5 วิธีถนอมธัมบ์ไดร์ฟสุดรัก
ผมเพิ่งได้ธัมบ์ไดรฟ์ตัวใหม่มาใช้ครับ ด้วยความที่ความจุของมันตั้ง 1GB
ผมจึงอยากจะรู้วิธีที่จะรักษามันไว้กับผมนานๆ
ผมก็เลยนำบทความแนะนำวิธีดูแลธัมบ์ไดรฟ์ที่หาได้จากเว็บไซต์คอมพิวเตอร์ทูเดย์มาให้อ่านกันครับ
คอมพิวเตอร์ทูเดย์ระบุว่าภัยที่เกิดขึ้นกับธัมบ์ไดร์ฟโดยรวมๆคือ
ธัมบ์ไดร์ฟสูญหาย ธัมบ์ไดร์ฟเสียหายเพราะโดนไวรัส
การถูกดูข้อมูลสำคัญโดยไม่ได้รับอนุญาต และข้อมูลในธัมบ์ไดร์ฟสูญหาย
วิธีแก้ไขคือ
1.
เก็บไว้ใกล้ตัว-ไม่ต้องกลัวหาย
นับวันธัมบ์ไดรฟ์จะมีขนาดเล็กลง หายง่ายมาก
(ถูกขโมยก็ง่ายด้วย) มีไม่น้อยที่มักจะหลงลืมไว้ตามที่ต่างๆ เวลาหยิบออกมาวาง
หรือแม้แต่ติดไปกับเครื่องคอมพ์ชาวบ้านเพราะลืมขอคืน บางคนชอบคล้องไว้กับกุญแจ
ซึ่งเป็นของที่ชอบทำหายอันดับต้นๆ
วิธีน่าสนใจที่สุดคือ
เลือกรุ่นที่มีสายคล้องคอไว้ แม้จะดูไม่สวยงามเท่าไร แต่มันลดโอกาสทำหาย
และถูกขโมยได้เกือบ 100% อีกนิดนึง ควรเลือกรุ่นที่สายต่ออยู่กับตัวธัมบ์ไดรฟ์
หลีกเลี่ยงการเลือกใช้รุ่นที่สายคล้องคอผูกกับฝาครอบนะครับ
2.
ระวังไวรัส
ต้องถือเป็นข้อควรระวังในการใช้งานธัมบ์ไดรฟ์อันดับต้นๆ
เพราะโดยพื้นฐานแล้วธัมบ์ไดรฟ์จะมีลักษณะการใช้งานเหมือนกับฟลอปปี้ดิสก์
ซึ่งนั่นหมายความว่า
ไวรัสสามารถใช้ธัมบ์ไดรฟ์เป็นสื่อพาหะสำหรับการแพร่กระจายได้เป็นอย่างดี
ดังนั้นเวลาใช้งานธัมบ์ไดรฟ์ คุณควรแน่ใจก่อนว่า
เป็นการถ่ายโอนเฉพาะไฟล์ข้อมูลเท่านั้น
(ไม่ได้ติดไวรัสมาด้วย)
ประเด็นที่สำคัญก็คือ
ควรแน่ใจว่าคุณกำลังเชื่อมต่อธัมบ์ไดรฟ์กับคอมพิวเตอร์ที่รันซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสที่ได้รับการอัพเดตสม่ำเสมอ
และในกรณีที่คอมพ์ของคุณรันแอนตี้ไวรัส เวลาต่อกับธัมบ์ไดรฟ์
ซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสในเครื่องคอมพ์จะสแกนธัมบ์ไดรฟ์ให้ด้วย อย่างไรก็ตาม
ถ้าไม่แน่ใจธัมบ์ไดรฟ์ที่รับมา
ก็ไม่ควรเชื่อมต่อเข้ากับคอมพ์ของคุณเด็ดขาด
3. เข้ารหัสข้อมูล
เพื่อรักษาความลับ
ถ้าหากธัมบ์ไดรฟ์ของคุณหาย
นั่นหมายความข้อมูลของคุณตกไปอยู่ในมือของผู้ที่พบมันด้วย
และถ้าหากคนผู้นั้นบังเอิญเป็นคู่แข่งคุณโดยตรง อะไรจะเกิดขึ้น ดังนั้น
หากคุณใช้ธัมบ์ไดรฟ์เก็บข้อมูลสำคัญ
การเข้ารัหสข้อมูลดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้
การเข้ารหัสข้อมูล
(Encryption) จะทำให้ข้อมูลเปิดอ่านไม่รู้เรื่องจนกว่าจะได้รับพาสเวิร์ดที่ถูกต้อง
ซึ่งควรเลือกเข้ารหัสที่ระดับ 128 บิต เพื่อความปลอดภัย ธัมบ์ไดรฟ์รุ่นใหม่ๆ
จะมาพร้อมกับคุณสมบัติการเข้ารหัสข้อมูลมาด้วย แต่อย่าลืมตรวจสอบให้แน่ใจนะครับว่า
ซอฟต์แวร์ที่ให้มาไม่ใช่รุ่นทดลอง เพราะไม่เช่นนั้น
คุณอาจจะต้องจ่ายตังค์ค่าซอฟต์แวร์ในภายหลัง
4.
สำรองข้อมูลให้เป็นนิสัย
ไม่ปฏิเสธครับว่า เวลาธัมบ์ไดรฟ์หาย
เราคงรู้สึกไม่ดีแน่นอน
แม้ข้อมูลที่อยู่ในนั้นจะได้รับการปกป้องด้วยการเข้ารหัสไว้แล้วก็ตาม
แหม...ก็มันต้องเสียเงินอีกแล้วน่ะสิ แต่มันคงรู้สึกเจ็บใจเป็นสองเท่า
หากข้อมูลที่อยู่ในนั้นเราไม่เคยได้ทำแบคอัพสำรองเอาไว้เลย
ดังนั้น
วิธีที่สุดคือ แนะนำให้คุณสำรองธัมบ์ไดรฟ์ไว้สักสองสามก็อปปี้
เพราะนอกจากพวกมันจะหายง่ายแล้ว ยังเสียง่ายอีกด้วย
เนื่องจากธัมบ์ไดรฟ์ส่วนใหญ่จะใช้กรอบเป็นพลาสติก
ซึ่งแตกหักได้ง่าย
ผมเองขอแถมข้อที่ 5 ไว้อีกข้อนะครับ
เป็นข้อที่สำคัญไม่แพ้กัน
คือการถอดธัมบ์ไดร์ฟออกจากเครื่องอย่างถูกต้อง
เรื่องของเรื่องคือ
ก่อนที่คุณจะดึงธัมบ์ไดรฟ์ออกจากพอร์ตยูเอสบีบนคอมพิวเตอร์
ให้คุณปิดโปรแกรมทุกตัวที่มีการเข้าถึงไฟล์ต่างๆบนธัมบ์ไดรฟ์เสียก่อน
จากนั้นคลิกไอคอน Safely Remove Hardware
(ที่มีลูกศรสีเขียวปรากฎอยู่ในมุมล่างขวาบนทาสก์บาร์)
แล้วคลิกเลือกธัมบ์ไดรฟ์ที่ปรากฏอยู่ในรายการ
เมื่อคลิกเลือกยูเอสบีไดรฟ์ที่ต้องการเอาออกแล้ว
(รูปบน) จะได้รับข้อความแจ้งขึ้นมาว่า “Safe To Remove Hardware” (รูปล่าง) แปลว่า
สามารถดึงธัมบ์ไดรฟ์ออกจากระบบได้อย่างปลอดภัย
หลายเสียงยืนยันครับว่า
หากถอดธัมบ์ไดร์ฟจากเครื่องปุบปับโดยไม่มีการทำตามขั้นตอนนี้
ธัมบ์ไดร์ฟเจ๊งมานักต่อนักแล้วครับ
สอนการใช้งาน MS Access ฟรี
สอนการใช้งาน MS Access ฟรี
http://msofficeaccess.blogspot.com/
จะเป็นประโยชน์กับวิศวกรที่ใช้งานเกี่ยวกับฐานข้อมูล
http://msofficeaccess.blogspot.com/
จะเป็นประโยชน์กับวิศวกรที่ใช้งานเกี่ยวกับฐานข้อมูล
ป้ายกำกับ:
access
เรื่องน่ารู้ของเกียร์อัตโนมัติ
เรื่องน่ารู้ของเกียร์อัตโนมัติ.
ก่อนอื่นก็มาทีความรู้จักกับเกียร์อัตโนมัติกันซะก่อนเพราะยังมีอีกหลายท่านที่เคยแต่เพียง“เห็น”ยังไม่เคยทำความคุ้นเคยหรือสัมผัสกันอย่างจริงจังเสียทีแบบนั้นจัดว่ารู้จักว่าเป็นเกียร์อัตโนมัติเฉย ๆ แต่ยังไม่รู้จักอย่างลึกซึ้งก่อนที่จะขับก็ควรมาศึกษารายละเอียดกันก่อนหลายคนอาจจะคิดว่าไม่จำเป็นก็ในเมื่อเขาทำมาให้ขับง่ายสะดวกสบายแล้วทำไมต้องมีการศึกษาอะไรอีกก็เป็นเพียงความเข้าใจที่ถูกต้องเพียงบางส่วนที่คิดว่าเพียงแต่ขยับตำแหน่งคันเกียร์มาที่ตัวDแล้วก็เหยีบคันเร่งเท่านั้นก็ขับรถไปไหน ๆ ได้แล้วผู้ที่ขับขี่เป็นแต่ในลักษณะนี้ล่ะครับที่จัดอยู่ในขั้นที่น่าเป็นห่วงเพราะจะมีอันตรายตามมาอีกหลายอย่าง เช่นการขับรถในสภาพทางที่เป็นภูเขาสูงหรือที่เคยมีข่าวรถวิ่งไปทับเจ้าของจนตายตอนเปิดประตูบ้านก็เข้าข่ายที่“รู้..แต่ยังรู้ไม่หมด”นั่นเอง
หลักการทำงานแบบย่อ ๆของเกียร์อัตโนมัติ ก็คือเกียร์ที่ผลิตมาให้ขับรถได้ง่ายสะดวกสบายขึ้น คือรถจะมีการเปลี่ยนเกียร์ของมันเองตอนเดินหน้าด้วยการขยับเข้าเกียร์เพียงครั้งเดียวและไม่ต้องเหยียบคลัทซ์เพราะไม่มีให้เหยียบการขับขึ่จึงใช้เพียงเท้าขวาเพียงข้างเดียวใช้เหยียบคันเร่งกับเบรคเท่านั้นส่วนเท้าซ้ายไม่ต้องใช้ที่เป็นเช่นนี้เพราะการออกแบบระบบการทำงานของเกียร์อัตโนมัติที่แตกต่างจากเกียร์ธรรมดาโดยชุดคลัทซ์ได้เปลี่ยนมาใช้ตัว“ทอร์คคอนเวอร์เตอร์”ช่วยในการตัดต่อการส่งกำลังจากเครื่องยนต์ไปที่เกียร์แทนซึ่งเท่ากับเป็นคลัทซ์อัตโนมัติที่เราไม่ต้องเหยียบเพราะมันจะทำการจับตัวของมันเองตามรอบเครื่องที่เพิ่มขึ้นโดยใช้ของเหลวเป็นตัวส่งกำลังด้วยความหนืด หลักการก็เหมือนกับมีพัดลม 2 อันอันหนึ่งเปิดไว้เอามาเป่าให้อีกอันหนึ่งหมุนตามทำให้เกิดการส่งกำลังได้ทำให้สามารถเข้าเกียร์ได้โดยเครื่องไม่ดับขณะเครื่องเดินเบาและรถจอดนิ่งเหยียบเบรคไว้ส่วนระบบเกียร์เมื่อเข้าเกียร์ให้รถขับเคลื่อนไปแล้วการทำงานจะเป็นไปโดยอัตโนมัติคือการเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์จะมีการตั้งโปรแกรมการทำงานให้เหมาะสมกับความเร็วรอบของเครื่องยนต์เหมือนตอนที่เราเข้าเกียร์ด้วยความรู้สึกของเรา แต่ในเกียร์อัตโนมัติใช้กลไกต่าง ๆมาทำงานแทนโดยแต่เดิมจะมีแต่ระบบกลไกโดยใช้แรงดันในระบบน้ำมันเกียร์ซึ่งมีปั๊มสร้างแรงดันเช่นเดียวกับระบบไฮดรอลิกซึ่งแรงดันที่เพิ่มขึ้นตามความเร็วรอบเครื่องยนต์จะถูกนำมาใช้ในการเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ภายในเกียร์อัตโนมัติจะใช้เกียร์แบบเพลนเนตทารี่เกียร์ซึ่งเป็นชุดเกียร์ที่ออกแบบให้เฟืองของเพลาขับทดอยู่กับเฟืองของเพลาตามภายในเฟืองวงแหวนทำให้สามารถเปลี่ยนอัตราทดเกียร์ได้ง่ายเพียงแต่ล็อกเฟืองชุดใดชุดหนึ่งด้วยการจับตัวของแผ่นคลัทซ์แบบเปียกซ้อนกันหลายๆแฟ่นทำให้การเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ทำได้นุ่มนวลเมื่อทำงานร่วมกับทอร์คคอนเวอร์เตอร์ยิ่งมาในยุคที่มีระบบอิเล็คทรอนิคส์เข้ามาช่วยในการทำงานทำให้เกียร์อัตโนมัติมีประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้นมากโดยเฉพาะจังหวะการเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ที่ทำได้นุ่มนวลจนแทบไม่รู้สึกและจังหวะการทำงานต่าง ๆที่ฉับไวยิ่งขึ้นมากโดยเฉพาะจังหวะการเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ที่ทำได้นุ่มนวลจนแทบไม่รู้สึกและจังหวะการทำงานต่าง ๆที่ฉับไวยิ่งขึ้นมีโปรแกรมการทำงานมากยิ่งขึ้นกว่าในระบบเก่าซึ่งบางทีก็เรียกกันว่าเกียร์ไฟฟ้าเพราะจะมีกล่องควบคุมการทำงานมาต่างหากในรถบางรุ่น
“ตำแหน่งเกียร์”
เมื่อทราบหลักการทำงานแบบย่อ ๆแล้วก็มาดูกันที่ตำแหน่งเกียร์ซึ่งจะมีบอกไว้ที่ตรงโคนของคันเกียร์จะยกตัวอย่างเฉพาะในรถรุ่นปัจจุบันที่เกียร์อัตโนมัติจะมี 4 สปีดแล้วนอกจากนี้ยังมีรถนั่งรุ่นใหม่ ๆ ที่ได้มีเพิ่มเป็น 5 เกียร์สปีดแล้วอย่างเช่นBMWที่ราคาหลายล้านบาทตำแหน่งเกียร์ 4 สปีดที่พบทั่ว ๆ ไปจะมีเขียนแสดงไว้นั้นพอจะอธิบายได้ดังนี้
ตัวPเป็นตำแหน่งที่ใช้ในการจอดรถ ซึ่งย่อมาจากภาษาอังกฤษParkingแปลว่าจอดรถซึ่งจังหวะนี้เพลากลางจะถูกล็อกทำให้รถเคลื่อนตัวไม่ได้ทุกครั้งที่จอดรถในทางชันเพื่อป้องกันรถไหลควรใช้ร่วมกับเบรคมือแต่หากไปจอดตามห้างสรรพสินค้าหรือลานจอดรถไม่ควรใช้เพราะหากไปขวางทางผู้อื่นแล้วไม่สามารถเข็นรถได้บรรพบุรุษจะโดนกล่าวถึงในทางไม่ดี ประโยชน์อีกอย่างก็สามารถติดเครื่องได้ในตำแหน่งนี้เพราะจะเป็นเกียร์ว่างแต่เพลากลางยังถูกล็อคไม่ให้รถไหลมีประโยชน์ตอนจอดในทางลาดชันทำให้ออกรถได้ง่ายขึ้นเมื่อผู้ขับเหยียบเบรคและเปลี่ยนเกียร์มาในตำแหน่งให้รถขับเคลื่อนต่อไป
ต่อมาก็เป็นตำแหน่งRซึ่งย่อมาจากReverseอันนี้เป็นเกียร์ถอยหลัง การขยับคันเกียร์จากตำแหน่งอื่นมาให้ตำแหน่งRนี้ต้องกดปุ่มล็อคคันเกียร์นั้นจะอยู่ด้านข้างของหัวเกียร์ในรถทุกรุ่นเพื่อกันการลืมซึ่งจะทำให้ระบบเกียร์พังและกันการเข้าเกียร์ผิดในกรณีที่ไม่ได้เหลือบตามามองสำหรับการขับปกติและผู้ชำนาญแล้ว
ตำแหน่งNเป็นเกียร์ว่างซึ่งภาษาอังกฤษเขียนว่าNaturalตำแหน่งนี้จะเหมือนกับเกียร์ว่างในรถเกียร์ธรรมดาที่สามารถเข็นรถได้เวลาจอดตามลานจอดรถและขวางคันอื่นๆอยู่ก็อย่าลืมใช้ตำแหน่งนี้เพื่อให้ยามหรือเจ้าของรถคันอื่นจะได้เข็นเลื่อนรถให้พ้นจากการกีดขวางได้เวลารถจอดติดไฟแดงก็ใช้ได้
ตำแหน่งDหรือDriveเป็นตำแหน่งที่ให้รถขับเคลื่อนไปข้างหน้าโดยเกียร์ทุกเกียร์จะทำงานเปลี่ยนตำแหน่งครบทั้งหมดตามความเร็วที่ตั้งโปรแกรมไว้ในการขับขี่รถทั่ว ๆไปบนถนนธรรมดาจะใช้ตำแหน่งDนี้แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้นซึ่งสะดวกสบายมาก
ตำแหน่ง 2 หมายถึงเกียร์จะทำงานเพียง2 เกียร์ คือ เกียร์ 1 และ 2 เท่านั้นซึ่งเป็นการถูกล็อคเอาไว้ในตำแหน่งนี้เพื่อให้ใช้ตอนที่ตอ้งการกำลังในการขับเคลื่อนสูงๆ เช่น การขับรถในทางที่เป็นภูเขาสูงชันมาก ๆ ซึ่งการล็อคเกียร์ไวให้ทำงานแค่ 2เกียร์นี้จะช่วยในตอนลงจากที่สูงซึ่งจะใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรคผ่านอัตราทดเกียร์ที่สูงนี้ได้เพื่อความปลอดภัยโดยเป็นการช่วยผ่อนแรงการทำงานของระบบเบรคกันเบรคร้อนซึ่งทำให้เกิดอาการเบรคหายจากการเกิดฟองอากาศในน้ำมันเบรคที่เดือนเป็นไอ
ตำแหน่ง 1อันนี้ก็เป็นการทำงานในเกียร์ 1 เพียงเกียร์เดียวซึ่งเป็นการขับขึ้นทางสูงชันที่ต้องการแรงฉุดลากมากกว่าในเกียร์ตำแหน่ง 2สังเกตง่าย ๆ ว่าจะใช้เมื่อไรดูได้จากเมื่อใช้ตำแหน่ง 2พอรถวิ่งไปถึงความเร็วรอบเครื่องที่เกียร์เปลี่ยนเป็นเกียร์ 2รถจะไม่มีกำลังทำให้เกียร์เปลี่ยนมาที่ 1อีกจะทำให้เสียจังหวะเราก็จัดการเปลี่ยนมาล็อกไว้ที่เกียร์ 1 ซะเลยจะไปได้ดีกว่ารวมทั้งตอนลงทางชันที่ชันมากแบบค่อย ๆ ย่องลงมาเกียร์ 1จะช่วยในการหน่วงด้วยเครื่องยนต์ได้ดี ในตำแหน่ง 1 นี้จะช่วยในการหน่วงด้วยเครื่องยนต์ได้ดี ในตำแหน่ง 1 นี้ รถบางรุ่นจะใช้ตัวอักษรLแทนซึ่งหมายถึงตำแหน่งเกียร์ที่ต่ำสุด
“ปุ่มเลือกโปรแกรมต่างๆ”
นอกจากตำแหน่งเกียร์ต่าง ๆ ให้เลือกใช้ก็จะมีปุ่มเลือกโปรแกรมต่าง ๆเพื่อช่วยเพิ่มความสะดวกสบายและประสิทธิภาพของระบบเกียร์อัตโนมัตินี้อีกอันแรกที่มีในรถรุ่นต่าง ๆ ก็คือ ปุ่มOD(OverDrive)จะมีให้เลือก 2 ตำแหน่งคือOnกับOffเมื่อกดปุ่มODอยู่ในตำแหน่งOnและคันเกียร์อยู่ในตำแหน่งDโปรแกรมนี้เกียร์จะทำงานครบทั้ง 4 เกียร์เปรียบเสมือนเป็นการเลือกใช้เกียร์จะทำงานครบทั้ง 4เกียร์เปรียบเสมือนเป็นการเลือกใช้เกียร์ 4 กับไม่ใช้นั่นเองซึ่งเหตุผลก็คือเมื่อต้องการขับรถในทางสูงชันแต่ไม่มากเหมือนในการใช้ตำแหน่ง 2 เราก็ใช้เพียงเกียร์3 โดยไม่ต้องเลื่อนคันเกียร์เพียงแต่ใช้ปุ่มODซึ่งช่วยให้สะดวกขึ้นมากรวมทั้งในกรณีต้องการเชนจ์เกียร์เพื่อใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรค(เอนจิ้นเบรค) เช่น ขณะถนนลื่นหรือลงจากที่สูงก็ใช้ได้
นอกจำโปรแกรมทั่ว ๆ ไปในรถบางรุ่นโดยเฉพาะพวกรถสปอร์ตหรือนั่งจะมีปุ่มที่เขียนว่าSport-Comfortปุ่มต่อมาอันนี้จะไม่อยู่ที่หัวเกียร์ส่วนมากจะอยู่ที่แผงหน้าปัทม์หรือบริเวณคอนโซลข้าง ๆคันเกียร์ในรถบางรุ่นจะใช้SportEconomyโปรแกรมนี้ออกแบบมาให้จังหวะการเปลี่ยนเกียร์ช้าลงในโปรแกรมSportหมายถึงจะลากเกียร์ได้ยาวขึ้นและเกียร์จะเปลี่ยนที่รอบเครื่องยนต์สูงขึ้นกว่าเดิมทำให้ได้อัตราเร่งที่ดีขึ้นต่างจากในโปรแกรมComfortหรือEconomy ซึ่งเน้นที่ความนุ่มนวลและประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงเกียร์จะเปลี่ยนตั้งแต่ความเร็วรอบเครื่องยนต์รอบที่ต่ำกว่าเหมือนตอนที่เราขับรถเกียร์ธรรมดาตอนที่ไม่รีบร้อนนั่นเองทำให้ผู้โดยารนั่งสบายไม่เกิดการกระชากที่รุนแรงเหมือนนั่งรถแข่ง
เราได้ทราบเรื่องการทำงานและโปรแกรมการสิ่งให้เกียร์ทำงานได้ผู้ขับขี่ในแบบต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมกับการขับขี่ในลักษณะต่าง ๆ เช่นการขับขี่ในสภาพทางที่เป็นภูเขาสูงหรือต้องการอัตราเร่งที่ดีกว่าปกติก็สามารถลากเกียร์ให้ยาวขึ้นในโปรแกรมSportการใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรคขณะลงจากทางสูงชัน ผ่านตำแหน่งเกียร์ที่ถูกต้องซึ่งท่านใดที่ยังไม่เข้าใจก็ลองย้อนกลับไปอ่านอีกครั้งหรือสองครั้งเพราะเป็นพื้นฐานความรุ้ที่น่าสนใจสำหรับผู้ไม่คุ้นเคย
เมื่อคู่ได้พูดถึงโปรแกรมการทำให้จังหวะการเปลี่ยนเกียร์ช้างลงเพื่อให้ลากเกียร์ได้ยาวขึ้นเพื่อให้มีการเปลี่ยนเกียร์ในความเร็วรอบเครื่องยนต์ที่สูงขึ้นกว่าโปรแกรมธรรมดาซึ่งจะทำให้อัตราเร่งของรถดีขึ้นซึ่งโปรแกรมดังกล่าวจะเลือกใช้ได้โดยการกดปุ่ม ซึ่งมีเขียนบอกไว้ในแบบต่าง ๆ เช่นSport-ComfortและSport-Economayรวมทั้งอีกตัวหนึ่งคือคำว่าPowerซึ่งเมื่อครู่ไม่ได้บอกไว้ เผื่อไปเจอจะสงสัยว่าเป็นปุ่มอะไรเอาไว้กดทำไมเพราะในรถบางรุ่นจะมีเพียงปุ่มกดและคำว่าPowerนี้เพียงอย่างเดียวในลักษณะOn-Offหรือเปิด-ปิด คือใช้โปรแกรมPowerกับไม่ใช้เท่านั้น
“เกียร์ธรรมดาในเกียร์อัตโนมัติ”
โปรแกรมต่อมาที่เห็นในรถบางรุ่นส่วนมากจะเป็นรถสปอร์ตหรือสปอร์ตซีดานหรือรถที่มีสมรรถนะค่อนข้างสูง จะมีปุ่มกดที่เขียนว่าHoldหรือAutoManualเพื่อการขับขี่ในลักษณะของเกียร์ธรรมดาเพื่อความคล่องตัวยิ่งขึ้นจึงได้มีโปรแกรมนี้เพิ่มขึ้นมา โดยตำแหน่งHoldหรือManualจะมีความหมายเดียวกันคือเป็นการล็อคเกียร์ในตำแหน่งต่าง ๆ ไว้ให้เปลี่ยนตามจังหวะการโยกคันเกียร์ของผู้ขับแต่เพียงอย่างเดียวไม่ว่ารถจะวิ่งในความเร็วเท่าไรตำแหน่งเกียร์จะเป็นไปตามตำแหน่งของคันเกียร์ตลอดเวลาทำให้ผู้ขับสามารถเลือกเปลี่ยนเกียร์ได้ตามต้องการคือต้องการลากรอบเครื่องยนต์ให้สูง ๆแล้วค่อยเปลี่ยนเกียร์เพื่ออัตราเร่งที่ดีหรือต่อเนื่องยิ่งกว่สในโปรแกรมSportหรือPowerหรือต้องการเชนจ์เกียร์ลงมาในเกียร์ต่ำเพื่อการใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรคได้ตามต้องการเช่นเดียวกับการขับรถเกียร์ธรรมดาซึ่งดีกว่าตรงไม่ต้องเหยียบคลัทช์ทำให้มีความคล่องตัวและสนุกกว่าและจะทำได้เฉพาะรถที่มีโปรแกรมนี้เท่านั้นหากเป็นรุ่นที่ไม่มีปุ่มHoldหรือManualให้เลือกการขับขี่จะทำได้เพียงการเข้าเกียร์ในตำแหน่งต่างๆ ด้วยผู้ขับเช่นกันแต่จังหวะการเปลี่ยนเกียร์อาจจะไม่เปลี่ยนตามการโยกคันเกียร์ในทันทีทันใด เช่นเมื่อต้องการเชนจ์เกียร์เพื่อให้เครื่องยนต์ช่วยเบรคในขณะที่เครื่องยนต์มีความเร็วรอบสูงๆเกียร์จะไม่ยอมเปลี่ยนตามเพราะในโปรแกรมของภายในตัวเกียร์ได้ตั้งให้มีการเปลี่ยนเกียร์ตามสภาพความเร็วรอบเครื่องยนต์และแรงบิดจากเพลากลางเมื่อรอบเครื่องยนต์ยังสูงมันจึงไม่ยอมเปลี่ยนเพราะรับคำสั่งมาว่าในรอบขนาดนี้มันจะต้องเปลี่ยนเกียร์ให้สูงขึ้นเมื่อเราโยกคันเกียร์มาในเกียร์ต่ำก็เลยยังไม่เปลี่ยนตำแหน่งตามลงมาจนกว่ารอบเครื่องยนต์จะลดลงซึ่งต้องเสียเวลาไปชั่วระยะอึดใจตั้งแต่ถอนคันเร่ง
การขับรถลงภูเขาควรระวังไว้เช่นกันในกรณีนี้อย่าปล่อยให้รถไหลในความเร็วสูงๆแล้วมาเชนจ์เกียร์เพราะถ้าความเร็วรอบเครื่องสูงเกินกำหนดเกียร์จะไม่เปลี่ยนทันทีทันใดหากไม่มีโปรแกรมHoldกับManualอย่างใดอย่างหนึ่งผู้ขับจะต้องใช้การแตะเบรคช่วยให้รอบเครื่องลดลง การขับที่ถูกวิธีคือ เมื่อขับอยู่ในตำแหน่งเกียร์ 3และเมื่อเห็นว่าความชันของเส้นทางที่ลงมีมากจนแรงหน่วงไม่พอในเกียร์นี้และรถเริ่มเพิ่มความเร็วขึ้นควรรีบเชนจ์มาเกียร์ 2 แต่เนิ่น ๆ ตำแหน่งเกียร์จะเปลี่ยนมาทันที
การออกรถในโปรแกรมนี้จะทำได้เช่นเดียวกับเกียร์ธรรมดาทุกประการคือเริ่มออกรถในตำแหน่งเกียร์ 1 หรือLและสามารถเปลี่ยนเกียร์ 2ได้ในความเร็วรอบเครื่องต่าง ๆ กันตามต้องการไม่ว่าจะเอาแบบลากรอบสูงหรืออยากเปลี่ยนแบบนิ่ม ๆที่รอบปานกลางไปตามลำดับจนถึงตำแหน่งDซึ่งในช่วงเกียร์ 2ได้ในความเร็วรอบเครื่องต่าง ๆ กันตามต้องการไม่ว่าจะเอาแบบลากรอบสูงหรืออยากเปลี่ยนแบบนิ่ม ๆที่รอบปานกลางไปตามลำดับจนถึงตำแหน่งDซึ่งในช่วงเกียร์ 3กับ 4 ก็ใช้ปุ่มODร่วมด้วยเท่านั้นรถก็จะมีการเปลี่ยนเกียร์ครบทั้ง 4 เกียร์การเชนจ์เกียร์ก็ทำได้เช่นเดียวกันโดยย้อนกลับจากตอนออกรถ
“KickDown”
โปรแกรมนี้จะมีในรถเกียร์ออโตทุกรุ่นซึ่งไม่มีปุ่มให้กดโดยจะอยู่ที่คันเร่งนั่นเองคือการที่เมื่อเราต้องการเชนจ์เกียร์มาในเกียร์ต่ำเพื่อการเร่งแซงก็เพียงแต่กดดันคันเร่งลงไปให้มิดเกียร์จะเปลี่ยนลงไปเป็นเกียร์ต่ำกว่าเกียร์ที่ใช้อยู่และรอบเครื่องยนต์จะเพิ่มขึ้นเพราะเราเหยียบคันเร่งในตำแหน่งเร่งสุดรถจะมีการพุ่งหรือสปริ้นท์ตัวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการเร่งแซงเมื่อแซงเสร็จเรียบร้อยแล้วความเร็วความเร็วรถเพิ่มขึ้นก็จะมีการเปลี่ยนเกียร์กลับมาในเกียร์สูงตามเดิมโดยเราไม่ต้องทำอะไรกับคันเกียร์นอกจากการเร่งแซงแล้วก็ยังใช้ในโอกาสอื่น ๆ เช่นการขึ้นที่สูงชัน
ป้ายกำกับ:
เกียร์อัตโนมัติ
แรงบิดและแรงม้า
แรงบิดและแรงม้า
บทความนี้ ผมจะกล่าวถึง แรงบิด (Torque) และแรงม้า (Horse Power) ซึ่งเมื่อท่านได้อ่านบทความนี้แล้ว ท่านจะได้เข้าใจ ถึงความหมายของศัพท์ดังกล่าวและสามารถนำไปใช้ ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบเครื่องยนต์แต่ละรุ่นได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการพิจารณาเลือกรถ ที่เหมาะสมกับการใช้งานของท่านครับ
แรงบิด (Torque) คือ แรงหมุนของเพลาเครื่องยนต์ เป็นแรงที่ใช้เพื่อส่งกำลังของเครื่องยนต์ไปหมุนเกียร์ เพลา และ ล้อรถ เพื่อให้รถเคลื่อนที่ไปได้ แรงบิดจะมีค่า แตกต่างกันไปที่ความเร็วรอบเครื่องยนตต่างๆ ซึ่ง ขึ้นอยู่กับการออกแบบของผู้ผลิตว่าต้องการให้มีแรงบิด สูงสุดอยู่ที่ความเร็วรอบเครื่องยนต์ต่ำ ปานกลาง หรือ สูง รถที่ใช้เครื่องยนต์ที่มีแรงบิดสูงก็จะมีอัตราเร่ง ดีกว่ารถที่ใช้เครื่องยนต์ที่มีแรงบิดต่ำกว่าพูดง่ายๆก็คือ แรงบิดจะเป็นตัวบ่งชี้ว่ารถคันใดวิ่งเร็วกว่าอีกคันครับ ยกตัวอย่าง รถคันแรกมี 115 แรงม้าที่6500รอบ แรงบิด 14 ก.ก./เมตรที่4500รอบ คันที่สองมี100แรงม้า แรงบิด 14 ก.ก./เมตรที่ 2750 รอบ ถามว่ารถคันแรกหรือคันที่สองวิ่งกว่ากันคำตอบก็คือ รถคันที่สองจะวิ่งเร็วกว่าคันแรกครับ เพราะแรงบิดสูงสุดมาที่รอบต่ำกว่า 2750 รอบแม้ว่าจะ14กก/เมตรเท่ากันทั้งสองคันก็ตาม แรงม้าเกินกันอีก15แรงก็ตาม รถคันแรกไม่มีทางไล่รถคันที่สองทันทุกกรณี อัตตราเร่ง0-100 คันที่สองก็ใช้เวลาน้อยกว่า จับมาอัดกัน0-400เมตร คันที่สองก็อยู่หน้าคันแรกอยู่ดี ทำไมรถแข่งในสนามจึงเอามาวิ่งใช้งานปรกติไม่ได้ ก็เพราะเหตุนี้ล่ะครับแรงบิดสูงสุดมันมาที่เป็นหมื่นๆรอบ แค่ออกตัวก็ต้องออกที่รอบ4000-6000รอบ ไม่มีทางทุกกรณีที่จะเอามาวิ่งในถนนปรกติได้เลย วิธีสังเกตุหรือดูง่ายๆก็คือว่ารถคันไหนแรงบิดมันมาที่รอบต่ำกว่าคันนั้นล่ะวิ่งกว่าครับ
รถที่ใช้เครื่องยนต์ที่มีแรงบิดสูงสุดในรอบเครื่องต่ำ หรือปานกลาง จะออกตัวได้ดีกว่าและให้อัตราเร่งที่ดีกว่า ในช่วงความเร็วต่ำหรือความเร็วปานกลาง ในขณะที่ รถที่ใช้เครื่องยนต์ที่มีแรงบิดสูงสุดในรอบเครื่องสูง จะให้อัตราเร่งที่ดีกว่าในช่วงความเร็วสูง และมีแนวโน้ม ที่จะให้ความเร็วสูงสุดที่สูงกว่า (ดูในเรื่องแรงม้า) แต่ใน
การออกตัวหรือในช่วงที่ใช้ความเร็วต่ำสมรรถนะ จะด้อยกว่า หรือ ที่มักเรียกกันว่า "ต้องรอรอบ" เครื่องยนต์ที่มีแรงบิดสูงสุดที่รอบเครื่องต่ำมักเหมาะกับรถเก๋งที่ใช้งานในเมือง รถบรรทุก รถขับเคลื่อน 4 ล้อ ที่ใช้งานในป่าหรือที่ทุรกันดาร ส่วนเครื่องยนต์ที่มีแรงบิด สูงสุดที่ความเร็วรอบสูงจะเหมาะกับรถที่ใช้เดินทางไกล บ่อยๆ ต้องการอัตราเร่งที่ดีที่ความเร็วสูง หน่วยของแรงบิดที่นิยมใช้กัน คือ Kg-m, Nm และ Ft-lbs แรงม้า (Horse Power) คือ หน่วยอันหนึ่งสำหรับ ใช้วัดกำลังของเครื่องยนต์ หน่วยวัดกำลังที่นิยมใช้กัน คือ แรงม้า (HP),แรงม้า (PS) และ กิโลวัตต์ (KW)นอกจากนี้ ในบางครั้งเราจะเห็นตัวย่อ BHP ซึ่งย่อมาจาก Brake Horse Power หมายถึง กำลังของเครื่องยนต์ที่ได้รับจากเพลาเครื่อง ซึ่งเท่ากับกำลังที่เครื่องยนต์ผลิตได้หักออก ด้วยแรงเสียดทานภายเครื่องยนต์ ดัง สูตร BHP = IHP - FHP โดยที่ IHP คือ Indicated Horse Power หมายถึงกำลัง ที่เครื่องยนต์ผลิตได้ และ FHP คือ Friction Horse Power ซึ่งหมายถึงแรงเสียดทานภายในเครื่องยนต์ กำลังของเครื่องยนต์สามารถคำนวณได้จากสูตร HP = K x Torque x RPM โดยที่ K คือ ค่าคงที่ T คือแรงบิด และ RPM คือความเร็วรอบของเครื่องยนต์ แรงม้าสูงสุดของเครื่องยนต์แต่ละรุ่นแต่ละแบบจะอยู่ที่ ความเร็วรอบเครื่องยนต์แตกต่างกันไปแล้วแต่การ ออกแบบของผู้ผลิต แล้วแรงม้าเห็นกันในหนังสือ หรือใน specification ต่างๆ นั้นเป็น BHP หรือ IHP คำตอบน่าจะเป็นBHP เพราะเป็นแรงม้าที่ได้มาจากการทดสอบสมรรถนะของเครื่องยนต์ แรงม้าสูงสุดจะอยู่ที่ความเร็วรอบสูงกว่าความเร็วรอบที่มี แรงบิดสูงสุดเสมอจากที่แรงบิดของเครื่องยนต์จะแสดงถึงอัตราเร่ง แรงม้าของเครื่องยนต์ก็จะแสดงถึงความเร็วสูงสุดของรถ ซึ่งหมายถึงความสามารถในการเอาชนะแรงเสียดทาน และ แรงต้านของอากาศ ที่จะมีมากขึ้นเป็นทวีคูณ (อัตราความเร็วยกกำลังสอง)เมื่อความเร็วสูงขึ้น จากสูตรคำนวณแรงม้าจะเห็นได้ว่า สำหรับเครื่องยนต์ที่มี ขนาดเท่าๆ กัน เครื่องยนต์ที่มีแรงบิดสูงสุดที่รอบต่ำจะมี
แนวโน้มที่จะมีแรงม้าสูงสุด ต่ำกว่า เครื่องยนต์ที่มีแรงบิดสูงสุดที่รอบสูงกว่า แต่ถ้าต้องการให้มีทั้งแรงบิดและ แรงม้ามากขึ้น ก็จะต้องเป็นเครื่องยนต์ที่มีเทคโนโลยีสูงกว่า
หรือ เป็นเครื่องยนต์ที่มีขนาดใหญ่กว่า หรือ มีการติดตั้ง อุปกรณ์อื่นเพิ่ม เช่น turbocharger supercharger ฯลฯ ซึ่งแน่นอนว่าราคาของเครื่องยนต์จะสูงขึ้น ค่าใช้จ่าย ในการซ่อมบำรุงก็จะสูงขึ้น และ มักจะต้องจ่ายค่าน้ำมัน
เชื้อเพลิงมากขึ้นอีกด้วย
อันความรู้เรื่องแรงบิดและแรงม้านั้น ผมว่าไม่ใช่รู้เพื่อความเท่ห์เฉยๆ แต่มันมีประโยชน์ต่อการใช้งานรถเราด้วยครับ อย่างเช่น เรารู้แรงบิดสูงสุดว่าอยู่ที่กี่รอบ ก็ควรเปลี่ยนเกียร์(ให้สูงขึ้น)ที่ความเร็วรอบไม่เกินนั้น(อย่างเช่นอยู่ที่ 3000 รอบ เราก็ควรเปลี่ยนเกียร์ที่ 2500-3000 รอบ เพราะไปเปลี่ยนเกียร์ที่รอบสูงกว่านี้ก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร ทำร้ายเครื่องเราปล่าวๆ) เรารู้แรงม้าสูงสุดว่าอยู่ที่กี่รอบ ก็ควรใช้ความเร็วสูงสุดไม่เกินที่เขากำหนดรอบมา (มาตรวัดรอบเขาก็ทำมาให้ดูแล้ว - คงไม่ใช่เพื่อความเท่ห์อย่างเดียว) รถจะได้อยู่คู่เราไปตราบนานเท่านานครับ... ปล.สี่เท้ายังรู้พลาดครับ
บทความนี้ ผมจะกล่าวถึง แรงบิด (Torque) และแรงม้า (Horse Power) ซึ่งเมื่อท่านได้อ่านบทความนี้แล้ว ท่านจะได้เข้าใจ ถึงความหมายของศัพท์ดังกล่าวและสามารถนำไปใช้ ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบเครื่องยนต์แต่ละรุ่นได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการพิจารณาเลือกรถ ที่เหมาะสมกับการใช้งานของท่านครับ
แรงบิด (Torque) คือ แรงหมุนของเพลาเครื่องยนต์ เป็นแรงที่ใช้เพื่อส่งกำลังของเครื่องยนต์ไปหมุนเกียร์ เพลา และ ล้อรถ เพื่อให้รถเคลื่อนที่ไปได้ แรงบิดจะมีค่า แตกต่างกันไปที่ความเร็วรอบเครื่องยนตต่างๆ ซึ่ง ขึ้นอยู่กับการออกแบบของผู้ผลิตว่าต้องการให้มีแรงบิด สูงสุดอยู่ที่ความเร็วรอบเครื่องยนต์ต่ำ ปานกลาง หรือ สูง รถที่ใช้เครื่องยนต์ที่มีแรงบิดสูงก็จะมีอัตราเร่ง ดีกว่ารถที่ใช้เครื่องยนต์ที่มีแรงบิดต่ำกว่าพูดง่ายๆก็คือ แรงบิดจะเป็นตัวบ่งชี้ว่ารถคันใดวิ่งเร็วกว่าอีกคันครับ ยกตัวอย่าง รถคันแรกมี 115 แรงม้าที่6500รอบ แรงบิด 14 ก.ก./เมตรที่4500รอบ คันที่สองมี100แรงม้า แรงบิด 14 ก.ก./เมตรที่ 2750 รอบ ถามว่ารถคันแรกหรือคันที่สองวิ่งกว่ากันคำตอบก็คือ รถคันที่สองจะวิ่งเร็วกว่าคันแรกครับ เพราะแรงบิดสูงสุดมาที่รอบต่ำกว่า 2750 รอบแม้ว่าจะ14กก/เมตรเท่ากันทั้งสองคันก็ตาม แรงม้าเกินกันอีก15แรงก็ตาม รถคันแรกไม่มีทางไล่รถคันที่สองทันทุกกรณี อัตตราเร่ง0-100 คันที่สองก็ใช้เวลาน้อยกว่า จับมาอัดกัน0-400เมตร คันที่สองก็อยู่หน้าคันแรกอยู่ดี ทำไมรถแข่งในสนามจึงเอามาวิ่งใช้งานปรกติไม่ได้ ก็เพราะเหตุนี้ล่ะครับแรงบิดสูงสุดมันมาที่เป็นหมื่นๆรอบ แค่ออกตัวก็ต้องออกที่รอบ4000-6000รอบ ไม่มีทางทุกกรณีที่จะเอามาวิ่งในถนนปรกติได้เลย วิธีสังเกตุหรือดูง่ายๆก็คือว่ารถคันไหนแรงบิดมันมาที่รอบต่ำกว่าคันนั้นล่ะวิ่งกว่าครับ
รถที่ใช้เครื่องยนต์ที่มีแรงบิดสูงสุดในรอบเครื่องต่ำ หรือปานกลาง จะออกตัวได้ดีกว่าและให้อัตราเร่งที่ดีกว่า ในช่วงความเร็วต่ำหรือความเร็วปานกลาง ในขณะที่ รถที่ใช้เครื่องยนต์ที่มีแรงบิดสูงสุดในรอบเครื่องสูง จะให้อัตราเร่งที่ดีกว่าในช่วงความเร็วสูง และมีแนวโน้ม ที่จะให้ความเร็วสูงสุดที่สูงกว่า (ดูในเรื่องแรงม้า) แต่ใน
การออกตัวหรือในช่วงที่ใช้ความเร็วต่ำสมรรถนะ จะด้อยกว่า หรือ ที่มักเรียกกันว่า "ต้องรอรอบ" เครื่องยนต์ที่มีแรงบิดสูงสุดที่รอบเครื่องต่ำมักเหมาะกับรถเก๋งที่ใช้งานในเมือง รถบรรทุก รถขับเคลื่อน 4 ล้อ ที่ใช้งานในป่าหรือที่ทุรกันดาร ส่วนเครื่องยนต์ที่มีแรงบิด สูงสุดที่ความเร็วรอบสูงจะเหมาะกับรถที่ใช้เดินทางไกล บ่อยๆ ต้องการอัตราเร่งที่ดีที่ความเร็วสูง หน่วยของแรงบิดที่นิยมใช้กัน คือ Kg-m, Nm และ Ft-lbs แรงม้า (Horse Power) คือ หน่วยอันหนึ่งสำหรับ ใช้วัดกำลังของเครื่องยนต์ หน่วยวัดกำลังที่นิยมใช้กัน คือ แรงม้า (HP),แรงม้า (PS) และ กิโลวัตต์ (KW)นอกจากนี้ ในบางครั้งเราจะเห็นตัวย่อ BHP ซึ่งย่อมาจาก Brake Horse Power หมายถึง กำลังของเครื่องยนต์ที่ได้รับจากเพลาเครื่อง ซึ่งเท่ากับกำลังที่เครื่องยนต์ผลิตได้หักออก ด้วยแรงเสียดทานภายเครื่องยนต์ ดัง สูตร BHP = IHP - FHP โดยที่ IHP คือ Indicated Horse Power หมายถึงกำลัง ที่เครื่องยนต์ผลิตได้ และ FHP คือ Friction Horse Power ซึ่งหมายถึงแรงเสียดทานภายในเครื่องยนต์ กำลังของเครื่องยนต์สามารถคำนวณได้จากสูตร HP = K x Torque x RPM โดยที่ K คือ ค่าคงที่ T คือแรงบิด และ RPM คือความเร็วรอบของเครื่องยนต์ แรงม้าสูงสุดของเครื่องยนต์แต่ละรุ่นแต่ละแบบจะอยู่ที่ ความเร็วรอบเครื่องยนต์แตกต่างกันไปแล้วแต่การ ออกแบบของผู้ผลิต แล้วแรงม้าเห็นกันในหนังสือ หรือใน specification ต่างๆ นั้นเป็น BHP หรือ IHP คำตอบน่าจะเป็นBHP เพราะเป็นแรงม้าที่ได้มาจากการทดสอบสมรรถนะของเครื่องยนต์ แรงม้าสูงสุดจะอยู่ที่ความเร็วรอบสูงกว่าความเร็วรอบที่มี แรงบิดสูงสุดเสมอจากที่แรงบิดของเครื่องยนต์จะแสดงถึงอัตราเร่ง แรงม้าของเครื่องยนต์ก็จะแสดงถึงความเร็วสูงสุดของรถ ซึ่งหมายถึงความสามารถในการเอาชนะแรงเสียดทาน และ แรงต้านของอากาศ ที่จะมีมากขึ้นเป็นทวีคูณ (อัตราความเร็วยกกำลังสอง)เมื่อความเร็วสูงขึ้น จากสูตรคำนวณแรงม้าจะเห็นได้ว่า สำหรับเครื่องยนต์ที่มี ขนาดเท่าๆ กัน เครื่องยนต์ที่มีแรงบิดสูงสุดที่รอบต่ำจะมี
แนวโน้มที่จะมีแรงม้าสูงสุด ต่ำกว่า เครื่องยนต์ที่มีแรงบิดสูงสุดที่รอบสูงกว่า แต่ถ้าต้องการให้มีทั้งแรงบิดและ แรงม้ามากขึ้น ก็จะต้องเป็นเครื่องยนต์ที่มีเทคโนโลยีสูงกว่า
หรือ เป็นเครื่องยนต์ที่มีขนาดใหญ่กว่า หรือ มีการติดตั้ง อุปกรณ์อื่นเพิ่ม เช่น turbocharger supercharger ฯลฯ ซึ่งแน่นอนว่าราคาของเครื่องยนต์จะสูงขึ้น ค่าใช้จ่าย ในการซ่อมบำรุงก็จะสูงขึ้น และ มักจะต้องจ่ายค่าน้ำมัน
เชื้อเพลิงมากขึ้นอีกด้วย
อันความรู้เรื่องแรงบิดและแรงม้านั้น ผมว่าไม่ใช่รู้เพื่อความเท่ห์เฉยๆ แต่มันมีประโยชน์ต่อการใช้งานรถเราด้วยครับ อย่างเช่น เรารู้แรงบิดสูงสุดว่าอยู่ที่กี่รอบ ก็ควรเปลี่ยนเกียร์(ให้สูงขึ้น)ที่ความเร็วรอบไม่เกินนั้น(อย่างเช่นอยู่ที่ 3000 รอบ เราก็ควรเปลี่ยนเกียร์ที่ 2500-3000 รอบ เพราะไปเปลี่ยนเกียร์ที่รอบสูงกว่านี้ก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร ทำร้ายเครื่องเราปล่าวๆ) เรารู้แรงม้าสูงสุดว่าอยู่ที่กี่รอบ ก็ควรใช้ความเร็วสูงสุดไม่เกินที่เขากำหนดรอบมา (มาตรวัดรอบเขาก็ทำมาให้ดูแล้ว - คงไม่ใช่เพื่อความเท่ห์อย่างเดียว) รถจะได้อยู่คู่เราไปตราบนานเท่านานครับ... ปล.สี่เท้ายังรู้พลาดครับ
ป้ายกำกับ:
แรงบิดและแรงม้า
แอร์รถไม่เย็น
แอร์รถไม่เย็น
แอร์ไม่เย็นปัญหาเรื่องแอร์ไม่เย็นก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ในขณะขับรถ ทุกท่านที่ขับรถคงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าอากาศบ้านเรามีมลพิษมากขึ้น โยเฉพาะอย่างยิ่งมลพิษที่เกิดจากรถยนต์ ซึ่งนับวันจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ยิ่งในตัวเมืองด้วยแล้วยิ่งอันตรายมาก เนื่องจากสภาพการจราจรที่ติดขัดและจำนวนรถก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทางเจ้าหน้าที่บ้านเมืองก็ขาดความเอาใจใส่อย่างจริงจัง ปล่อยให้รถที่มีมลพิษมากยังวิ่งได้อยู่ทุกวัน ดังนั้นขณะขับรถ ผู้ขับขี่ส่วนมากจะต้องเปิดแอร์เพื่อหนีมลพิษและเพื่อความเย็นสบาย แต่ถ้าแอร์รถของคุณไม่เย็นก็อาจส่งผล ทำให้คุณเครียด หงุดหงิด และเสียสมาธิได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งยามรถติด
คำแนะนำ
หลังจากเปิดแอร์แล้ว จะมีน้ำไหลออกมาจากท่อน้ำทิ้งใต้ตู้แอร์แล้วหยดลงบน พื้นถนน ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าไม่มีน้ำหยดแสดงว่าท่อน้ำทิ้งอุดตันควรทำความสะอาดทันที ถ้า ปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ จะทำให้ตู้แอร์รั่วซึมได้
ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบปรับอากาศรถยนต์
1. คอมเพรสเซอร์ ทำหน้าที่ดูดและอัดน้ำยาแอร์ให้มีความดันสูงขึ้นและทำให้น้ำยาแอร์หมุนเวียนในระบบ ติดตั้งอยู่ที่เครื่องยนต์ อาศัยแรงขับจากเครื่องยนต์ ผ่านสายพาน มักเรียกกันว่า คอมแอร์
2. คอนเดนเซอร์ ทำหน้าที่ระบายความร้อนน้ำยาแอร์ที่ออกจาก คอมเพรสเซอร์ โดยอาศัยพัดลมระบายความร้อนหรือลมปะทะขณะรถวิ่ง
3. รีซีฟเวอร์ - ดรายเออร์ ทำหน้าที่ดูดความชื่น กรองสิ่งสกปรกในน้ำยาแอร์และกักเก็บน้ำยาแอร์ให้มีปริมาณเหมาะสมกับการใช้งานในระบบ ติดตั้งระหว่างคอนเดนเซอรืกับตู้แอร์ ที่ด้านบนจะมีตาแมวเพื่อใช้ดูว่าน้ำยาแอร์มีเพียงพอหรือไม่ นอกจากนี้บางรุ่นยังมีสวิตซ์ความดันติดตั้งอยู่ด้วย สวิตช์นี้มีไว้เพื่อป้องกันไม่ให้คอมเพรสเซอร์เสียหาย ถ้าความดันใ นระบบสูงหรือต่ำเกินไป ชุดคลัตช์แอร์จะตัดการทำงานทันที
4. ตู้แอร์ ติดตั้งอยู่ในห้องโดยสารบริเวณหลังแผงหน้าปัด มีส่วนประกอบที่สำคัญคือ
1. อีวาปอเรเตอร์ ทำหน้าที่เปลี่ยนอากาศร้อนให้อากาศเย็น
2. พัดลมตู้แอร์หรือชุดโบลว์เออร์ ทำหน้าที่ดูดอากาศร้อนภายในห้อง โดยสารให้ผ่านอีวาปอเรเตอร์เป็นลมเย็นเป่าออกทางช่องลม
3. เอกซ์แพนชันวาล์ว ทำหน้าที่ปรับความดันของน้ำยาแอร์มีคุณสมบัติในการดูด ความร้อนจากอากาศ
5. ชุดทำความร้อน ใช้ความร้อนจากน้ำหล่อเย็นของเครื่องยนต์มาอุ่นให้อากาศร้อนขึ้นแล้วเป่าออกมาโดยพัดลม ตามปกติใช้ในขณะอากาศหนาว
สาเหตุที่แอร์รถยนต์ไม่เย็นเกิดจาก
1. ฟิวส์และรีเลย์ในวงจรเครื่องปรับอากาศชำรุด และขั้วต่อสายไฟตามจุดต่าง ๆ ต่อไว้ไม่แน่น
2. สวิตช์ความดันสูง – ต่ำในระบบชำรุด หรือขั้วต่อไม่แน่น ทำให้คอม – เพรสเซอร์แอร์ไม่ทำงาน ถ้าความดันในระบบสูงหรือต่ำเกินไป คอมเพรสเซอร์ก็จะไม่ทำงานเช่นกัน ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้คอมเพรสเซอร์แอร์เสียหาย
3. คลัตช์แม่เหล็กไม่ทำงาน หรือสายไฟเข้าคลัตช์แม่เหล็กขาด
4. สายพานแอร์หย่อนเกินไปหรือขาด ทำให้คอมเพรสเซอร์หมุนช้าหรือไม่หมุน
5. พัดลมไฟฟ้าของแอร์ไม่ทำงานหรือหมุนช้า ทำให้ความร้อนที่คอน –เดนเซอร์ ( คอยล์ร้อน ) สูง สาเหตุอาจเกิดจากแบตเตอรี่มีไฟไม่พอ หรือตัวมอเตอร์พัดลมแอร์เริ่มเสื่อมสภาพ
6. มีเศษผงหรือสิ่งสกปรกติดอยู่ที่ด้านหน้าคอนเดนเซอร์แอร์ ควรใช้ลมที่มีความดันไม่เกิน 10 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว เป่าทำความสะอาด อย่าใช้ลมที่มีความดันสูงกว่านี้ เพราะอาจทำให้ครีบทที่คอนเดนเซอร์แอร์บิดงอ
7. ตัวเอ็กซ์แพนชัววาล์วเสียหรือเสื่อมสภาพ ทำให้คอมเพรสเซอร์ แอร์ตัด – ต่อบ่อยเกินไป
8. ตัวรีซีฟเวอร์ - ดรายเออร์เสื่อมสภาพ ที่ด้านบนจะมีกระจกใสเพื่อตรวจดูน้ำยาแอร์ว่ามีเพียงพอหรือไม่ ถ้ากระจกใสหรือมีฟองอากาศเล็กน้อยแสดงว่าปกติ
9. น้ำยาแอร์รั่วซึมตามจุดต่าง ๆ เช่น บริเวณข้อต่อ รั่วที่ซีลดโอริง รั่วที่คอนเดนเซอร์ ( คอยล์ร้อน ) รั่วที่บริเวณใต้ตู้แอร์ เนื่องจากมีน้ำขังอยู่ภายในตู้ทำให้เกิดการผุกร่อน ปัจจุบันตู้แอร์ส่วมมากทำด้วยอะลูมิเนียม ถ้ามีน้ำขังอยู่จะทำให้ตู้แอร์รั่วได้ง่าย
10. คอมเพรสเซอร์แอร์เสื่อมสภาพ
น้ำยาแอร์รั่วตามจุดต่าง ๆ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แอร์ไม่เย็น จุดที่น้ำยาแอร์รั่วบ่อยได้แก่ตู้แอร์ เนื่องจากมีน้ำขังอยู่ วิธีตรวจว่าระบบปรับอากาศรถยนต์ทำงานปกติหรือไม่ ทำได้โดยติดเครื่องยนต์และเปิดแอร์ ใช้มือจับที่ท่อดูดจะเย็นหรือบางทีมีน้ำเกาะ ส่วนที่ท่อจ่ายจะร้อน ถ้าเป็นแบบนี้แสดงว่าระบบปรับอากาศทำงานตามปกติ
คำแนะนำ
• หมั่นดูดฝุ่นภายในรถบ่อย ๆ และไล่น้ำออกจากตู้แอร์ทุกครั้งก่อนดับเครื่องยนต์
• หลังจากปิดแอร์แล้ว จะมีน้ำไหลออกมาจากท่อน้ำทิ้งใต้ตู้แอร์แล้วหยุดลงบนพื้นถนน ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าไม่มีน้ำหยดแสดงว่าท่อน้ำทิ้งอุดตันควรทำความสะอาดทันที ถ้าปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ จะทำให้ดูแอรืรั่วซึมได้
แอร์ไม่เย็นปัญหาเรื่องแอร์ไม่เย็นก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ในขณะขับรถ ทุกท่านที่ขับรถคงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าอากาศบ้านเรามีมลพิษมากขึ้น โยเฉพาะอย่างยิ่งมลพิษที่เกิดจากรถยนต์ ซึ่งนับวันจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ยิ่งในตัวเมืองด้วยแล้วยิ่งอันตรายมาก เนื่องจากสภาพการจราจรที่ติดขัดและจำนวนรถก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทางเจ้าหน้าที่บ้านเมืองก็ขาดความเอาใจใส่อย่างจริงจัง ปล่อยให้รถที่มีมลพิษมากยังวิ่งได้อยู่ทุกวัน ดังนั้นขณะขับรถ ผู้ขับขี่ส่วนมากจะต้องเปิดแอร์เพื่อหนีมลพิษและเพื่อความเย็นสบาย แต่ถ้าแอร์รถของคุณไม่เย็นก็อาจส่งผล ทำให้คุณเครียด หงุดหงิด และเสียสมาธิได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งยามรถติด
คำแนะนำ
หลังจากเปิดแอร์แล้ว จะมีน้ำไหลออกมาจากท่อน้ำทิ้งใต้ตู้แอร์แล้วหยดลงบน พื้นถนน ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าไม่มีน้ำหยดแสดงว่าท่อน้ำทิ้งอุดตันควรทำความสะอาดทันที ถ้า ปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ จะทำให้ตู้แอร์รั่วซึมได้
ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบปรับอากาศรถยนต์
1. คอมเพรสเซอร์ ทำหน้าที่ดูดและอัดน้ำยาแอร์ให้มีความดันสูงขึ้นและทำให้น้ำยาแอร์หมุนเวียนในระบบ ติดตั้งอยู่ที่เครื่องยนต์ อาศัยแรงขับจากเครื่องยนต์ ผ่านสายพาน มักเรียกกันว่า คอมแอร์
2. คอนเดนเซอร์ ทำหน้าที่ระบายความร้อนน้ำยาแอร์ที่ออกจาก คอมเพรสเซอร์ โดยอาศัยพัดลมระบายความร้อนหรือลมปะทะขณะรถวิ่ง
3. รีซีฟเวอร์ - ดรายเออร์ ทำหน้าที่ดูดความชื่น กรองสิ่งสกปรกในน้ำยาแอร์และกักเก็บน้ำยาแอร์ให้มีปริมาณเหมาะสมกับการใช้งานในระบบ ติดตั้งระหว่างคอนเดนเซอรืกับตู้แอร์ ที่ด้านบนจะมีตาแมวเพื่อใช้ดูว่าน้ำยาแอร์มีเพียงพอหรือไม่ นอกจากนี้บางรุ่นยังมีสวิตซ์ความดันติดตั้งอยู่ด้วย สวิตช์นี้มีไว้เพื่อป้องกันไม่ให้คอมเพรสเซอร์เสียหาย ถ้าความดันใ นระบบสูงหรือต่ำเกินไป ชุดคลัตช์แอร์จะตัดการทำงานทันที
4. ตู้แอร์ ติดตั้งอยู่ในห้องโดยสารบริเวณหลังแผงหน้าปัด มีส่วนประกอบที่สำคัญคือ
1. อีวาปอเรเตอร์ ทำหน้าที่เปลี่ยนอากาศร้อนให้อากาศเย็น
2. พัดลมตู้แอร์หรือชุดโบลว์เออร์ ทำหน้าที่ดูดอากาศร้อนภายในห้อง โดยสารให้ผ่านอีวาปอเรเตอร์เป็นลมเย็นเป่าออกทางช่องลม
3. เอกซ์แพนชันวาล์ว ทำหน้าที่ปรับความดันของน้ำยาแอร์มีคุณสมบัติในการดูด ความร้อนจากอากาศ
5. ชุดทำความร้อน ใช้ความร้อนจากน้ำหล่อเย็นของเครื่องยนต์มาอุ่นให้อากาศร้อนขึ้นแล้วเป่าออกมาโดยพัดลม ตามปกติใช้ในขณะอากาศหนาว
สาเหตุที่แอร์รถยนต์ไม่เย็นเกิดจาก
1. ฟิวส์และรีเลย์ในวงจรเครื่องปรับอากาศชำรุด และขั้วต่อสายไฟตามจุดต่าง ๆ ต่อไว้ไม่แน่น
2. สวิตช์ความดันสูง – ต่ำในระบบชำรุด หรือขั้วต่อไม่แน่น ทำให้คอม – เพรสเซอร์แอร์ไม่ทำงาน ถ้าความดันในระบบสูงหรือต่ำเกินไป คอมเพรสเซอร์ก็จะไม่ทำงานเช่นกัน ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้คอมเพรสเซอร์แอร์เสียหาย
3. คลัตช์แม่เหล็กไม่ทำงาน หรือสายไฟเข้าคลัตช์แม่เหล็กขาด
4. สายพานแอร์หย่อนเกินไปหรือขาด ทำให้คอมเพรสเซอร์หมุนช้าหรือไม่หมุน
5. พัดลมไฟฟ้าของแอร์ไม่ทำงานหรือหมุนช้า ทำให้ความร้อนที่คอน –เดนเซอร์ ( คอยล์ร้อน ) สูง สาเหตุอาจเกิดจากแบตเตอรี่มีไฟไม่พอ หรือตัวมอเตอร์พัดลมแอร์เริ่มเสื่อมสภาพ
6. มีเศษผงหรือสิ่งสกปรกติดอยู่ที่ด้านหน้าคอนเดนเซอร์แอร์ ควรใช้ลมที่มีความดันไม่เกิน 10 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว เป่าทำความสะอาด อย่าใช้ลมที่มีความดันสูงกว่านี้ เพราะอาจทำให้ครีบทที่คอนเดนเซอร์แอร์บิดงอ
7. ตัวเอ็กซ์แพนชัววาล์วเสียหรือเสื่อมสภาพ ทำให้คอมเพรสเซอร์ แอร์ตัด – ต่อบ่อยเกินไป
8. ตัวรีซีฟเวอร์ - ดรายเออร์เสื่อมสภาพ ที่ด้านบนจะมีกระจกใสเพื่อตรวจดูน้ำยาแอร์ว่ามีเพียงพอหรือไม่ ถ้ากระจกใสหรือมีฟองอากาศเล็กน้อยแสดงว่าปกติ
9. น้ำยาแอร์รั่วซึมตามจุดต่าง ๆ เช่น บริเวณข้อต่อ รั่วที่ซีลดโอริง รั่วที่คอนเดนเซอร์ ( คอยล์ร้อน ) รั่วที่บริเวณใต้ตู้แอร์ เนื่องจากมีน้ำขังอยู่ภายในตู้ทำให้เกิดการผุกร่อน ปัจจุบันตู้แอร์ส่วมมากทำด้วยอะลูมิเนียม ถ้ามีน้ำขังอยู่จะทำให้ตู้แอร์รั่วได้ง่าย
10. คอมเพรสเซอร์แอร์เสื่อมสภาพ
น้ำยาแอร์รั่วตามจุดต่าง ๆ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แอร์ไม่เย็น จุดที่น้ำยาแอร์รั่วบ่อยได้แก่ตู้แอร์ เนื่องจากมีน้ำขังอยู่ วิธีตรวจว่าระบบปรับอากาศรถยนต์ทำงานปกติหรือไม่ ทำได้โดยติดเครื่องยนต์และเปิดแอร์ ใช้มือจับที่ท่อดูดจะเย็นหรือบางทีมีน้ำเกาะ ส่วนที่ท่อจ่ายจะร้อน ถ้าเป็นแบบนี้แสดงว่าระบบปรับอากาศทำงานตามปกติ
คำแนะนำ
• หมั่นดูดฝุ่นภายในรถบ่อย ๆ และไล่น้ำออกจากตู้แอร์ทุกครั้งก่อนดับเครื่องยนต์
• หลังจากปิดแอร์แล้ว จะมีน้ำไหลออกมาจากท่อน้ำทิ้งใต้ตู้แอร์แล้วหยุดลงบนพื้นถนน ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าไม่มีน้ำหยดแสดงว่าท่อน้ำทิ้งอุดตันควรทำความสะอาดทันที ถ้าปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ จะทำให้ดูแอรืรั่วซึมได้
ป้ายกำกับ:
แอร์รถ
Curing Period
10.4 Curing Period
In general, curing
period depends upon several important factors, which are type of cement, mix
design, required compressive strength and form of concrete specimen, curing
temperature and humidity. These criterions apparently have formed a significant
factor in determining curing period, which could be either 1 month for dam
concrete or just 3 days for concrete that constituted high volume of cement,
particularly the early strength type of Portland cement.
Nonetheless, almost for
every typical structures, curing period is about 3 days to 2 weeks as
alternatively adjusted according to above mentioned criteria but the period
that most likely used for typical Portland cement is about 1 week.
Curing period of
concrete that produced within Thailand
is shown in the Table 10.3 below.
ป้ายกำกับ:
Curing
การซื้อรถ ( ด้วยตัวเอง)
การซื้อรถ ( ด้วยตัวเอง)
เตรียมพร้อม : รายละเอียดเกี่ยวกับรถ
หลังจากตัดสินใจว่าจะซื้อรถด้วยตัวเองแล้ว
ดิฉันได้เริ่มศึกษาเกี่ยวกับธุรกิจรถยนต์
ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นเรื่องยากสำหรับดิฉันและผลจากการศึกษานี้ ทำให้ดิฉันทราบว่า ควรทำอย่างไรหากต้องการรถราคายุติธรรม?
หรือสามารถสร้างกำไรในการต่อรองรถใช้แล้วได้อย่างไร?
ดิฉันได้เรียนรู้ถึงหลักจิตวิทยาที่เป็นผู้ชนะในการซื้อรถราคายุติธรรมและเป็นลูกค้าที่มีคุณค่าในเวลาเดียวกันไม่ว่าคุณจะซื้อรถใหม่หรือรถใช้แล้ว เคล็ดลับอย่างหนึ่งของผู้ขายที่คุณต้องทำความเข้าใจคือ ผู้ขายทุกคนย่อมต้องการทำการค้าที่ได้กำไรสูงสุด หลายครั้งที่ลูกค้ายอมจ่ายแพงกว่า เพียงเพราะเขาสามารถจ่ายเงินจำนวนมาก สำหรับที่โปรดปราน โดยคิดว่าเป็นราคาซื้อที่ยุติธรรมและถูกต้องแล้ว
ทั้งหมดนี้มีสาเหตุมาจากความไม่เข้าใจหรืออาจเป็นเพราะผู้ขายไม่ให้รายละเอียดที่ชัดเจน
ดังนั้นกว่าจะรู้ตัวอีกทีเขาก็ตกกระไดพลอยโจนไปซะแล้ว
ดังนั้นทราบไว้เถอะว่าคุณจะสามารถประหยัดเงินได้หลายหมื่นบาท หากเข้าใจวิธีการซื้อที่ถูกต้อง
เป็นเรื่องแน่นอนว่าแต่ละคนย่อมมีสถานการณ์ซึ่งมีผลต่อการติดต่อซื้อขาย และราคาต่างกัน เช่น
**
รถคันไหนเป็นเป้าหมายในการพิจารณาของคุณ
**
ความยืดหยุ่นในทางเลือกของคุณ
** เวลาที่คุณเข้าไปในร้าน
** ปีที่คุณซื้อ
** เดือนที่คุณซื้อ
** สภาพตลาด
** รายการสินค้าของผู้ขาย
** สถานะทางการเงิน และประวัติทางการเงินของคุณ
** สิ่งที่ผู้ขายทราบเกี่ยวกับความต้องการของคุณ
**
คุณทำการซื้อขายกับผู้ขายกับผู้ขายที่ดีหรือไม่?
การเจรจาซื้อขายและราคาส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับวิธีการจ่ายเงิน และการจัดการทางการเงินของคุณ
โดยทั่วไปผู้ขายจะแยกประเภทผู้ซื้อด้วยเกณฑ์พื้นฐาน ดังนี้
1.
คุณจะซื้อรถใหม่หรือรถใช้แล้ว?
2.
คุณจะจ่ายเงินสดหรือเป็นเงินผ่อน?
สองข้อนี้
คือ ข้อมูลที่ผู้ขายประเมินคุณเพื่อกำไร
จากการค้าให้มากที่สุด
เช่นกันถ้าคุณต้องการซื้อรถในราคาถูกที่สุด คุณต้องรู้จักประเมินผู้ขายบ้าง เพราะการประเมินผู้ขายจะมีผลไปถึงการเจรจาต่อรองเพื่อซื้อรถในราคาถูกที่สุดของคุณด้วย
เริ่มต้นประเมินผู้ขายจากขั้นแรกคือ คุณกำลังจะซื้อรถจากใคร?
เซลแมน- เซลแมน
จะได้รับการอบรมมาให้ตอบคำถามที่คุณต้องการจนเกิดความเข้าใจ และมั่นใจในรถคันนั้น ๆ
และเพราะการซื้อรถขายแต่ละครั้งมีความสำคัญสำหรับพวกเขามาก ดังนั้นเมื่อคุณติดต่อซื้อขายกับเซลแมน ควรถามตัวเองว่า “ คุณควรจะเชื่อคำแนะนำของพวกเขา
หรือตัดสินใจ
ด้วยตัวเอง “
ผู้จัดการฝ่ายขาย - เมื่อราคาที่ตกลงซื้อขายกันไม่ลงตัว เซลแมนจะพาคุณไปพบกับผู้จัดการฝ่ายขาย ผู้จัดการฝ่ายขายจะสามารถลดราคาให้คุณได้มากกว่าเซลแมน เพื่อทำให้ลูกค้าเกิดความพอใจมากขึ้น พวกเขาจะมีการโน้มน้าวที่น่าฟังขึ้น แต่อย่าเพิ่งรีบตัดสินใจยืนยันราคาที่คุณต้องการและหันหลังกลับถ้าไม่ยอม
( พวกเขาจะโทรหา และนัดคุณอีกครั้ง )
ผู้จัดการสาขา - จะสามารถลดราคาให้คุณให้มากกว่าผู้จัดการฝ่ายขาย
นอกจากนั้นยังสามารถขยายเวลารับประกันบริการแถม หรือสิทธิประโยชน์อื่น ๆ
ที่คุณจะได้รับจากการค้า และสำคัญคุณจะได้รับราคาที่ต้องการ
เซลแมนขายรถเป็นผู้มีความอดทน มีความสามารถในการเจรจาซื้อขายสูง รายได้จากงานของเขาขึ้นอยู่กับค่าคอมมิชชั่นในเงินจำนวนมากของผู้ซื้อรถ ด้วยเหตุนี้
จึงทำให้ในการซื้อรถเกือบทุกครั้งมีตำแหน่งผู้ชนะ / ผู้แพ้ ตายตัวเสมอ
นั่นคือ เขาชนะและเราแพ้
หน้าที่ของคุณคือ
อย่าให้เซลล์แมนเป็นผู้ชนะ
คุณสามารถทำได้โดยไม่ต้องเข้ารับการอบรมเกี่ยวกับการซื้อขายรถเลย เพียงใช้เทคนิคง่าย ๆ
ที่ได้จัดเตรียมไว้ในบทนี้
สำหรับการซื้อรถด้วยตัวเอง
อ่านออกเดินทางไปยังร้าน
ที่คุณหมายตาไว้
จากกลวิธีการเจรจาซื้อขายของคุณ จะทำให้ผู้ขายเห็นด้วยกับราคาที่คุณเสนอ และยอมรับกำไรน้อยลงในที่สุด ดังนั้นกุญแจสำหรับการค้าของคุณคือ
ต้องควบคุมความคิดของเซลแมนให้ยอมรับราคาที่คุณเสนอให้ได้
คุณจะตัดสินใจอย่างไรว่ารถ คันไหนเป็นแบบที่คุณต้องการ ?
ก่อนซื้อรถคุณต้องตัดสินใจว่า รถแบบไหนคือแบบทที่คุณมองหา และราคาที่ถูกต้องในตลาด สองสิ่งนี้คือ
ข้อมูลสำคัญที่คุณต้องศึกษาก่อนเจรจาซื้อขาย
การตัดสินใจว่ารถชนิดไหนที่คุณกำลังมองหา
ก่อนเข้าไปยังศูนย์บริการซึ่งมีรถมากมายให้คุณเลือก สิ่งที่คุณต้องพิจารณาถึงคือ
1)
คุณสามารถซื้อได้ในราคาเท่าไร?
2)
คุณต้องการรถสำหรับกี่คน?
3)
คุณต้องการรถที่บรรทุกได้หรือมีประตูหลังหรือไม่?
4)
คุณต้องการรถกี่ประตู?
5)
คุณต้องการใช้รถในเมือง
หรือใช้ทางออกต่างจังหวัดเป็นส่วนใหญ่?
6)
อะไรคือความปลอดภัยที่คุณต้องการ?
7)
คุณชอบเกียร์อัตโนมัติหรือรถเกียร์ธรรมดา?
8)
อุปกรณ์ อื่น ๆ ที่สำคัญในรถ
(ล็อกประตู หน้าต่างไฟฟ้า พวงมาลัยเพาเวอร์ เบรกแอนตี้ล็อก)
9)
คุณสามารถยืดหยุ่นเรื่องราคาได้หรือไม่?
เมื่อคุณได้ลักษณะของรถที่ต้องการอย่างชัดเจนแล้วเริ่มตัดสินใจเลือกรถที่เหมาะสมจาก
1.
หาข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพ
และราคารถจากนิตยสารต่าง ๆ
2.
ตัดสินใจจากลักษณะเฉพาะ และทำการเปรียบเทียบ เช่น
** ความปลอดภัย
** การควบคุมและการทำงาน
**
ความสะดวกสบายและความกว้างขวาง
** ความประหยัด
** ความน่าเชื่อถือจากโฆษณา
** ประโยชน์ใช้สอย
3.
เลือกหนึ่งหรือสองแบบ
จากลักษณะเฉพาะทั้งหมดที่ตรงกับความต้องการของคุณ
ควรซื้อรถใหม่หรือรถใช้แล้ว?
แบบไหนที่เหมาะสมกับคุณ?
รายละเอียดข้างล่างเป็นข้อเปรียบเทียบระหว่างรถใหม่และรถเก่า เพื่อช่วยคุณในการตัดสินใจ
รถใหม่
ข้อดี
1.
คุณสามารถเลือกสี
การตกแต่ง และรูปแบบได้ตามต้องการ
2.
น่าวางใจและมีประกันภัยคุ้มครอง
3.
สภาพและราคาง่ายต่อการตัดสินใจ
4.
ผู้ขายจะมีการจัดหาสถาบันทางการเงิน
ซึ่งดอกเบี้ยถูกกว่าคุณหาเอง
หรือบางยี่ห้ออาจไม่เสียดอกเบี้ยเลย
5.
มีประกันหลังการขาย
และบริการจากผู้ชำนาญงาน
ข้อเสีย
1.
รถใหม่จะมีค่าเสื่อมราคา 50 เปอร์เซ็นต์ใน
3 ปีแรก
2.
ราคาสูง
รถที่ใช้แล้ว
ข้อดี
1.
ราคาถูกกว่ามาก
2.
ไม่มีค่าเสื่อมราคา
เพราะค่าเสื่อมราคาจะอยู่ที่ผู้ซื้อเดิมแล้ว
ข้อเสีย
1.
สภาพของรถ
และราคามักไม่เหมาะสมกัน
2.
ความน่าไว้วางใจยังเป็นปัญหา
3.
มีข้อจำกัดในทางเลือกเกี่ยวกับสี
การตกแต่งและรูปแบบ
4.
ไม่มีใบรับประกัน
5.
ดอกเบี้ยสูงกว่าซื้อรถใหม่
ผู้ขายมีเคล็ดลับในการขายรถอย่างไร?
ผู้ขายรถใหม่
และรถใช้แล้วจะมีแนวทางการขายที่คล้ายคลึงกัน แต่วิธีลงทุนในการจัดซื้อและค่าใช้จ่ายต่างกัน
ๆ ผู้ขายรถใหม่จะลงทุนโดยการซื้อรถใหม่จากผู้ผลิตด้วยราคามาตรฐาน
ถ้าการขายล้าหลังผู้ผลิตซึ่งในการสนับสนุนทั้งกับผู้ขายและลูกค้า จะรณรงค์และโฆษณาเกี่ยวกับสมรรถนะของรถต่อสาธารณชนทั่วไปอย่างกว้างขวาง รวมถึงมีการลดราคา มีของแถม
และเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่าง
เพื่อให้ผู้ผลิตและบริษัทตัวแทนสามารถขายรถได้มากขึ้น เช่น
ผู้ผลิตจะมีการเพิ่มกำไรและการกระตุ้นเปอร์เซ็นต์รายได้ให้กับเซลแมน โยไม่เพิ่มราคารถ
สำหรับรถใช้แล้ว ผู้ขายจะมีอิสระในการขาย ไม่มีการตบตาจากเทคนิคการรณรงค์หรือเทคนิคกำไร
แต่ให้ระวังผู้ขายบางประเภทที่ใช้เทคนิคการพรรณนาเกินจริง เพื่อดึงดูดความสนใจ “ เราได้กำไรจากรถตอนเราซื้อ
ไม่ได้ทำกำไรตอนเราขาย “ เพราะถ้าเราซื้อรถในราคาที่เหมาะสมหรือซื้อได้ถูก
เราจะสามารถขายได้ง่ายขึ้นเนื่องจากเราขายรถในราคาที่เหมาะสม
รายละเอียดข้างล่างนี้ เป็นเคล็ดลับที่ผู้ขายนิยมใช้
โดยแต่ละข้อเป็นคำแนะนำและวิธีแก้ซึ่งเหมาะสมที่สุด
เคล็ดลับ -
จากค่าเฉลี่ย เซลแมนขายรถ ชอบคุยกับคุณเป็นเวลานานๆ เพื่อให้คุณมีเวลาเปรียบเทียบร้านค้าได้น้อยลง
วิธีแก้ -
อย่ารีบร้อน ถ้าไม่ได้ตามที่ต้องการ ให้ออกไปหาร้านใหม่
เคล็ดลับ -
เซลแมนย่อมมีความสามารถในการโน้มน้าว
ให้คุณรู้สึกต้องการรถที่เขาแนะนำได้ไม่ยาก
วิธีแก้ -
อย่าตกหลุมพราง
แม้คุณจะรู้สึกว่าต้องการรถคันนั้นมาก
อย่าพึ่งบอกให้เซลแมนรู้
ให้ออกจากร้านนั้นเพื่อใช้เวลาคิดประมาณ
48 ชั่วโมง ก่อนเซ็นสัญญาซื้อ
เคล็ดลับ -
เซลแมนขายรถบางคนมีความชำนาญมาก
คุณจะรู้สึกสะดวกสบาย
และไว้วางใจในคำพูดของเขา
วิธีแก้ -
อย่าลืมว่าเขาคือเซแมนที่มีจุดประสงค์เพียงอย่างเดียวคือหาเงิน ( จากคุณ )
ถึงเขาจะเป็นเซลแมนที่ดี
แต่นั่นคือหน้าที่ของเขาคุณควรเพียงมองหาสิ่งที่ต้องการ
เคล็ดลับ
-
ทันทีที่คุณเดินเข้าไปในร้าน
งานของเซลแมนคือการขายรถให้คุณในราคาสูงที่สุดที่จะทำได้เพราะหัวใจสำคัญของเซลแมน คือกำไรและคอมมิชชั่น ( เซลแมนส่วนมากทำงานแลกกับค่าคอมมิชชั่น )
วิธีแก้ -
คุณจำเป็นต้องทำการบ้าน
รู้ราคารถและตัดสินใจก่อนที่จะเดินเข้าไปในร้าน อย่าซื้อก่อนแล้วจึงค่อยกลับมาทำการเปรียบเทียบใช้เงินของคุณให้คุมค่าที่สุด
เคล็ดลับ -
เซลแมนยืนยันที่จะไม่ลดราคา
วิธีแก้ -
ไปที่อื่น หัวเราะและเดินออกไป
เคล็ดลับ -
เซลแมนยืนยันว่านั่นคือราคาพิเศษแล้ว
วิธีแก้ -
ถ้าคุณพบการยืนยันเช่นนี้
อย่าเชื้อง่าย ๆ
พิจารณาว่าเซลแมนโกหกหรือไม่? กลับมาคิดก่อน
เคล็ดลับ -
เซลแมน ยืนยันว่า
ราคาที่เสนอให้คุณไม่เคยมีใครได้
หรืออื่น ๆ
วิธีแก้ -
อย่าเชื่อ
แน่วแน่กับความต้องการของคุณ
เคล็ดลับ -
ผู้ขายรถที่มีประสบประการเจรจาซื้อขายรถถี่กว่า 5,000 ครั้งในแต่ละปี หรือมากกว่านั้น พวกเขาเป็นมือโปร
วิธีแก้ -
ไปจากคนขายพวกนี้
พวกเขาแค่ใช้สองสามเกมในการเจรจาซื้อขายก็สามารถมัดคุณอยู่มัดคุณมองหา คนขายที่ยังเด็กอยู่ พวกเขาจะมีประสบการณ์น้อย และอยากขายได้มากกว่า แต่อย่าประมาท เพราะเซลแมน
เหล่านี้จะใช้เวลาไม่น้อยกว่า
1
สัปดาห์ในการอบรมเทคนิคการขายเช่นกัน
เคล็ดลับ -
การซื้อรถในเวลากลางคืน
หรือในวันหยุดจะเป็นเวลาดีที่สุดของผู้ขาย
วิธีแก้ - เลือกซื้อรถระหว่างวันหยุด หรือวันสิ้นเดือน เพราะผู้ขายจะยอมต่อรอง เพื่อเพิ่มยอดขาย ในเดือนนั้น
เคล็ดลับ -
เซลแมนจะกลัวการเดินออกจากร้านของคุณมาก
ดังนั้นพวกเขาจะขอที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ และรายละเอียดที่สามารถติดต่อคุณได้ เพื่อไม่ให้สูญเสียลูกค้า
วิธีแก้ -
คุณจะเริ่มควบคุมราคาได้ในขั้นแรก
การที่เซลแมนทำเช่นนี้
เมื่อคุณเริ่มเดินออกจากร้าน
เป็นเครื่องมือที่ดีเยี่ยมของคุณ
ดังนั้นถ้าคุณไม่พอใจราคาที่เขาเสนอ
เดินออกจากร้านมาเสีย
เคล็ดลับ -
ลูกค้าส่วนใหญ่รู้ดีว่า
การเซ็นสัญญาในข้อตกลงที่ยังไม่พอใจทั้งหมด คือการตาบอดในแง่กฏหมาย แต่ด้วยความสามารถในการโน้มน้าวของเซลแมน เขากลับทำในส่งที่ตรงกันข้ามกับความตั้งใจ
วิธีแก้ -
ก่อนเซ็นสัญญา
ให้คุณตรวจดูรายละเอียดทั้งหมด
ตรวจดูกำหนดการจ่ายเงิน
และค่าใช้จ่ายที่คุณต้องเสียโดยละเอียด
นึกถึงตอนจ่ายเงินไว้ให้ดี
การเจรจาต่อรองที่คุณควรและไม่ควรทำ
ด้วยความพยายาม
คุณจะพบว่าการเจรจาซื้อขายให้ได้กำไรเป็นเรื่องง่ายกว่าที่คิด และเมื่อคุณเริ่มป้องกันตัวเองจากการเอารัดเอาเปรียบได้ทักษะในการซื้อขายที่สัมฤทธิ์ผลจะเป็นของคุณ แม้ว่าคุณจะไม่เคยมีโอกาสเรียนรู้มาก่อน แต่คุณสามารถเริ่มต้นได้จากข้อสังเกตเหล่านี้
ทำ - หาราคาที่แน่นอน ก่อนตกลงซื้อขายกับคนขาย
ทำ - ศึกษารถแบบต่าง ๆ เพื่อเปรียบเทียบราคา
ทำ - ตัดสินใจก่อนจะทำการเจรจาซื้อขาย
อย่าทำ - ยอมรับราคาที่สูงกว่าตลาดเพราะอยากได้รถเร็ว ๆ
ทำ - ตัดสินใจขั้นแรก 20
เปอร์เซ็นต์ก่อนตัดสินใจเด็ดขาด
ทำ - ยืนยันความต้องการของคุณ
อย่าทำ - แสดงความปรารถนาอย่างแรงกล้าในรถคันใดคันหนึ่ง
ทำ - เตรียมที่จะเดินออก เมื่อคุณรู้สึกอึดอัดในการตัดสินใจ เพื่อรักษาทางเลือกเดิมไว้ และป้องกันตัวเองจากโน้มน้าวของคนขาย
อย่าทำ - อย่าให้เซลแมนควบคุม หรือทำให้คุณพอใจมากเกินไป
ทำ - ถ้าเซลแมนซักถามคุณมากเกินไป ตอบคำถามด้วยการย้อนถาม
ทำ - ตรวจสอบรายละเอียดในสัญญาอย่างรอบคอบก่อนตกลงใจซื้อ
ทำ -
แสดงให้เขารู้หากพบข้อบกพร่องในการทำงานหรือปัญหาของผู้ขาย
ทำ - ตัดสินใจในส่วนสุดท้าย เมื่อกลับถึงบ้านแล้ว
อย่าทำ - อย่าคุยกับเซลแมนเพียงคนเดียวมากกว่า 2
ครั้ง
ทำ - บอกถึงทุกสิ่งที่คุณต้องการ ก่อนเซ็นชื่อ
ทำ - ทำให้เซลแมนเชื่อว่าเขาจะได้เงินจากการค้า หากยอมรับราคาที่คุณต้องการ บอกถึงราคาที่คุณจ่ายได้
ทำ - ชวนเพื่อน
หรือคนรู้จักที่มีประสบการณ์ไปให้
คำแนะนำในการซื้อรถ
หรือการเจรจาต่อรองด้วย
หลักการสำหรับคุณในการเจรจาซื้อขาย
คุณควรหลีกเลี่ยงการเจรจาต่อรองที่นานเกินไป ผู้ขายจำนวนมากจะยอมรับข้อต่อรองของลูกค้า เพราะไม่ต้องการสูญเสียลูกค้าให้ร้านอื่น เช่นหลังจากเลือกและลองขับรถดูแล้วถ้าคุณพอใจ สิ่งที่คุณควรพูดคือ
“
ฉันชอบรถคันนี้มากและอยากได้ด้วย
ถ้าได้ราคาที่สามารถจ่ายได้ก็จะซื้อไว้วันนี้เลย แต่ถ้าไม่ได้ราคาที่ต่อรองก็คงต้องยอมปล่อยมันไป
เพราะฉันคิดว่าราคาที่บอกเป็นราคาที่ยุติธรรมแล้ว
ฉันจะลองไปร้านอื่นดูเผื่อได้รถแบบเดียวกันและถ้าเป็นราคาที่พอรับได้ ก็คงพอใจซื้อที่นั่นเลย “
ด้วยประโยคนี้ทำนองนี้ คุณจะได้รับสิ่งที่ต้องการตัดบทสั้น ๆ ด้วยประโยคที่สามารถโน้มน้าวผู้ขายได้
จากนั้นพยายามล่อใจพวกเขาด้วยกลวิธีการเจรจาต่อรอง แต่สิ่งที่ควรระวังคือ ถ้าผู้ขายตกลง
หลังจ่ายเงินแล้วควรตรวจแบบและรุ่นในใบส่งของให้ละเอียด
เพื่อแน่ใจว่าผู้ขายไม่ได้แสดงรถคันนั้นแต่ขายรถอีกคันหนึ่งให้ ซึ่งจะกลายเป็นการขาดทุนจากความเลินเล่อของคุณเอง
แบบของการชำระเงิน:
เป็นแบบที่
เหมาะสมกับคุณหรือไม่
แปดในสิบของผู้ซื้อรถใหม่จะใช้ระบบเงินผ่อนจากผู้ขาย
การจ่ายเงินระบบเงินผ่อนไม่ใช่ระบบที่เหมาะสมสำหรับทุกคน อย่างไรก็ตามถ้าคุณเพิ่งเริ่มทำงาน หรือซื้อรถเป็นครั้งแรกไม่มีเงินสะสมมากพอ
ไม่ต้องการเสียเงินก้อนใหญ่หรือต้องการตัดภาระให้เป็นค่าใช้จ่ายรายเดือนที่ต่ำ วิธีเงินผ่อนเป็นวิธีที่ดีที่สุดของคุณ แต่คุณควรเปรียบเทียบสถาบันการเงิน
และหาข้อมูลในการกู้เงินระหว่างธนาคารและบริษัทเงินกู้เสียก่อน อย่าเพิ่งเซ็นชื่อใด ๆ
ทั้งสิ้นเปรียบเทียบระยะเวลาแล้วจึงเลือกแหล่งเงินกู้ที่ดอกเบี้ยต่ำที่สุด
รูปแบบต่าง
ๆ ของระบบการเงิน
ก่อนตกลงทำสัญญากับผู้ขายในระบบเงินผ่อน
ให้เปรียบเทียบดอกเบี้ยและรายจ่ายที่คุณต้องเสียไปด้วย
บริษัทไฟแนทซ์
**
ดอกเบี้ยสูงกว่าธนาคารทั่วไป
**
จำนวนเงินขึ้นอยู่กับแบบ รุ่น และยี่ห้อของรถ
** ไม่เน้นการขายรถ
ธนาคาร
** ดอกเบี้ยถูกกว่าบริษัทไฟแนนท์ที่บริษัทขายรถจัดให้
** ดอกเบี้ยต่อเดือนต่ำ
การกู้ยืมทั่วไป
** ให้ราคาสูงกว่าธนาคารและบริษัทไฟแนนซ์
**
ควรจะกู้ยืมเป็นเวลาสั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้
**
มีการจัดเตรียมแนวทางเลี่ยงภาษีไว้ให้คุณ
การกู้ยืมจากบริษัทประกันภัยที่คุณทำประกันภัยด้วย
**
ดอกเบี้ยถูกกว่าสถาบันการเงินทั้งหมด
**
สามารถจัดแผนการจ่ายเงินรายเดือนได้เอง
ทำอย่างไรคุณจึงจะไม่เสียเปรียบในการกู้ยืม
“ อย่าวิ่งเข้าหาการเสียเปรียบ ถาคุณสามารถเลือกสิ่งอื่นได้ “
Josh
Billing, 1919
คุณรู้ตัวหรือไม่ว่ากำลังเป็นหนี้มากกว่าราคารถจริง ถ้าซื้อรถในระบบเงินผ่อน?
บางครั้งคุณคุณจะเป็นหนี้มากกว่าราคาจริงถึง 2
เท่า ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับดอกเบี้ย และระยะเวลา
ในการจ่ายเงิน ทำอย่างไรให้คุณเป็นหนี้น้อยที่สุด?
เพื่อให้ค่าใช้จ่ายแต่ละเดือนสมดุล คุณควรคิดรายจ่ายไว้ตรงนี้
** คำนวณระยะเวลาจ่ายเงินและดอกเบี้ย ให้อยู่ในรูปสมดุล 100
เปอร์เซ็นต์
** สำรองรายได้ไว้สำหรับค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
** การใช้จ่ายเงินแบบประหยัดอย่างต่อเนื่อง จะทำให้คุณประหยัดเงินได้สำหรับรถคันต่อไป โดยไม่ต้องเป็นหนี้เพิ่มขึ้น
ป้ายกำกับ:
การซื้อรถ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)