1.1.4.มาตรฐาน และ ทฤษฎี ที่ใช้ในการออกแบบโครงสร้างเหล็กในประเทศไทย
1.1.4.1.มาตรฐานด้านการออกแบบ
การออกแบบงานโครงสร้างเหล็กในประเทศไทยนั้น มาตรฐานต่างๆจะยึดเอาตามข้อกำหนดของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย(ว.ส.ท. หรือ E.I.T.)เป็นหลัก ซึ่งข้อกำหนดต่างๆที่สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยได้จัดทำขึ้น ส่วนใหญ่อ้างอิงมาจากมาตรฐานของอเมริกาคือ AISC.(American Institute of Steel Construction) และบางส่วนมาจากมาตรฐานของญี่ปุ่น
1.1.4.2.ทฤษฎีที่ใช้ในการคำนวณ-ออกแบบโครงสร้างเหล็ก
1.ในประเทศไทย : ว.ส.ท.(2544)
ยังคงใช้ทฤษฎี “หน่วยแรงที่ยอมให้(Allowable Stress Design(ASD.) หรือหรือเรียกกันอีกในชื่อ Working Stress Design(WSD.))” อีกนานก่อนที่จะมีการเปลี่ยนมาใช้ใช้ทฤษฎี “(Load & Resistance Factor Design(LRFD.))”
2.ในประเทศสหรัฐอเมริกา(2544)
ในทางปฏิบัติวิศวกรสามารถที่จะเลือกใช้ได้ทั้ง 3 ทฤษฎี คือ 1.ทฤษฎี“หน่วยแรงที่ยอมให้(Allowable Stress Design(ASD.))” 2.ทฤษฎี“พลาสติก(Plastic Design(PD.))” 3.ทฤษฎี “(Load & Resistance Factor Design(LRFD.))”
แต่ในการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษานั้นสอนโดยใช้ ทฤษฎี “(Load & Resistance Factor Design(LRFD.))”
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น