ระบบสัญญานเตือนเพลิงไหม้

ชาวบ้าน 1 : โอ้ย! ฮือ... ไฟไหม้ได้ยังไงเนี่ยไม่รู้เรื่องเลย ฉ้นมารู้ตัวอีกทีก็ได้ยินคนตะโกนกันโหวกเหวกว่า "ไฟไหม้" เลยสะดุ้งตื่นคว้าผ้าขาวม้าได้ ก็วิ่งหนีเอาชีวิตรอดมาเนี่ยแหละ...
ชาวบ้าน 2 : โอ๊ะ! แสดงว่าแกไม่ใส่อะไรนอนเลยเหรอ นี้ฉันก็ไม่ได้ยินเสียงอะไรเตือนเลยนะ มารู้สึกตัวอีกทีไฟก็ไหม้จะถึงตัวแล้วโอย...หมดกัน หมดตัว ฮือ...
เหตุการณ์ในครั้งนี้ก็อาจจะไม่เกิดความเสียหายได้มากขนาดนี้ ถ้ามีสิ่งใดที่จะสามารถเตือนให้ผู้อยู่อาศัยได้ทราบก่อนเพื่อที่จะได้ช่วยกันดับไฟก่อนที่เพลิงยังไม่ลุกลามไปใหญ่โต มิสเตอร์โยธากำลังหมายความถึง สัญญานเตือนเพลิงไหม้ ไงครับ
การติดตั้งระบบป้องกันอัคคีภัยในอาคารที่พักอาศัยประเภทต่างๆ โดยเฉพาะในอาคารสูงและอาคารหลังเดียวกันมีพื้นที่รวมกันทุกชั้นเกิน 2,000 ตร.ม. อาทิเช่น ในห้างสรรพสินค้า โรงแรม สถานพยาบาล สถานศึกษา ท่าอากาศยาน อาคารจอดรถอาคารที่อยู่อาศัยรวมที่มีตั้งแต่ 4 ยูนิตขึ้นไป จำเป็นต้องมีระบบสัญญานเตือนเพลิงไหม้ทุกชั้น แต่ถ้าเป็นห้องแถวตึกแถว บ้านแถว และบ้านแฝด ที่มีความสูงเกิน 2 ชั้น ต้องมีระบบสัญญานเตือนเพลิงไหม้ติดตั้งอยู่ในอาคารอย่างน้อย 1 เครื่อง ทุกคูหา ในส่วนของตัวอุปกรณ์นั้นอย่างน้อยต้องประกอบด้วย


1. อุปกรณ์ส่งสัญญานเพื่อให้หนีไฟสามารถส่งเสียงหรือสัญญานให้คนที่อยู่ในอาคารได้ยินอย่างทั่วถึง


2. อุปกรณ์แจ้งเหตุที่มีทั้งในระบบอัตโนมัติและระบบที่แจ้งเหตุด้วยมือ


ถ้าคุณผู้อ่านจะลองไปสังเกตตามอาคารสูงดู บางที่จะมีตัวจับควันหรือความร้อนที่ผิดปกติ เรียกว่า Detector เมื่อเกิดมีเพลิงไหม้ขึ้น อุปกรณ์ตัวนี้จะทำงานโดยอัตโนมัติให้ Alarm เป็นตัวส่งสัญญานเตื่อนในลักษณะของแสงและเสียง อาคารที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นเกิน 2,000 ตร.ม. ในแต่ละชั้นจะต้องมีป้ายบอกชั้นและทางหนีไฟ กำหนดให้ตัวอักษรต้องมีขนาดความสูงไม่น้อยกว่า 10 ซ.ม. หรือ สัญลักษณ์ที่อยู่ในตำแหน่งระดับสายตา มีแสงสว่างและระบบไฟฟ้าฉุกเฉินที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน นี่ก็เป็นเพียงบางส่วนในมาตรการของความปลอดภัยที่กรมโยธาธิการและผังเมือง กำหนดไว้ เพราะเหตุการณ์และความเสียหายนี้ มิสเตอร์โยธาไม่อยากให้เกิดขึ้นกับคุณ หากเราได้รู้ตัวแต่เนิ่นๆ ตั้งสติให้ดี เราก็สามารถที่จะแก้ไขสถานการณ์ได้นะครับ


ที่มาบทความและรูปภาพ :

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น