่ประทับใจแก่ผู้อยู่อาศัยและผู้พบเห็น และการที่จะให้ได้มาซึ่งสิ่งเหล่านี้ย่อมขึ้นอยู่กับการเลือกใช้สีที่เหมาะสม การใช้
สีที่มีคุณภาพ ตลอดจนขั้นตอนในการทาสีที่เป็นไปอย่างถูกต้อง เพราะการใช้สีชนิดที่เหมาะสม มีคุณภาพ และมีขั้นตอนการทาสีที่ถูก
ต้องจะช่วยให้บ้านมีความสวยงามและสวยทนนาน
ประเภทของสีทาบ้าน
สีที่มีจำหน่ายทั่วไปตามท้องตลาดมีอยู่มากมายหลายชนิด ยิ่งถ้าจะแบ่งแยกกันอย่างละเอียดรวมถึงน้ำมันเคลือบผิวต่างๆ ด้วยแล้ว
ก็มีนับร้อยชนิดเลยทีเดียว แต่ละชนิดจะมีองค์ประกอบของเนื้อสีและคุณสมบัติที่ต่างกัน อีกทั้งวัตถุประสงค์และประเภทของการใช้งาน
ก็แตกต่างกันออกไป ซึ่งถ้าจะนำมากล่าวถึงทั้งหมดก็คงจะเป็นรายละเอียดที่เกินความจำเป็น ในที่นี้ผู้เขียนจึงจะกล่าวถึง สีเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับ งานทาสีบ้านเท่านั้น สีที่ใช้ในการทาบ้านที่นิยมใช้กันทั่วไปอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ตามวัสดุที่ใช้ทำสี และลักษณะ ของการใช้งาน อันได้แต่สีพลาสติก และสีน้ำมันดังนี้
สีพลาสติก
สีพลาสติกหรือที่เรียกกันคุ้นหูอีกชื่อหนึ่งว่าสีอะคริลิก (acrylic emulsion paint) เป็นสีพลาสติกที่ผลิตขึ้นจากลาเท็กซ์ พีวีเอซี โคพอลิเมอร์ (latex PVAc copolymer) ผสมกับแม่สี เป็นสีที่สามารถใช้น้ำเป็นตัวทำละลายหรือผสมสีให้เจือจาง แต่เมื่อสี
แห้งได้ที่แล้วจะไม่ละลายน้ำหรือหลุดลอกไปตามน้ำ ใช้สำหรับงานทาผิวพื้นปูนหรือคอนกรีตทั่วไป รวมทั้งอิฐและกระเบื้องแผ่นเรียบ
สีพลาสติกดังกล่าวยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดตามลักษณะการใช้งาน ได้แก่ สีสำหรับทาภายในและสีสำหรับทาภายนอก
สีพลาสติกชนิดทาภายนอกนั้นจะมีคุณสมบัติที่ทนต่อแดด และฝนได้ดีกว่าสีชนิดทาภายใน อีกทั้งสีพลาสติกที่มีจำหน่ายอยู่
ในท้องตลาดมากมายหลายยี่ห้อนั้นยังมีคุณสมบัติและความคงทนของสีที่แตกต่างกันออกไปอีกขึ้นอยู่กับส่วนผสมและปริมาณของเนื้อสี
ที่มีอยู่ ทั้งนี้ระดับราคาก็จะแตกต่างกันออกไปด้วย นอกจากนี้ปัจจุบันยังมีการพัฒนาสีให้มีคุณสมบัติพิเศษต่างๆ ให้เลือกใช้ เช่น สีที่มี
ความยืดหยุ่นตัวสูง เพื่อปกปิดรอยแตกลายงาของผนัง สีที่สามารถเช็ดล้างทำความสะอาดได้ง่าย สีที่สามารถป้องกันเชื้อราและตะไคร่
น้ำ เป็นต้น ซึ่งสีดังกล่าวจะมีราคาที่ค่อนข้างสูง
สีน้ำมัน
สีน้ำมันหรืออาจเรียกอีกสีหนึ่งว่าสีเคลือบเงา (full gloss enamel) เป็นสีน้ำมันที่ผลิตขึ้นจากแอลคิดเรซิน (alkyd resin) ผสมกับแม่สี ใช้น้ำมันหรือทินเนอร์เป็นตัวทำละลายหรือผสมสีให้เจือจาง ใช้สำหรับงานทาไม้และโลหะหรือแม้แต่ทาผิวปูนและ คอนกรีต เพื่อให้เกิดความเงางาม ทำความสะอาดได้ง่าย สีน้ำมันที่มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดมีอยู่มากมายหลายประเภท ผลิตขึ้นเพื่อให้
สามารถนำไปใช้งานประเภทต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง เช่น งานอุตสาหกรรม งานโครงสร้าง รวมทั้งงานซ่อมแซมต่างๆ ซึ่งสีน้ำมันแต่
ละประเภทจะมีคุณสมบัติพิเศษที่แตกต่างกันออกไปตามลักษณะของการใช้งาน เช่น สีบางประเภทอาจจะต้องมีคุณสมบัติที่ทนต่อน้ำ
เค็ม สารเคมี หรือ ความร้อนเป็นต้น แต่สีน้ำมันที่ใช้สำหรับทาบ้านซึ่งส่วนใหญ่มักจะใช้ทาวงกบ ประตู หน้าต่าง หรือบางส่วนที่เป็น
เหล็กนั้นจะเป็นสีน้ำมันชนิดทั่วไป การเลือกใช้สีมักพิจารณาเลือกใช้ตามยี่ห้อของสีเท่านั้น เพราะสีต่างยี่ห้อกันอาจมีคุณสมบัติในด้าน
ความคงทนและราคา ที่แตกต่างกัน
งานทาสีแม้มองเผินๆ จะไม่ใช่ของยาก แต่ถ้าจะทำให้ได้ผลงานที่ดีก็ไม่ใช่ของง่ายเช่นกัน ขั้นตอนการทสีที่ถูกต้องเหมาะสม ก็มีความสำคัญไม่น้อยกว่าตัวสีที่ใช้เลยทีเดียว เพราะมีส่วนอย่างมากที่จะทำให้ผลงานของสีที่ทานั้นมีความสวยงาม เรียบร้อย และ คงทน เริ่มต้นจาการเตรียมพื้นผิวของบริเวณที่จะทำการทาสี เช่น ถ้าเป็นพื้นผิวที่เป็นปูนพื้นผิวจะต้องแห้ง สะอาด ปราศจากคราบไขมัน สีเก่า หรือ เศษปูนฉาบที่หลุดล่อน ถ้าเป็นพื้นผิวที่เป็นเหล็กพื้นผิวจะต้องแห้ง สะอาด ปราศจากสนิม ฝุ่น ไขมัน และวัสดุที่หลุดล่อน เป็นต้น นอกจากนี้ การใช้สีที่มีสภาพใหม่รวมทั้งอุปกรณ์ทาสีที่สะอาดปราศจากสิ่งปนเปื้อนก็จะช่วยให้ได้ผลงานทาสีที่มีคุณภาพดี
การทาสีและการเลือกใช้สี
1. หลังจากการทำความสะอาดพื้นผิวตรงบริเวณที่จะทำการทาสีแล้วก่อนการทาสีจริงหรือสีทับหน้าจะต้องมีการทาสีรองพื้น
ก่อนเสมอ ซึ่งสีรองพื้นดังกล่าว จะต้องเป็นชนิดที่เหมาะสมกับ ชนิดและสภาพของพื้นผิว ที่จะทาด้วยเพื่อให้ผลงาน ที่ได้มี คุณภาพดี และคงทน เพราะสีรองพื้นต่างชนิดกัน จะมีคุณสมบัติในการป้องกันและรักษาที่แตกต่างกัน เช่น ใช้สีรองพื้นปูนใหม่ กันด่างสำหรับพื้นผิวปูน ที่ยังไม่เคยทาสีมาก่อน ใช้สีรองพื้นปูนเก่า สำหรับพื้นผิวปูนเก่า ที่เคยผ่านการทาสี และขูดสีเก่าออกแล้ว ใช้สีรองพื้นแดงกันสนิม
สำหรับงานทาสีพื้นผิวเหล็กทั่วไป และใช้สีรองพื้นไม้กันเชื้อราสำหรับงานทาสีพื้นผิวไม้ เป็นต้น มีอยู่บ่อยครั้งที่มีการทาสีจริง ทับหน้าเลยโดยไม่มีการทาสีรองพื้นก่อน เช่น งานทาสีเหล็กต่างๆ หรือมีการใช้สีรองพื้นผิดประเภท เช่น งานทาสีปูนเก่าและปูนใหม่ ซึ่งอาจจะทำด้วยความจงใจหรือไม่ก็ตาม แต่สิ่งเหล่านี้ จะทำให้ผลงาน ที่ได้มีคุณภาพไม่ดี เท่าที่ควร และมีอายุการใช้งานสั้นลง
2. . การเลือกสีที่ใช้ว่าเป็นสีอะไรนั้นควรจะเลือกตามเบอร์หรือสเป็กของสีที่แต่ละบริษัทผลิตมาจากโรงงาน เพราะแต่ละบริษัท
ผลิตมาจากโรงงาน เพราะแต่ละบริษัทจะผลิตสีต่างๆ ออกมาให้เลือกเป็นจำนวนมากอยู่แล้ว ไม่ควรนำสีต่างๆ มาผสมเอง เพราะการ ผสมสีเองในแต่ละครั้ง อาจเกิดการผิดเพี้ยนได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อต้องมีการผสมสี เพื่อซ่อมสีบางจุดใน ภายหลัง อาจเกิด การผิดเพี้ยนได้มาก อีกประการหนึ่งการนำสีต่างๆ มาผสมกันเองอาจเป็น สาเหตุที่ทำให้มีการนำเอาสีเก่า หรือสีที่ด้อยคุณภาพ มาผสมลงไปได้โดยง่าย ซึ่งทำการตรวจสอบได้ยาก ทำให้สีที่ได้ด้อยคุณภาพลงอีกด้วย
3. สีที่นำมาใช้ควรจะเป็นสีใหม่หรืออยู่ในสภาพที่ดี มีเนื้อสีสม่ำเสมอเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่มีลักษณะของการปนเปื้อนหรือจับตัว
เป็นก้อน กระป๋องที่บรรจุสีจะต้องอยู่ในสภาพดี มีฝาปิดสนิท มีการระบุเบอร์ของสีที่ชัดเจน ไม่อยู่ในสภาพบุบเบี้ยวหรือหรือเต็มไปด้วยสนิม ซึ่งทำให้ไม่สามาถเก็บรักษาสีให้อยู่ในสภาพที่ดีได้
4. สำหรับบางคนอาจจะเลือกใช้กระดาษปิดผนัง (wallpaper) แทนการทาสีในบางส่วนเพื่อเพิ่มความหรูหราสวยงามให้แก่
ตัวบ้าน เนื่องจากการใช้กระดาษปิดผนัง จะต้องใช้กาวเป็นตัวติดประสาน จึงมีข้อควรระวังปัญหา เรื่องน้ำ โดยเฉพาะผนังด้าน ที่มีหน้าต่างหรือช่องกระจก ควรระวังเรื่องการรั่วซึมของน้ำฝน เพราะหากมีน้ำรั่วซึมออกมาแล้ว จะทำให้กระดาษปิดผนัง เป็นรอยด่าง ขึ้นราและหลุดออกได้ง่าย ฉะนั้นการเลือกใช้กระดาษปิดผนัง แทนการทาสี จึงควรพิจารณาถึง สิ่งเหล่านี้ด้วย เพื่อหาทางป้องกันเอาไว้
อาคารบ้านเรือนหลายหลังที่พบว่ามีอาการวิบัติของสีที่ใช้ในการทาบ้าน หรือที่ภาษาชาวบ้านเขามักจะเรียกว่า “สีลอก สีร่อน” จริง ๆ แล้วอาการที่ว่าก็เกิดจากสาเหตุไม่กี่อย่าง แต่พอจะมีวิธีป้องกัน และแก้ไขเสียก่อน ตั้งแต่กระบวนการก่อสร้าง หลักการข้อแรกคือ ต้องพึงนึกอยู่เสมอว่า สีกับความชื้นจะไม่ถูกกัน ฉะนั้นถ้ามีสิ่งที่ก่อให้เกิดความชื้น ก็ไม่ควรที่จะลงมือทำอะไรที่เกี่ยวกับสีครับ เช่น ในกรณีหน้าฝนที่มีฝนตกลงมาเช่นนี้ ก็ไม่ควรที่จะให้ช่างสีลงมือทาสีเลยทันที โดยเฉพาะผนังภายนอก หลังจากฝนตกแล้วควรทิ้งไว้สัก 2-3 วันหรือมากกว่านั้นได้ยิ่งดี เพื่อให้ความชื้นในผนังหมดไปเสียก่อน จึงได้ฤกษ์ลงมือทาสีกันได แต่ถ้าการก่อสร้างของท่าน เร่งด่วนจริง ๆ ก็มีสีรองพื้นปูนใหม่ประเภทที่ฉาบเสร็จ 1 วันทาได้เลยครับ เป็นสีผสมผงปูนอย่างหนึ่ง สีชนิดนี้จะทาประมาณ 2-3 รอบ ลักษณะการทาจะเหมือนกับการฉาบปูน (ปูนกาว) บาง ๆ ทับปูนฉาบไปอีกชั้นหนึ่ง แต่หากเป็นสีปกติธรรมดาจะลงมือทาสีได้ หลังจากฉาบและทิ้งไว้ ๑๔ - ๒๘ วันเป็นอย่างน้อย เพื่อให้ปูนทำปฏิกิริยาให้เสร็จเสียก่อน จึงจะทาสีได้ ไม่เช่นนั้นสีก็จะเป็นขุย หรือจะลอก ซีดได้
ปัญหาอีกอย่างที่พบเห็นกันอยู่ทั่วไปคือ รอยร้าวเล็ก ๆ ที่ผนังซึ่งก็เป็นอุปสรรคต่อการทาสีได้เช่นกัน รอยร้าวเหล่านี้ส่วนใหญ่ เกิดจากการที่ไม่ได้ทำเอ็นรอบวงกบ และต่อเอ็นไปเชื่อมส่วนโครงสร้างหลักหรือไม่ได้ ติดลวดตะแกรงที่มุมวงกบ หรืออาจเกิดจาก ฝีมือของช่างฉาบเอง เช่น ฉาบปูนแล้วไม่ได้บ่มน้ำ หรืออาจจะเป็นเพราะว่า ใช้ฟองน้ำฉาบไล้ผิวแบบผิดวิธี
ถ้าเป็นรอยแคร๊กเล็กๆ ทั้งหลายสามารถ "โป๊ว" ปิดรอยแตก หรือ อาจจะด้วยเนื้อสีเอง โดยการใช้แปรงสีทาปาด ให้เนื้อสีมีความหนา ปิดรอยแตก โดยให้ทาเน้นๆ รอจนกว่าสีจะแห้ง จากนั้นไล่ลูกกลิ้งแบบทาสีทั่วไป แต่มักจะมีปัญหาตามมาทีหลัง ถ้าแตกเป็น รอยใหญ่ ก็ใช้ปูนยิปซัม (ปูนพลาสเตอร์) อุดเข้าไป แต่ถ้าใหญ่มาก็ ควรสกัดเป็นแนวแล้วฉาบแก้เข้าไปใหม่แต่วิธีนี้ก็ยังเป็นวิธีที่ไม่ดีเท่าไรนัก เนื่องจากเนื้อปูนที่ฉาบเข้าไปใหม่นั้นไม่ได้เป็นเนื้อเดียวกันกับปูนเก่า จึงมีโอกาสหลุดออกมาเป็นแนว เมื่อตึกมันเก่า ถ้ามีงบประมาณพอก็ควร สกัดทั้งผืนแล้วฉาบใหม่อีกที แล้วจึงลงมือทาสี ข้อสำคัญผนังที่จะทาสีนั้นต้องสะอาด แห้ง ไม่มีความชื้น พื้นที่จะทานั้นแห้งนิดไม่มีสภาพเป็นกรดด่าง หรือมีฝุ่นเกาะควรเป็นผนังที่ฉาบเรียบ ไม่มีรอยแตกให้เห็น และข้อสำคัญที่สุด จะประหยัดอะไร ก็ประหยัดได้แต่อย่าไปประหยัดสีรองพื้น หรือที่ช่างมักเรียกว่า ไพร์มเมอร์ เป็นอันขาด เพราะสีรองพื้น จะทำหน้าที่ทั้งในการยึดเหนียวสีที่ทากับผนัง และยังช่วยไล่ความชื้นจากผนังไม่ให้เข้าไปทำลายสีไม่ให้เกิดการหลุดล่อน
1. สีรองพื้น ( Primer ) หมายถึงสีชั้นแรกสุด ที่เคลือบติดวัสดุนั้นๆ เช่น สีรองพื้นกันสนิมมีหน้าที่กันไม่ให้เกิดสนิมเหล็ก หรือเกิดช้าที่สุด สีรองพื้นปูนใหม่กันด่าง คือ สีที่กันความเป็นด่างจากพื้นปูนใหม่ เพื่อไม่ให้เกิดความเป็นด่างจากเนื้อปูน ทำปฏิกิริยากับสีทาทับหน้า ลดจำนวนสีทับหน้า วิธีนี้สามารถลดจำนวนสีทับหน้าลงได้
2. สีชั้นกลาง ( Undercoat ) เป็นสีชั้นที่สองรองจากสีรองพื้น เป็นสีที่เป็นตัวประสานระหว่างสีรองพื้นกับสีทับหน้า เป็นตัวเพิ่มความหนาของฟิล์มสี และลดการใช้สีทับหน้า
3. สีทับหน้า ( Top Coat ) เป็นสีขั้นสุดท้ายที่จะให้คุณสมบัติที่สวยงาม คงทน เงางาม มีสีมากมายให้เลือกใช้ตรงตามวัตถุประสงค์ เช่น สีขาว เหลือง แดง ขึ้นอยู่กับรสนิยมและความพอใจ
4. สีทับหน้าประเภทใส ( Clear T/C ) เป็นสีที่ไม่มี Pigment จะไม่มีสีเป็นสีใสๆ หรือเหลืองอ่อน ใช้เคลือบบนวัสดุต่างๆ ให้เงามากขึ้น หรือด้าน หรือกึ่งเงากึ่งด้าน
การจำแนกวัตถุประสงค์ของสีกับการใช้งาน
สีเป็นวัสดุเคลือบผิวชนิดหนึ่ง ซึ่งผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ต่างๆ แล้วสรุปจำแนกสีนำไปใช้งานได้อย่างคร่าวๆ เพื่อให้ีความเข้าใจ แบบกว้างๆเกี่ยวกับการแยกลักษณะการใช้งานของสีชนิดต่างๆดังนี้
1. สีทาซีเมนต์ / คอนกรีต เช่น บ้าน อาคาร ตึก คอนโด อาพาร์ทเมนต์ ที่ใช้ปูนซีเมนต์ เป็นหลัก ควรใช้สีน้ำหรือสีน้ำ Emulsion เคลือบทับพื้นผิว ดูระบบด้วย
2. สีทาไม้ – ทาเหล็ก เช่น บ้านไม้ เรือไม้ เรือเหล็กขนาดเล็ก ชิ้นงานเหล็กต่างๆ ควรใช้สีเคลือบเงาทาดูระบบด้วย
3. สีทาถนน ถนนคอนกรีต ถนนลาดยาง ควรใช้สีทาถนนโดยเฉพาะ
4. สีอบ เป็นสีที่ใช้ความร้อน อบชิ้นงาน เช่น ตู้เอกสาร แผ่นโลหะเคลือบต่างๆ
5. สีอบ ประเภท UV Cure เป็นสีหรือกึ่งหมึกพิมพ์ ใช้กับถุงอาหาร จะผ่านแสง UV และจะแห้งทันที เช่น ถุงอาหาร ดินสอ
6. สีทนความร้อน เป็นสีที่ใช้กับงานต่างๆ ที่ต้องการทนความร้อน เช่น ปล่องไฟ ปล่องควัน ท่อไอเสีย
7. สีใช้เป็นสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น ทาท่อน้ำ ปล่องไฟ ท่อก๊าซ ทาขอบถนนบอกเป็นห้ามจอด ขอบทาง
8. สีใช้งานเฉพาะ เช่น สีพ่น Acrylic ประตู Alloy สีกันเพรียง สีทาเรือรบ สีพ่นรถยนต์ สีพรางรถถัง สีพ่นตู้เอกสาร สีพ่นเครื่องดับเพลิง ฯลฯ จะมีระบุเฉพาะ
แนวคิดในการเลือกใช้สี
สีในท้องตลาดมีมากมายหลายชนิด แบ่งแยกตามจุดประสงค์การใช้งาน แนวคิดกว้างๆ ในการเลือกใช้สี ต้องเลือกใช้สี ที่เหมาะสม กับจุดประสงค์ การใช้งาน เพื่อประโยชน์สูงสุด ที่ได้รับ การเลือกสีสำหรับอาคารนั้น ต้องเลือกให้ตรงตาม วัตถุประสงค์ที่ใช้ โดยแยกตาม ประโยชน์และหน้าที่ เฉพาะของสีโดยมี รายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ทาสีเพื่อปกป้องพื้นผิว การทีสีนั้นนอกจากทำเพื่อความเรียบร้อยสวยงามแล้วยังช่วยปกป้องและป้องกันความเสียหายอันเกิดกับพื้นผิวของวัสดุต่างๆ ของอาคารจากการกัดกร่อนของธรรมชาติ ได้แก่ แสงแดด ฝน สภาวะอากาศ รวมถึงทั้งสารเคมี และการสัมผัส เช็ด ถู ขูดขีด เป็นต้น
2. เพื่อสุขลักษณะและความสะอาด การทาสีที่ผ่านการเลือกใช้อย่างดี ถูกต้องตามลักษณะการใช้สอยของพื้นที่ในส่วนต่าง ๆ แล้ว จะช่วยทำให้ผิวหน้าของพื้นผิวเมื่อมีการใช้งานจะทำความสะอาดได้ง่ายไม่ดูดซึมน้ำและสารละลายต่างๆ ได้ เช่น ครัว ควรใช้สีที่ทำความสะอาดง่ายเช่นสีน้ำมัน หรือ สีAcrylic อย่างดี, ห้อง LAB หรือห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ ควรใช้สีที่มีความทนทานต่อสารเคมี และห้องน้ำ ควรใช้สีที่ทนต่อน้ำและความชื้นได้ดี ทำความสะอาดง่าย เป็นต้น
3. เพื่อปรับความเข้มของแสง บรรดาเฉดสีต่างๆ นอกจากจะมีผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้อยู่อาศัย เช่น ทำให้ดูโล่งกว้าง ดูหนักแน่น หรือดูเร้าใจ เป็นต้นแล้วก็ยังจะมีส่วนช่วยในการปรับ ความเข้ม จาง ของแสงจากแสงแดดและแสงไฟฟ้า เฉดของสีมีส่วนช่วยเพิ่มหรือลดความเข้มของแสงในอาคารได้ เช่น ในห้องอ่านหนังสือที่ต้องการแสงสว่างมาก ๆ ก็ควรใช้เฉดสีสว่าง เช่น สีขาว ในขณะที่ห้องชมภาพยนตร์ ควรจะเลือกใช้เฉดสีที่มืด ไม่รบกวนการชมภาพยนตร์ เป็นต้น ในห้องที่แสงไม่พอ ก็สามารถ ใช้เฉดสีสว่างเข้ามาช่วยทำให้แสงภายในห้องดีขึ้นได้ส่วนหนึ่ง
4. สัญลักษณ์เครื่องหมาย บางครั้งก็มีการใช้สีสื่อความหมาย เป็นเครื่องหมายสัญลักษณ์ ในรูปกราฟฟิก สีบางชนิด จะมีการสื่อ ความหมาย เป็นแบบมาตรฐานสากลได้ เช่น ป้ายจราจร สัญลักษณ์ ระวังอันตรายต่างๆ เป็นต้น
5. ความสวยงาม ประการสุดท้ายซึ่งเป็นประการสำคัญในการเลือกใช้สี คือเรื่องของความสวยงามความพอใจ ซึ่งเป็นผลโดยตรง และเห็นได้ชัดเจนที่สุด สำหรับงาน ทางสถาปัตยกรรม อาคารบ้านเรือนต่างๆ การเลือกชนิดของสี และ เฉดสีอาจช่วยเน้น ให้แนวความคิดใน การออกแบบแสดงออกมา ได้ดียิ่งขึ้น
การเลือกใช้สีนั้น อันดับแรก ต้องพิจาณา ถึงความต้องการใช้สอยในพื้นที่ที่จะทาเสียก่อน ว่ามีการใช้งานมากน้อย หนักเบาอย่างไรบ้าง ดูว่าพื้นที่นั้น ๆ มีความต้องการพิเศษ หรือไม่อย่างไร สุดท้ายจึงคำนึงถึงความชอบ ความสวยงาม
ชนิดและประเภทของสีเพื่อการใช้งาน
สีชนิดทาภายนอกอาคาร คือ สีที่จะทาในส่วนภายนอกอาคารทั้งหมด ที่มีการระบุให้ทาสี รวมทั้งพื้นผิวส่วนที่เปิดสู่ภายนอก หรือ พื้นผิวส่วนที่จะได้รับแสงแดดโดยตรงจากภายนอกได้ ให้ทาด้วยสีประเภทอาคิลิค (Pure Acrylic Paint )โดยทำการทา 3 เที่ยว ในการทาสีทุกชนิดโดยเฉพาะสีทาภายนอกนั้น ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดคือการเตรียมพื้นผิวสำหรับการทาสีนั่นเอง เพราะกว่า 80 % ของ การวิบัติของสี เกิดมาจาก การเตรียมพื้นผิวไม่ดี ก่อนการทาสีนั้น ต้องให้แน่ใจว่า พื้นที่จะทานั้น แห้งสนิท ไม่มีสภาพ เป็นกรดด่าง หรือมีฝุ่นเกาะ ควรเป็น ผนังที่ฉาบเรียบ ไม่มีรอยแตกให้เห็น หากมีต้องทำ การโป๊วปิดรอยต่อ เสียให้เรียบร้อย ก่อน การทาสี โดยปรกติ การทาสีทุกประเภทจะทาประมาณ 2 – 3 รอบและ ไม่ควร ทาสีเกิน 5 รอบ เพราะจะทำให้ชั้นของสี มีความหนาเกินไป และหลุดร่อนได้ง่าย
สีน้ำพลาสติกทาภายใน คือ สีที่จะทา ส่วนภายในอาคาร เช่น ผนังฉาบปูนพื้นผิว ยิปซั่มบอร์ด กระแผ่นเรียบ หรือส่วนอื่นๆ ที่ระบุให้ทา ด้วยสีพลาสติก ( ทา 2-3 เที่ยว ) ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะนำสีภายในใช้ทาผนังภายนอก เนื่องจากสีภายใน ไม่ทนแดดทนฝน ทำให้สี หลุดร่อนได้ง่าย ที่คิดว่ามีราคาถูกกว่าสีทาภายนอกตั้งแต่แรกก็จะกลายเป็นแพงกว่าขึ้นมาทันที แถมยังเสียเวลา เสียความรู้สึก อีกด้วย เวลาสีหลุดล่อนแตกลายงา ส่วนในผนังที่จะทาสีน้ำมันต้องสะอาด แห้ง และสิ่งที่สำคัญมากคือ ต้องไม่มีความชื้นเพราะ ความชื้นที่มีอยู่ ภายใน หากทาสีแล้วชั้น ของสีน้ำมันจะทับทำให้ระบายอากาศไม่ได้และจะทำให้เนื้อสีพอง บวม ออกมาได้ชัดเจน มากกว่าสีน้ำ หรือ สีอาคิลิค (Acrylic) สีในแต่ละส่วนของบ้าน ไม่ว่าจะเป็นภายนอก ภายใน หรือส่วนอื่นของบ้านย่อมมี รายละเอียดของสี ที่ทาแตกต่างกัน
การทาสี
คงจะมีอยู่น้อยคนนักที่ยังไม่เคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง และก็ยังคงมีอยู่น้อยคนเช่นกันที่จะปฏิเสธ
คำกล่าวข้างต้นว่าไม่เป็นความจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสุภาพสตรีทั้งหลาย ซึ่งส่วนใหญ่จะพบว่าการแต่งหน้าหรือแต่งตัวเป็นส่วนหนึ่ง
ของกิจวัตรประจำวันที่ขาดเสียไม่ได้ และถ้าจะเพิ่มเติมคำกล่าวข้างต้นเสียหน่อยว่า ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง บ้านสวยเพราะ
สีดี ก็ไม่น่าจะผิดความเป็นจริงแต่ประการใด เพราะบ้านที่มีสีสันสวยงามดูใหม่สะอาดตา ย่อมมีส่วนช่วยให้บ้านหลังนั้นดูเด่นเป็นสง่า
น่าอยู่อาศัย เป็นที่ประทับใจแก่ผู้อยู่อาศัยและผู้พบเห็น และการที่จะให้ได้มาซึ่งสิ่งเหล่านี้ย่อมขึ้นอยู่กับการเลือกใช้สีที่เหมาะสม การใช้
สีที่มีคุณภาพ ตลอดจนขั้นตอนในการทาสีที่เป็นไปอย่างถูกต้อง เพราะการใช้สีชนิดที่เหมาะสม มีคุณภาพ และมีขั้นตอนการทาสีที่ถูก
ต้องจะช่วยให้บ้านมีความสวยงามและสวยทนนาน
ประเภทของสีทาบ้าน
สีที่มีจำหน่ายทั่วไปตามท้องตลาดมีอยู่มากมายหลายชนิด ยิ่งถ้าจะแบ่งแยกกันอย่างละเอียดรวมถึงน้ำมันเคลือบผิวต่างๆ ด้วยแล้ว
ก็มีนับร้อยชนิดเลยทีเดียว แต่ละชนิดจะมีองค์ประกอบของเนื้อสีและคุณสมบัติที่ต่างกัน อีกทั้งวัตถุประสงค์และประเภทของการใช้งาน
ก็แตกต่างกันออกไป ซึ่งถ้าจะนำมากล่าวถึงทั้งหมดก็คงจะเป็นรายละเอียดที่เกินความจำเป็น ในที่นี้ผู้เขียนจึงจะกล่าวถึง สีเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับ งานทาสีบ้านเท่านั้น สีที่ใช้ในการทาบ้านที่นิยมใช้กันทั่วไปอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ตามวัสดุที่ใช้ทำสี และลักษณะ ของการใช้งาน อันได้แต่สีพลาสติก และสีน้ำมันดังนี้
สีพลาสติก
สีพลาสติกหรือที่เรียกกันคุ้นหูอีกชื่อหนึ่งว่าสีอะคริลิก (acrylic emulsion paint) เป็นสีพลาสติกที่ผลิตขึ้นจากลาเท็กซ์ พีวีเอซี โคพอลิเมอร์ (latex PVAc copolymer) ผสมกับแม่สี เป็นสีที่สามารถใช้น้ำเป็นตัวทำละลายหรือผสมสีให้เจือจาง แต่เมื่อสี
แห้งได้ที่แล้วจะไม่ละลายน้ำหรือหลุดลอกไปตามน้ำ ใช้สำหรับงานทาผิวพื้นปูนหรือคอนกรีตทั่วไป รวมทั้งอิฐและกระเบื้องแผ่นเรียบ
สีพลาสติกดังกล่าวยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดตามลักษณะการใช้งาน ได้แก่ สีสำหรับทาภายในและสีสำหรับทาภายนอก
สีพลาสติกชนิดทาภายนอกนั้นจะมีคุณสมบัติที่ทนต่อแดด และฝนได้ดีกว่าสีชนิดทาภายใน อีกทั้งสีพลาสติกที่มีจำหน่ายอยู่
ในท้องตลาดมากมายหลายยี่ห้อนั้นยังมีคุณสมบัติและความคงทนของสีที่แตกต่างกันออกไปอีกขึ้นอยู่กับส่วนผสมและปริมาณของเนื้อสี
ที่มีอยู่ ทั้งนี้ระดับราคาก็จะแตกต่างกันออกไปด้วย นอกจากนี้ปัจจุบันยังมีการพัฒนาสีให้มีคุณสมบัติพิเศษต่างๆ ให้เลือกใช้ เช่น สีที่มี
ความยืดหยุ่นตัวสูง เพื่อปกปิดรอยแตกลายงาของผนัง สีที่สามารถเช็ดล้างทำความสะอาดได้ง่าย สีที่สามารถป้องกันเชื้อราและตะไคร่
น้ำ เป็นต้น ซึ่งสีดังกล่าวจะมีราคาที่ค่อนข้างสูง
สีน้ำมัน
สีน้ำมันหรืออาจเรียกอีกสีหนึ่งว่าสีเคลือบเงา (full gloss enamel) เป็นสีน้ำมันที่ผลิตขึ้นจากแอลคิดเรซิน (alkyd resin) ผสมกับแม่สี ใช้น้ำมันหรือทินเนอร์เป็นตัวทำละลายหรือผสมสีให้เจือจาง ใช้สำหรับงานทาไม้และโลหะหรือแม้แต่ทาผิวปูนและ คอนกรีต เพื่อให้เกิดความเงางาม ทำความสะอาดได้ง่าย สีน้ำมันที่มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดมีอยู่มากมายหลายประเภท ผลิตขึ้นเพื่อให้
สามารถนำไปใช้งานประเภทต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง เช่น งานอุตสาหกรรม งานโครงสร้าง รวมทั้งงานซ่อมแซมต่างๆ ซึ่งสีน้ำมันแต่
ละประเภทจะมีคุณสมบัติพิเศษที่แตกต่างกันออกไปตามลักษณะของการใช้งาน เช่น สีบางประเภทอาจจะต้องมีคุณสมบัติที่ทนต่อน้ำ
เค็ม สารเคมี หรือ ความร้อนเป็นต้น แต่สีน้ำมันที่ใช้สำหรับทาบ้านซึ่งส่วนใหญ่มักจะใช้ทาวงกบ ประตู หน้าต่าง หรือบางส่วนที่เป็น
เหล็กนั้นจะเป็นสีน้ำมันชนิดทั่วไป การเลือกใช้สีมักพิจารณาเลือกใช้ตามยี่ห้อของสีเท่านั้น เพราะสีต่างยี่ห้อกันอาจมีคุณสมบัติในด้าน
ความคงทนและราคา ที่แตกต่างกัน
งานทาสีแม้มองเผินๆ จะไม่ใช่ของยาก แต่ถ้าจะทำให้ได้ผลงานที่ดีก็ไม่ใช่ของง่ายเช่นกัน ขั้นตอนการทสีที่ถูกต้องเหมาะสม ก็มีความสำคัญไม่น้อยกว่าตัวสีที่ใช้เลยทีเดียว เพราะมีส่วนอย่างมากที่จะทำให้ผลงานของสีที่ทานั้นมีความสวยงาม เรียบร้อย และ คงทน เริ่มต้นจาการเตรียมพื้นผิวของบริเวณที่จะทำการทาสี เช่น ถ้าเป็นพื้นผิวที่เป็นปูนพื้นผิวจะต้องแห้ง สะอาด ปราศจากคราบไขมัน สีเก่า หรือ เศษปูนฉาบที่หลุดล่อน ถ้าเป็นพื้นผิวที่เป็นเหล็กพื้นผิวจะต้องแห้ง สะอาด ปราศจากสนิม ฝุ่น ไขมัน และวัสดุที่หลุดล่อน เป็นต้น นอกจากนี้ การใช้สีที่มีสภาพใหม่รวมทั้งอุปกรณ์ทาสีที่สะอาดปราศจากสิ่งปนเปื้อนก็จะช่วยให้ได้ผลงานทาสีที่มีคุณภาพดี
การทาสีและการเลือกใช้สี
1. หลังจากการทำความสะอาดพื้นผิวตรงบริเวณที่จะทำการทาสีแล้วก่อนการทาสีจริงหรือสีทับหน้าจะต้องมีการทาสีรองพื้น
ก่อนเสมอ ซึ่งสีรองพื้นดังกล่าว จะต้องเป็นชนิดที่เหมาะสมกับ ชนิดและสภาพของพื้นผิว ที่จะทาด้วยเพื่อให้ผลงาน ที่ได้มี คุณภาพดี และคงทน เพราะสีรองพื้นต่างชนิดกัน จะมีคุณสมบัติในการป้องกันและรักษาที่แตกต่างกัน เช่น ใช้สีรองพื้นปูนใหม่ กันด่างสำหรับพื้นผิวปูน ที่ยังไม่เคยทาสีมาก่อน ใช้สีรองพื้นปูนเก่า สำหรับพื้นผิวปูนเก่า ที่เคยผ่านการทาสี และขูดสีเก่าออกแล้ว ใช้สีรองพื้นแดงกันสนิม
สำหรับงานทาสีพื้นผิวเหล็กทั่วไป และใช้สีรองพื้นไม้กันเชื้อราสำหรับงานทาสีพื้นผิวไม้ เป็นต้น มีอยู่บ่อยครั้งที่มีการทาสีจริง ทับหน้าเลยโดยไม่มีการทาสีรองพื้นก่อน เช่น งานทาสีเหล็กต่างๆ หรือมีการใช้สีรองพื้นผิดประเภท เช่น งานทาสีปูนเก่าและปูนใหม่ ซึ่งอาจจะทำด้วยความจงใจหรือไม่ก็ตาม แต่สิ่งเหล่านี้ จะทำให้ผลงาน ที่ได้มีคุณภาพไม่ดี เท่าที่ควร และมีอายุการใช้งานสั้นลง
2. . การเลือกสีที่ใช้ว่าเป็นสีอะไรนั้นควรจะเลือกตามเบอร์หรือสเป็กของสีที่แต่ละบริษัทผลิตมาจากโรงงาน เพราะแต่ละบริษัท
ผลิตมาจากโรงงาน เพราะแต่ละบริษัทจะผลิตสีต่างๆ ออกมาให้เลือกเป็นจำนวนมากอยู่แล้ว ไม่ควรนำสีต่างๆ มาผสมเอง เพราะการ ผสมสีเองในแต่ละครั้ง อาจเกิดการผิดเพี้ยนได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อต้องมีการผสมสี เพื่อซ่อมสีบางจุดใน ภายหลัง อาจเกิด การผิดเพี้ยนได้มาก อีกประการหนึ่งการนำสีต่างๆ มาผสมกันเองอาจเป็น สาเหตุที่ทำให้มีการนำเอาสีเก่า หรือสีที่ด้อยคุณภาพ มาผสมลงไปได้โดยง่าย ซึ่งทำการตรวจสอบได้ยาก ทำให้สีที่ได้ด้อยคุณภาพลงอีกด้วย
3. สีที่นำมาใช้ควรจะเป็นสีใหม่หรืออยู่ในสภาพที่ดี มีเนื้อสีสม่ำเสมอเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่มีลักษณะของการปนเปื้อนหรือจับตัว
เป็นก้อน กระป๋องที่บรรจุสีจะต้องอยู่ในสภาพดี มีฝาปิดสนิท มีการระบุเบอร์ของสีที่ชัดเจน ไม่อยู่ในสภาพบุบเบี้ยวหรือหรือเต็มไปด้วยสนิม ซึ่งทำให้ไม่สามาถเก็บรักษาสีให้อยู่ในสภาพที่ดีได้
4. สำหรับบางคนอาจจะเลือกใช้กระดาษปิดผนัง (wallpaper) แทนการทาสีในบางส่วนเพื่อเพิ่มความหรูหราสวยงามให้แก่
ตัวบ้าน เนื่องจากการใช้กระดาษปิดผนัง จะต้องใช้กาวเป็นตัวติดประสาน จึงมีข้อควรระวังปัญหา เรื่องน้ำ โดยเฉพาะผนังด้าน ที่มีหน้าต่างหรือช่องกระจก ควรระวังเรื่องการรั่วซึมของน้ำฝน เพราะหากมีน้ำรั่วซึมออกมาแล้ว จะทำให้กระดาษปิดผนัง เป็นรอยด่าง ขึ้นราและหลุดออกได้ง่าย ฉะนั้นการเลือกใช้กระดาษปิดผนัง แทนการทาสี จึงควรพิจารณาถึง สิ่งเหล่านี้ด้วย เพื่อหาทางป้องกันเอาไว้
อาคารบ้านเรือนหลายหลังที่พบว่ามีอาการวิบัติของสีที่ใช้ในการทาบ้าน หรือที่ภาษาชาวบ้านเขามักจะเรียกว่า “สีลอก สีร่อน” จริง ๆ แล้วอาการที่ว่าก็เกิดจากสาเหตุไม่กี่อย่าง แต่พอจะมีวิธีป้องกัน และแก้ไขเสียก่อน ตั้งแต่กระบวนการก่อสร้าง หลักการข้อแรกคือ ต้องพึงนึกอยู่เสมอว่า สีกับความชื้นจะไม่ถูกกัน ฉะนั้นถ้ามีสิ่งที่ก่อให้เกิดความชื้น ก็ไม่ควรที่จะลงมือทำอะไรที่เกี่ยวกับสีครับ เช่น ในกรณีหน้าฝนที่มีฝนตกลงมาเช่นนี้ ก็ไม่ควรที่จะให้ช่างสีลงมือทาสีเลยทันที โดยเฉพาะผนังภายนอก หลังจากฝนตกแล้วควรทิ้งไว้สัก 2-3 วันหรือมากกว่านั้นได้ยิ่งดี เพื่อให้ความชื้นในผนังหมดไปเสียก่อน จึงได้ฤกษ์ลงมือทาสีกันได แต่ถ้าการก่อสร้างของท่าน เร่งด่วนจริง ๆ ก็มีสีรองพื้นปูนใหม่ประเภทที่ฉาบเสร็จ 1 วันทาได้เลยครับ เป็นสีผสมผงปูนอย่างหนึ่ง สีชนิดนี้จะทาประมาณ 2-3 รอบ ลักษณะการทาจะเหมือนกับการฉาบปูน (ปูนกาว) บาง ๆ ทับปูนฉาบไปอีกชั้นหนึ่ง แต่หากเป็นสีปกติธรรมดาจะลงมือทาสีได้ หลังจากฉาบและทิ้งไว้ ๑๔ - ๒๘ วันเป็นอย่างน้อย เพื่อให้ปูนทำปฏิกิริยาให้เสร็จเสียก่อน จึงจะทาสีได้ ไม่เช่นนั้นสีก็จะเป็นขุย หรือจะลอก ซีดได้
ปัญหาอีกอย่างที่พบเห็นกันอยู่ทั่วไปคือ รอยร้าวเล็ก ๆ ที่ผนังซึ่งก็เป็นอุปสรรคต่อการทาสีได้เช่นกัน รอยร้าวเหล่านี้ส่วนใหญ่ เกิดจากการที่ไม่ได้ทำเอ็นรอบวงกบ และต่อเอ็นไปเชื่อมส่วนโครงสร้างหลักหรือไม่ได้ ติดลวดตะแกรงที่มุมวงกบ หรืออาจเกิดจาก ฝีมือของช่างฉาบเอง เช่น ฉาบปูนแล้วไม่ได้บ่มน้ำ หรืออาจจะเป็นเพราะว่า ใช้ฟองน้ำฉาบไล้ผิวแบบผิดวิธี
ถ้าเป็นรอยแคร๊กเล็กๆ ทั้งหลายสามารถ "โป๊ว" ปิดรอยแตก หรือ อาจจะด้วยเนื้อสีเอง โดยการใช้แปรงสีทาปาด ให้เนื้อสีมีความหนา ปิดรอยแตก โดยให้ทาเน้นๆ รอจนกว่าสีจะแห้ง จากนั้นไล่ลูกกลิ้งแบบทาสีทั่วไป แต่มักจะมีปัญหาตามมาทีหลัง ถ้าแตกเป็น รอยใหญ่ ก็ใช้ปูนยิปซัม (ปูนพลาสเตอร์) อุดเข้าไป แต่ถ้าใหญ่มาก็ ควรสกัดเป็นแนวแล้วฉาบแก้เข้าไปใหม่แต่วิธีนี้ก็ยังเป็นวิธีที่ไม่ดีเท่าไรนัก เนื่องจากเนื้อปูนที่ฉาบเข้าไปใหม่นั้นไม่ได้เป็นเนื้อเดียวกันกับปูนเก่า จึงมีโอกาสหลุดออกมาเป็นแนว เมื่อตึกมันเก่า ถ้ามีงบประมาณพอก็ควร สกัดทั้งผืนแล้วฉาบใหม่อีกที แล้วจึงลงมือทาสี ข้อสำคัญผนังที่จะทาสีนั้นต้องสะอาด แห้ง ไม่มีความชื้น พื้นที่จะทานั้นแห้งนิดไม่มีสภาพเป็นกรดด่าง หรือมีฝุ่นเกาะควรเป็นผนังที่ฉาบเรียบ ไม่มีรอยแตกให้เห็น และข้อสำคัญที่สุด จะประหยัดอะไร ก็ประหยัดได้แต่อย่าไปประหยัดสีรองพื้น หรือที่ช่างมักเรียกว่า ไพร์มเมอร์ เป็นอันขาด เพราะสีรองพื้น จะทำหน้าที่ทั้งในการยึดเหนียวสีที่ทากับผนัง และยังช่วยไล่ความชื้นจากผนังไม่ให้เข้าไปทำลายสีไม่ให้เกิดการหลุดล่อน
ป้ายกำกับ:
สี.ประเภทสี
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)