น้ำหนักบรรทุกจร (Live Load : LL)

น้ำหนักบรรทุกจร (Live Load : LL) หมายถึง น้ำหนักบรรทุกที่เป็นลักษณะมีการเคลื่อนย้าย เคลื่อนที่ หรือมีการเปลี่ยนแปลงขนาดน้ำหนักอยู่ตลอดเวลา หรืออยู่ชั่วคราว เช่น รถยนต์ หิมะ แรงลม ผู้คนที่ใช้อาคาร วัสดุอุปกรณ์สำนักงาน เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาเราจะสามารถสังเกตุได้ว่า แรงกระทำเหล่านี้จะเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว และเมื่อมีการเคลื่อนย้ายออกไป ก็จะไม่มีแรงกระทำคงค้าง ซึ่งตามข้อกำหนดของพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 หรือข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยเรื่องควบคุมอาคาร พ.ศ. 2544 ได้กำหนดค่าน้ำหนักบรรทุกจรขั้นต่ำเพื่อใช้ควบคุมการออกแบบไว้ดังตารางต่อไปนี้


ประเภทการใช้อาคาร
น้ำหนักบรรทุกจรขั้นต่ำ (กก.ตร.ม.)
1. หลังคา
50
2. พื้นกันสาดหรือพื้นหลังคาคอนกรีต
100
3. ที่พักอาศัย โรงเรียนอนุบาล ห้องน้ำ-ห้องส้วม
150
4. ห้องแถว ตึกแถว อาคารชุด หอพัก โรงแรม
200
5. สำนักงาน ธนาคาร
250
6. อาคารพาณิชย์ มหาวิทยาลัย วิทยาลัย โรงเรียน
300
7. ห้องโถง บันไดและช่องทางเดินของอาคารชุด หอพัก โรงแรม โรงพยาบาล สำนักงาน ธนาคาร
300
8. ตลาด ห้างสรรพสินค้า หอประชุม โรงมหรสพ ภัตตาคาร ห้องประชุม ห้องอ่านหนังสือในหอสมุด ที่จอดรถ/เก็บรถยนต์นั่ง
400
9. ห้องโถง บันไดและช่องทางเดินของอาคารพาณิชย์ มหาวิทยาลัย วิทยาลัย โรงเรียน
400
10. คลังสินค้า โรงกีฬา พิพิธภัณฑ์ อัฒจันทร์ โรงพิมพ์ โรงงานอุตสาหกรรม ห้องเก็บเอกสารและพัสดุ
500
11. ห้องโถง บันได ช่องทางเดินของตลาด ห้างสรรพสินค้า หอประชุม โรงมหรสพ ภัตตาคาร และหอสมุด
500
12. ห้องเก็บหนังสือของหอสมุด
600
13. ที่จอดรถหรือเก็บรถยนต์บรรทุกเปล่าและรถอื่นๆ
800
14. แรงลมที่กระทำต่ออาคาร (กรณีไม่มีเอกสารอ้างอิง)

ส่วนของอาคารที่สูงไม่เกิน 10 เมตร
50
ส่วนของอาคารที่สูงกว่า 10 เมตร แต่ไม่เกิน 20 เมตร
80
ส่วนของอาคารที่สูงกว่า 20 เมตร แต่ไม่เกิน 40 เมตร
120
ส่วนของอาคารที่สูงกว่า 40 เมตร
160


3 ความคิดเห็น:

SRIMALA กล่าวว่า...

สอบถามค่ะ
หากมีแผ่นวัสดุแผ่นปุพื้นสำเร็จ ต้องการทดสอบ LL จะส่งทกสอบที่สถาบันไหนได้บ้างคะ

Zarankarn กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
Zarankarn กล่าวว่า...

สถาบันทดสอบของภาครัฐ เช่น มหาวิทยาลัยหรือ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วว.) น่าจะทดสอบได้ครับ ถ้าจะเทียบเท่าแผ่นพื้นคอนกรีตอัดแรงก็ต้องทดสอบตามมอก. 577

แสดงความคิดเห็น