รอยร้าวของคอนกรีต

รอยร้าวที่เกิดขึ้นก่อนคอนกรีตแข็งตัว
ร้อยร้าวชนิดนี้โดยปกติจะเกิดขึ้นภายใน 2 ถึง 8 ชั่วโมง หลังจากการเทคอนกรีต สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดรอยแตกร้าวชนิดนี้ จำแนกออกได้ดังนี้
1. การขยับตัวของแบบหล่อคอนกรีต (Form or Subgrade Movement)
รอยร้าวชนิดนี้สาเหตุอาจเนื่องมาจากความชื้น ซึ่งจะทำให้แบบพองตัวหรือแบบอาจไม่แข็งแรงพอรับน้ำหนักของคอนกรีตได้ อย่างไรก็ตามวัสดุยึดตรึงแบบ ไม่ว่าจะเป็นตะปู หรือ น๊อต ถ้าเกิดการหลุดหลวมก็อาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แบบขยับตัวได้เช่นกัน ส่วนกรณีคอนกรีตเทบนพื้นความชื้นจะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พื้นที่รองรับเกิดการเคลื่อนไหวหรือขยับตัว ทำให้เกิดรอยร้าวได้ การทรุดตัวของพื้นอันเนื่องมาจากการบดอัดไม่แน่นก็ทำให้เกิดรอยร้าวได้เช่นกัน รอยร้าวที่เกิดขึ้นจากสาเหตุดังกล่าวนี้รูปร่างไม่แน่นอนการควบคุมเพื่อมิให้เกิดรอยร้าวสามารถที่กระทำได้ด้วยการตรวจความแน่นของพื้นที่รองรับและแบบหล่อก่อนที่จะเทคอนกรีต
2. การทรุดหรือจมตัวของวัสดุผสมหยาบในเนื้อคอนกรีต (Settement)
รอยร้าวชนิดนี้ สาเหตุเกิดจากส่วนผสมของคอนกรีตเหลวเกินไป ดังนั้นในช่วงเวลาที่คอนกรีตกำลังก่อตัวอยู่ วัสดุผสมจำพวกหินและทรายก็ยังจมอยู่เบื้องล่างเรื่อยๆ ถ้ามีวัสดุขวางกั้นอยู่ เช่น เหล็กเสริม ท่อสายไฟ หรือท่อน้ำ ส่วนที่จมตัวทรุดตัวอยู่รอบๆ วัสดุนั้น ทำให้เกิดรอยร้าวบนผิวหน้าคอนกรีตตามแนวของวัสดุนั้นๆ สาเหตุดังกล่าวนี้สามารถควบคุมได้ด้วยสการลดปริมาณน้ำในส่วนผสมลงและใช้ หิน ทรายที่มีขนาดลดหลั่นพอดี

3. รอยร้าวเกิดจากการหดตัวของคอนกรีตในขณะก่อตัว (Plastic Shrinkage)
รอยร้าวชนิดนี้ สาเหตุเกิดจากอัตราการระเหยตัวของน้ำสูงกว่าปริมาณน้ำที่ถูกขับออกจากคอนกรีตในขณะก่อตัว เนื่องจากสภาพของดินฟ้าอากาศ และอุณหภูมิของคอนกรีตเอง รอยร้าวชนิดนี้พบมากที่สุดบนพื้นคอนกรีต ลักษณะการร้าวส่วนใหญ่จะร้าวเป็นเสส้นตรงหรือเป็นรูปตีนกา มักเกิดภายในกรอบของพื้น แต่ก็มีบ้างที่ร้าวไปจนถึงขอบเลยก็มี รอยร้าวชนิดนี้ลึกมาก บางกรณีอาจร้าวตลอดความหนาของพื้นคอนกรีต



1. การขยับตัวของแบบหล่อคอนกรีต (Form or Subgrade Movement)
2. การทรุดหรือจมตัวของวัสดุผสมหยาบในเนื้อคอนกรีต (Settement)

3. รอยร้าวเกิดจากการหดตัวของคอนกรีตในขณะก่อตัว (Plastic Shrinkage)
รอยร้าวชนิดนี้ถึงแม้จะไม่เป็นอันตรายต่อโครงสร้าง แต่ก็จะทำให้เหล็กเสริมเป็นสนิมได้ เนื่องจากรอยร้าวชนิดนี้เป็นช่องทางให้น้ำและอากาศเข้าไปทำอันตรายต่อเหล็กเสริมภายในเนื้อคอนกรีตได้ การควบคุมสามารถกระทำได้ด้วยการเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ ไม้แบบ พื้นที่รองรับวัสดุผสม นอกจากนั้นการทำแผงกันลม กันแดด การรีบแต่งหน้าคอนกรีต และการรีบบ่มคอนกรีตโดยเร็ว ก็สามารถช่วยขจัดการแตกร้าวได้ การหลีกเลี่ยงที่จะเทคอนกรีตในขณะอากาศร้อนหรือลมแรงก็สามารถที่จะช่วยขจัดการแตกร้าวได้ด้วยเช่นกัน รอยร้าวถ้าพบก่อนที่คอนกรีตจะแข็งตัว ก็อาจแก้ไขได้ด้วยการเขย่าคอนกรีตอีกครั้งหนึ่งหรือ แก้โดยการแต่งผิวหน้าคอนกรีตด้วยวิธีคลุกเคล้าคอนกรีตเข้าหากันกัน เพื่อปิดรอยร้าวดังกล่าว

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น