แผ่นดินไหวกลายเป็นภัยใกล้ตัว กทม.เตรียมนัดเจ้า ของตึกสูงเข้าหารือถึงแนว ทางป้องกันภัยพิบัติ
กรุงเทพฯ * กทม.ผวาแผ่นดินไหว หลังตึกสูงถูกเขย่าหลายครั้ง เตรียมเชิญตัวแทนผู้ประกอบการหารือถึงแนวทางป้องกันภัยพิบัติ ขณะที่สภา กทม.จะเสนอผู้บริหารทบทวนข้อบัญญัติควบคุมอาคาร วิศวกรรมสถานฯ เตือนภาคเหนือ ตะวันตก เสี่ยงหนัก
นายสุทธิชัย วีรกุลสุนทร ประธานสภากรุงเทพมหานคร ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่19 เมษา ยนนี้ ถึงเหตุแผ่นดินไหวในระยะนี้ว่า ถึงแม้กรุง เทพฯ จะไม่เป็นศูนย์กลางของแผ่นดินไหว แต่ก็รับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือน โดยเฉพาะตึกสูงที่อยู่ใจกลางเมือง ซึ่งเรื่องนี้ต้องมีการเตรียมความพร้อมเพื่อรับกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นอีก โดยมีการประ ชุมร่วมกับคณะกรรมการที่กำกับดูแลในด้านการป้องกันภัยพิบัติและโครงสร้างอาคารสูง ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้คณะกรรมการสำรวจอาคารสูง อาคารขนาดใหญ่ และอาคารมหรสพทั้ง 50 เขต ตรวจสอบระบบป้องกันภัยพิบัติ อาทิ ภัยน้ำท่วม แผ่นดินไหว โดยจะให้สำนักการโยธาฯ ไปสำรวจอาคารสูงว่ามีระบบป้องกันอัคคีภัยและระบบรองรับแผ่นดินไหวหรือไม่
นายสุทธิชัยกล่าวว่า กทม.จะเชิญผู้ประกอบการอาคารสูงเข้าร่วมประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นถึงแนวทางการป้องกันภัยพิบัติ อย่างไรก็ตาม จากนี้จะเสนอผู้บริหาร กทม.ให้ทบทวนข้อบัญญัติการควบคุมอาคารในเรื่องการป้องกันอัคคีภัยและการป้องกันเหตุแผ่นดินไหว ซึ่งจะมีการเสนอญัตติดังกล่าวในที่ประชุมสภา กทม. ให้มีการพิจารณาแก้ไขเป็นการเร่งด่วน เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนด้วย
ด้านสถานการณ์ในจังหวัดภูเก็ตหลังเกิดแผ่นดินไหวหลายครั้ง มีรายงานว่า ขณะนี้ได้มีผู้ออกใบปลิวไปทั่วจังหวัด ว่าในวันที่ 28 เม.ย.นี้ เกาะภูเก็ตจะจมลงในทะเลอันดามันทั้งเกาะ ก่อให้เกิดความหวั่นกลัวในหมู่ประชาชนส่วนหนึ่ง
นายเลิศสิน รักษาสกุลวงศ์ ผอ.สำนักธรณี วิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากร ธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นไปไม่ได้เลยเพราะเกาะภูเก็ตมีสภาพเป็นหินแกรนิต และมีฐานกว้างมาก เหมือนกับเขาตะปู จ.พังงา ซึ่งหินแกรนิตมีกำเนิดมาจากแมกมาใต้โลก มีฐานเป็นแผ่นกว้าง อีกทั้งยังมีคุณสมบัติ คือ หากเกิดแผ่นดินไหว คลื่นแผ่นดินไหวจะเคลื่อนที่เร็วเมื่อเคลื่อนที่เร็วอัตราการทำลายล้างก็จะน้อยหรือต่ำ แต่หากพื้นที่นั้นๆ เป็นดินอ่อนจะทำให้คลื่นแผ่นดินไหวเคลื่อนที่ช้าเมื่อเคลื่อนที่ช้าจะทำให้อัตราการทำลายล้างเพิ่มมากขึ้น จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่เกาะภูเก็ตจะจมหรือหักอย่างแน่นอน
ที่สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) มีการแถลงถึงแผ่นดินไหวในประเทศไทย และผลกระทบต่อโครงสร้างอาคาร โดยอาจารย์เป็นหนึ่ง วานิชชัย ประธานอนุกรรมการสาขาผลกระทบต่อแผ่นดินไหวและแรงลม วสท. กล่าวว่า เหตุแผ่นดินไหว 9.1 ริกเตอร์ เมื่อปี2547 และ 8.6 ริกเตอร์ เมื่อวันที่11 เม.ย. ทำให้ใต้พิภพได้ปลดปล่อยพลังงานออกมา และจะถ่ายทอดพลังงานขึ้นสู่ที่สูง หรืออาคารต่างๆ จากด้านล่างขึ้นสู่ด้านบน ผลที่ตามมาคืออาจทำให้เปลือกโลกอินโดออสเตรเลียมุดเข้าหาเปลือกโลกยูเรเซีย และอาจทำให้เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ขนาด 8.5-9 ริกเตอร์ได้ ในบริเวณประเทศพม่า และหมู่เกาะนิโคบาร์ของอินเดีย ซึ่งเป็นบริเวณใต้ทะเลลึกที่จะกระตุ้นให้เกิดคลื่นสึนามิได้ส่วนทะเลอันดามันของไทยเป็นเขตน้ำตื้น หากเกิดสึนามิขึ้นจะใช้เวลา 2 ชั่วโมงจึงเคลื่อนมาถึงประเทศไทยแต่ยังบอกไม่ได้ว่าจะเกิดในเวลาใด ต้องใช้วิธีเฝ้าระวังอย่างเดียว
อาจารย์เป็นหนึ่งกล่าวว่า จังหวัดภูเก็ตไม่น่าห่วงแม้จะเกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้ง แต่เป็นแค่แผ่นดินไหวขนาดเล็ก ไม่มีการสะสมพลังงานเพียงพอที่จะไปกระตุ้นให้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ในภาคใต้ แต่ที่ต้องจับตาและน่าเป็นห่วงคือ ภาคเหนือ และภาคตะวันตก ซึ่งรอยเลื่อนมีการสะสมพลังงาน.
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น