วิธีการเดินสายไฟฟ้า

วิธีการเดินสายไฟฟ้า
ประเภทแรกคือ การเดินสายไฟบนผนังหรือที่เรียกว่า เดินลอย วิธีนี้ค่าใช้จ่ายถูกกว่า แต่จะมองเห็นสายไฟบนผนัง ไม่ค่อยเรียบร้อย การตกแต่งห้องลำบากกว่า แต่สามารถตรวจ สอบความเสียหายได้ง่าย รวมทั้งการเปลี่ยนสายไฟก็ง่าย เพราะมองเห็น
ประเภทที่สองคือ การเดินผ่านท่อซึ่งฝังในผนังอาคารหรือที่เรียกว่า เดินร้อยสายผ่านท่อ วิธีนี้จะได้งานที่เรียบร้อย เพราะมองไม่เห็น จากภายนอก ท่อสายไฟจะฝังอยู่ในผนัง ต้อง ทำพร้อมการก่อสร้างอาคาร การตกแต่งห้องจะง่ายกว่าและมีท่อป้องกันสายไฟไว้ ค่าใช้จ่ายสูงกว่า แบบแรก การติดตั้งก็ยุ่งยากกว่ารวมถึงการตรวจสอบและการเปลี่ยนภายหลังก็ทำได้ ลำบากกว่าแบบแรก
- ระบบไฟฟ้าภายในบ้าน
ระบบไฟฟ้าภายในบ้าน ควรแยกวงจรเป็นส่วนๆ ไว้ เช่น แยกตามชั้นต่างๆ หากเกิดไฟฟ้าขัดข้องขึ้นที่ชั้นไหน ก็ สามารถสับคัตเอาท์ ปิดไฟเฉพาะส่วนชั้นนั้น เพื่อซ่อมแซมได้ และที่สำคัญส่วน ห้องครัว ควรแยกวงจรไว้ต่างหาก ด้วย เวลาไม่อยู่บ้านนานๆ จะได้ปิดไฟทั้งหมด เหลือเฉพาะ ส่วนครัวไว้ตู้เย็นในครัวจะใช้งานได้ อาหารต่างๆ จะได้ไม่เสีย

- ปัญหาของสายไฟฟ้า
ตามปกติทั่วไปสายไฟฟ้าจะมีอายุการใช้งานประมาณ 7-8 ปี แต่เมื่อมีการตรวจเช็ค และพบว่าฉนวนที่หุ้มสายไฟ เริ่มเปลี่ยนสี เป็นสีเหลืองและเริ่มกรอบแตก ก็สมควรที่จะ เปลี่ยนสายไฟใหม่ โดยไม่ต้องรอให้หมดอายุก่อน เพราะ อาจลัดวงจร และทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้
สายไฟฟ้าควรเดินอยู่ในท่อร้อยสายไฟ เพื่อป้องกัน ฉนวนที่หุ้มสายไฟไม่ให้ขีดข่วนชำรุด โดยเฉพาะสายไฟที่เดิน อยู่ภายนอกบ้าน เช่น ไฟรั้ว สนาม หรือกระดิ่งที่ติดอยู่หน้า บ้าน ส่วนใหญ่จะไม่มีท่อหุ้ม เมื่อโดนแดดโดนฝนนานๆ ก็จะ รั่วได้ เป็นอันตรายมาก ควรหมั่นตรวจสอบอยู่เสมอ หรือถ้า เปลี่ยนเป็นแบบเดินท่อก็จะปลอดภัยกว่า ที่สำคัญเวลามีปัญหา อย่าซ่อมไฟฟ้าเอง ควรตามผู้รู้หรือช่างมาซ่อมจะดีกว่า

- ชนิดของหลอดไฟ
หลอดไฟที่ใช้กันอยู่ทั่วไปมี 2 ประเภท คือ
หลอดอินแคนเดสเซนต์ หรือหลอดแบบมีไส้ ทำงาน โดยการปล่อยกระแสไฟเข้าสู่ขดลวด เพื่อให้เกิดความร้อน แล้วเปล่งแสงออกมา หลอดชนิดนี้จะกินไฟมาก มีอายุการ ใช้งานประมาณ 750 ชม.
หลอดอีกประเภท คือ หลอดฟลูออเรสเซนต์ หรือ หลอดนีออน เป็นหลอดที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน เพราะมี ประสิทธิภาพสูง มีราคาสูง (การทำงานซับซ้อนกว่าจะได้แสง มา) มีอายุการใช้งานประมาณ 8,000ชม.

- ชนิดของโคมไฟ
ชนิดของโคมไฟแบ่งตามชนิดของการใช้งานได้ ดังนี้
โคมส่องห้องโดยทั่วไป จะเป็นโคมที่ติดบนฝ้าเพดาน หรือผนังก็ได้ ความสว่างจะปานกลาง เพื่อให้เห็นห้องโดยทั่ว ไปรวมถึงทางเดินและบันไดด้วย
โคมส่องเฉพาะจุด จะมีความสว่างมากกว่า จะใช้ส่อง เฉพาะจุดที่จะเน้นความสำคัญ เช่น รูปภาพ ต้นไม้ หรือจุดที่ ต้องทำงานเป็นพิเศษ เช่น มุมอ่านหนังสือ ส่วนทำงาน หรือ เตรียมอาหาร
โคมสำหรับตั้งพื้น จะมีความสว่างน้อยที่สุด จะใช้เพื่อ นั่งพักผ่อน ดูทีวี ฟังเพลง ห้องนอน เพื่อบรรยากาศที่ดี ไม่ ต้องการแสงสว่างมารบกวนมากจนเกินไป

- ระบบไฟฟ้าในห้องน้ำ
สำหรับห้องน้ำขนาดกลางโดยทั่วๆไป จะมีขนาด ประมาณ 4-6 ตารางเมตร ควรจะมีไฟส่องสว่างประมาณ 2 จุด จุดแรกที่หน้ากระจกติดกับอ่างล้างหน้า ส่วนที่สอง ควรอยู่กลางห้องบริเวณส่วนที่อาบน้ำ แต่ต้องระวังไม่ให้ต่ำ ลงมาจนถูกน้ำกระเด็นโดนได้ ส่วนปลั๊กควรอยู่ในระดับที่ สูงพอจะใช้งานได้สะดวก เช่น ใช้สำหรับที่เป่าผม หรือที่ โกนหนวด และควรจะใช้ชนิดมีฝาปิด เพื่อไม่ให้โดนน้ำ และที่สำคัญสวิทซ์ปิด-เปิดควรอยู่นอกห้อง และระบบวงจร ไฟฟ้าของห้องน้ำควรมีเบคเกอร์ตัด เมื่อเกิดไฟฟ้าช็อตด้วย

- หลอดไฟฟ้า "ฮาโลเจน"
หลอดไฟแบบ "ฮาโลเจน" จะให้แสงสีขาวนวล มี ความสว่างมากกว่าหลอดแบบอินแคนเดสเซนต์ในกำลังวัตต์ ที่เท่ากัน จึงทำให้ประหยัดค่าไฟฟ้ามากกว่า แต่หลอดฮาโล- เจนจะมีราคาสูงกว่า ประโยชน์ใช้สอยที่เหมาะสมกับหลอด ประภทนี้ได้แก่ ใช้ไฟส่องที่โต๊ะทำงาน ปฏิมากรรม และภาพ เขียนประดับผนังต่างๆ ทำให้งานดูโดดเด่นขึ้น

- ประโยชน์และชนิดของ "ฟิวส์"
"ฟิวส์"เป็นเครื่องป้องกันกำลังของกระแสไฟฟ้าที่เกินขนาดหรือเกิดการลัดวงจร แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
แบบที่ 1 ฟิวส์เส้น จะมีลักษณะเป็นเส้นเปลือยใช้ต่อ เชื่อมในวงจร เมื่อเกิดการลัดวงจร ฟิวส์เส้นนี้จะขาด
แบบที่ 2 ฟิวส์หลอด จะมีลักษณะเป็นหลอดกระเบื้อง เมื่อเกิดการช็อตจะทำให้เกิดประกายไฟ ภายในบรรจุสารเคมี เพื่อป้องกันการสปาร์ค จะดีกว่าแบบแรก
แบบที่ 3 ปลั๊กฟิวส์ จะมีลักษณะคล้ายหลอดเกลียว ใช้โดยวิธีหมุนเกลียวเข้าไป มีลักษณะการทำงานเหมือนแบบที่ 2 แต่จะไม่เกิดประกายไฟ




- วิธีการประหยัดไฟฟ้า ข้อควรปฏิบัติเพื่อการประหยัดไฟฟ้ามี ดังนี้
1. ปิดสวิทซ์เมื่อไม่ใช้งาน หรือเมื่อออกจากห้องถึงแม้ ว่าจะเป็นช่วงสั้นๆ ก็ตาม
2. ใช้หลอดไฟฟ้าวัตต์ต่ำ ควรตรวจดูความเหมาะสม ของห้อง เช่น ห้องกว้างควรใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ 36 วัตต์ หรือห้องเล็กก็ใช้ 18 วัตต์ ควรใช้แสงสว่างเท่าที่จำเป็น
3. หมั่นทำความสะอาดหลอดไฟและโคมไฟอยู่ เสมอ เพราะละอองฝุ่นที่เกาะอยู่จะทำให้แสงสว่างลดน้อยลง และอาจเป็นสาเหตุให้ท่านต้องเปิดไฟหลายดวงเพื่อให้แสง สว่างพอเพียง สำหรับหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่มีขายในท้อง ตลาด ปัจจุบันมีชนิดที่มีประสิทธิภาพสูง คือ ขนาด 18 วัตต์ และ 36 วัตต์ ซึ่งให้แสงสว่างเท่ากับหลอดอินแคนเดสเซนต์ ขนาด 20 วัตต์ และ 40 วัตต์ แต่กินไฟน้อยกว่า
ระบบปรับอากาศ
- ชนิดของระบบปรับอากาศ
มีอยู่ 3 ระบบ คือ ระบบติดหน้าต่าง ระบบแยกส่วน ที่เรียกว่า สปลิทไทพ์ (Split Type) และระบบเครื่องทำน้ำเย็น (Water Chiller)
- ระบบติดหน้าต่าง ต้องเตรียมโครงไว้สำหรับรับน้ำ หนักของตัวเครื่อง เพราะมีน้ำหนักมาก และต้องติดลอยอยู่ กลางกำแพง ถ้าไม่เตรียมไว้จะเกิดการแตกร้าวได้ เพราะความ สั่นสะเทือนของเครื่อง
-ระบบแยกส่วน จะมีปัญหามาก ถ้าตัวเครื่องเป่าลม เย็นอยู่กลางห้อง เพราะต้องคำนึงถึงการระบายน้ำว่าจะไปทาง ใด และถ้าต่อลงห้องน้ำ ก็อาจมีกลิ่นย้อนเข้ามา ทำให้ภายใน ห้องมีกลิ่นเหม็น และภายนอก ต้องมีที่วางคอนเดนเซอร์
เครื่องทำลมเย็นของเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน จะประกอบด้วย โบล์เวอร์ และคอล์ยเย็น ซึ่งมีสารทำความเย็นระเหยอยู่ภายในคอล์ยที่ความดันต่ำ ถ้าเป็นสารทำความเย็นฟรีออน 22 ที่ใช้กันจะมีความดันประมาณ 4.5 บาร์ ขณะที่ท่อทนความดันได้กว่า 20 บาร์ โอกาสที่จะเกิดการระเบิดจึงน้อยมาก และหากจะมีการระเบิดเกิดขึ้น เพราะความบกพร่องของฝีมือการประกอบก็จะไม่เกิดไฟไหม้ขึ้น เพราะสารทำความเย็นไม่ติดไฟ เป็นสารที่สามารถใช้ดับไฟได้ โดยเฉพาะใช้เป็นสารดับไฟในห้องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์ ฯลฯ โดยการเข้าไปไล่อากาศ (ออกซิเจน) ออกไปจากห้อง หรือทำให้อากาศภายในห้องมีสัดส่วนออกซิเจนเจือจางจนไฟดับไป
- ระบบเครื่องทำน้ำเย็น (Water Chiller) เครื่องปรับอากาศที่ใช้ในอาคารขนาดใหญ่ โดยทั่วไปจะเป็นเครื่องปรับอากาศระบบน้ำเย็น ซึ่งมีน้ำเย็นไหลเวียนไปยังเครื่องทำลมเย็นที่ติดตั้งอยู่ในบริเวณที่จะปรับอากาศของอาคาร น้ำเย็นที่ไหลเข้าไปใน เครื่องทำลมเย็นมีอุณหภูมิประมาณ 7 C แลไหลออกไปมีอุณหภูมิประมาณ 13 C ในขณะที่อากาศที่ไหลเข้าไปมีภาวะที่ 26 C กระเปาะแห้ง ความชื้นสัมพัทธ์ 55 เปอร์เซ้นต์ และออกจากเครื่องที่ภาวะ 15.5 C กระเปาะแห้ง 14.5 C กระเปาะเปียก น้ำที่ออกจากเครื่องทำลมเย็นจะถูกปั้มเข้าไปในเครื่องทำน้ำเย็นขนาดใหญ่ ที่ติดตั้งอยู่ในห้องเครื่องประธาน (Main Machine Room) เพื่อทำให้น้ำมีอุณหภูมิลดลงจาก 13 C เป็น 7 C เครื่องทำลมเย็นที่ติดตั้งอยู่ในบริเวณที่ปรับอากาศ มีส่วนประกอบคือ แผ่นกรองอากาศ ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นแผงใยอะลูมิเนียม แผงท่อน้ำเย็นที่มีน้ำเย็นไหลอยู่ภายใน มีโบล์เวอร์และมอเตอร์ไฟฟ้าที่ดูดอากาศ จากบริเวณที่ปรับอากาศ ให้ไหลผ่านแผ่นกรอง และแผงท่อน้ำเย็น แล้วส่งอากาศ ที่ถูกกรองให้สะอาดและถูกทำให้เย็นลงเข้าไป ปรับอากาศในบริเวณที่ปรับอากาศ จะเห็นได้ว่าบริเวณที่ปรับอากาศนั้นมีเฉพาะเครื่องทำลมเย็นท่อน้ำ และท่อลมที่ต่อเข้ากับ เครื่องทำลมเย็นเท่านั้น ไม่มีส่วนที่จะทำให้เกิดไฟไหม้ ไม่มีส่วนที่จะระเบิด ท่อน้ำอาจจะแตกได้ถ้าประกอบหรือเชื่อมไม่ดี และหากท่อแตก ก็จะทำให้น้ำรั่วกระจายทำความเสียหายเพราะเปียกน้ำเท่านั้น
- วิธีการติดตั้งระบบแยกส่วน (Split Type)
แบ่งออกเป็น 3 ระบบ คือ
1. แบบตั้งพื้น คือ ติดตั้งส่วนที่เป่าลมเย็นไว้กับพื้น วิธีนี้จะสะดวกในการติดตั้ง สามารถซ่อนท่อน้ำทิ้งได้สะดวก ดูแลรักษาง่าย แต่จะเสียพื้นที่ในการติดตั้ง ไม่เหมาะสำหรับ ห้องเล็ก
2. แบบติดผนัง คือส่วนที่เป่าลมเย็นไว้กับผนัง การ ติดตั้งค่อนข้างลำบาก เสียพื้นที่การใช้งานในส่วนผนัง แต่ไม่ เสียพื้นที่การใช้งานของห้อง ถ้าเกิดการรั่วซึม จะทำให้ห้อง เลอะเทอะบริเวณผนัง
3. แบบแขวนเพดาน คือ ติดตั้งส่วนที่เป่าลมเย็นไว้ บนเพดาน ข้อดี คือ ใช้พื้นที่ห้องได้เต็มที่มากกว่า 2 แบบ แรก การติดตั้งลำบากมาก เพราะต้องแขวนกับฝ้าเพดาน ต้องเตรียมวางแผนล่วงหน้า การดูแลรักษายาก ยิ่งเกิดการ รั่วซึมจะทำให้พื้นที่ใช้งานใต้เครื่องเปียกได้
- วิธีป้องกันหยดน้ำจากท่อน้ำทิ้ง
โดยทั่วไปการติดตั้งเครื่องปรับอากาศจะเตรียมท่อ น้ำทิ้ง เพื่อระบายน้ำออกนอกบ้าน โดยใช้ท่อ PVC. ขนาด 1 นิ้ว แต่อาจจะทำให้เกิดหยดน้ำที่ท่อได้ เนื่องจากอากาศ ภายในท่อน้ำทิ้งซึ่งเย็นเมื่อเทียบกับอากาศภายนอกซึ่งร้อน จะเกิดการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำเกาะตามท่อ และจะหยดเลอะ เทอะภายในห้อง ดังนั้นวิธีที่ถูกต้อง ควรหุ้มด้วยฉนวนที่ท่อ น้ำทิ้งด้วย ฉนวนดังกล่าวจะทำหน้าที่ควบคุมไม่ให้อากาศ ภายนอกกับภายในสัมผัสกันโดยตรง และจะสามารถป้องกัน การเกิดหยดน้ำได้และเพื่อความสวยงามของห้อง ก็ควรทาสี หรือใช้เทปพันบริเวณท่อฉนวนนั้นให้กลมกลืนกับสีข้องห้อง

- ปัญหาของการเดินท่อน้ำทิ้ง
ปัญหาที่เกิดจากการติดตั้งเครื่องปรับอากาศก็คือ การเดินท่อน้ำทิ้งซึ่งจะปรากฏอยู่ภายในห้อง ทำให้ไม่สวย งาม วิธีการแก้ไข คือ
1. พยายามติดตั้ง FAN COIL ไว้กับผนังที่ติด กับภายนอก เพื่อให้ท่อต่างๆ เจาะทะลุผนังออกสู่ภายนอก ได้โดยให้มีส่วนของท่อน้ำทิ้งอยู่ในห้องน้อยที่สุด
2. ถ้าเป็นห้องอยู่กลางบ้าน อาจแก้ไขด้วยการฝังท่อน้ำทิ้งเข้ากับผนัง ถ้าเป็นผนังปูน ก็ใช้วิธีการสกัดผนังฝังท่อลงไปแล้วฉาบปูนทับหรือถ้าเป็นผนังเบาเช่น ยิบซั่ม บอร์ด หากความกว้างของโครงเคร่ากว้างพอก็ฝังท่อในผนังได้เลย แต่ถ้ากว้างไม่พอก็อาจเสริมโครงเคร่าอีก 1 ชั้น เพื่อให้ความกว้างเพียงพอในการซ่อนท่อน้ำทิ้งแล้วจึงเจาะผนังด้านที่ติดกับภายนอก เพื่อระบายน้ำออกอีกทีหนึ่ง

- ประโยชน์ของเครื่องปรับอากาศ
ประโยชน์ของเครื่องปรับอากาศ นอกจากทำความ เย็นแล้วยังช่วยทำให้อากาศสะอาด และควบคุมความชื้น ภายในห้องด้วย
แต่สิ่งที่ไม่ควรลืมคือ การติดตั้งพัดลมระบายอากาศ ด้วย เพราะจะทำให้อากาศไม่อับ มีการถ่ายเทอากาศจาก ภายนอกด้วย ซึ่งถ้ามีแต่ระบบทำความเย็นอย่างเดียว จะทำ ให้อากาศถ่ายเทไม่สะดวก มีผลเสียต่อสุขภาพ

- ปัญหาเครื่องปรับอากาศไม่เย็น
เหตุที่แอร์ไม่เย็นอาจจะเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้คือ
1. ตัวเครื่องแอร์กับคอนเดนเซอร์อยู่ห่างกันเกินไป
2. ตัวคอนเดนเซอร์อยู่ในที่อับไม่สามารถระบาย อากาศได้
3. น้ำยาแอร์หมด
นอกจากนี้แล้วก็ยังขึ้นอยู่กับการบำรุงรักษาและวิธีการใช้ที่ถูกต้องก็จะทำให้ยืดอายุการใช้งานได้อีกนาน
- วิธีการใช้เครื่องปรับอากาศให้ประหยัด
แบ่งได้ 2 แบบ คือ
1. วิธีประหยัดที่ไม่ต้องลงทุน เช่น จัดระบบให้ เครื่องปรับอากาศทำงานเป็นช่วงสลับกัน และปรับความเย็น ให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะคือ 25 องศาเซลเซียส ควบคุม ปริมาณอากาศภายนอกที่จะเข้ามา เพื่อไม่ให้เสียความเย็น ออกไป ทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศอย่างสม่ำเสมอ และ ติดตั้งเครื่องปรับอากาศให้อยู่สูงจากพื้นพอควร เพื่ออากาศจะ ได้หมุนเวียนได้โดยง่าย และอย่าให้เครื่องได้รับแสงอาทิตย์ โดยตรง จะทำให้เครื่องทำงานหนักขึ้น
2. วิธีประหยัดที่ต้องลงทุน เช่น ใส่ฉนวนกันความ ร้อนที่เพดาน ติดตั้งแผ่นสะท้อนความร้อนจากแสงอาทิตย์ ที่หลังคาของบ้าน หรืออาจติดตั้งกระจก 2 ชั้นเพื่อลดความ ร้อนจากแสงอาทิตย์ ซึ่งวิธีนี้ค่อนข้างมีค่าใช้จ่ายสูง รวมทั้ง การติดตั้งม่านกันแสง เลือกขนาดของเครื่องปรับอากาศให้ เหมาะสมกับขนาดของพื้นที่ห้อง และควรเป็นเครื่องปรับ อากาศที่มีฉลากเบอร์ 5 ด้วย
การติดตั้งพัดลมดูดอากาศบนฝ้าเพดาน
บ้านที่มีระบบปรับอากาศทั่วไปจะมีการติดตั้งพัดลมดูดอากาศ เพื่อระบายอากาศ เสีย และนำเอาอากาศบริสุทธิ์ (FRESH AIR) เข้ามาหมุนเวียนภายในห้อง ซึ่งพัดลม ดังกล่าวอาจติดบริเวณผนังหรือบนหน้าต่างที่เป็นกระจก ซึ่งทำให้ไม่สวยงาม จึงนิยมระบาย ขึ้นไปในช่องว่างของฝ้าเพดาน ซึ่งถ้าจำนวนพัดลมมีมากและเป่าขึ้นเพดานพร้อมๆ กัน อาจ ทำให้อากาศระบายออกไม่ทัน วิธีแก้ไขก็คือ เพิ่มเกล็ดระบายอากาศบริเวณฝ้าเพดานส่วนภายนอกห้อง เพื่อให้ อากาศใต้ฝ้าระบายออกได้ทัน

- ชนิดของระบบเครื่องฟอกอากาศ
เครื่องฟอกอากาศในบ้าน มีด้วยกัน 2 ชนิด คือ
1. ระบบแผ่นกรองอากาศ จะทำงานโดยการกรอง ฝุ่นละอองต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาให้ติดอยู่บนแผ่นกรอง ระบบ นี้จะมีราคาถูก แต่จะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแผ่น กรองในระยะยาว คือ ต้องเปลี่ยนทุก 4-6 เดือน
2. ระบบไฟฟ้าสถิต เป็นระบบที่ได้พัฒนาขึ้นมา อีกขั้นหนึ่ง คือ ใช้แผ่นกรองระบบไฟฟ้าสถิต โดยการดูด จับฝุ่นใหเข้ามาติดอยู่กับแผ่นกรอง สามารถดักจับฝุ่นขนาด เล็กมากๆ ได้ และยังผลิตอากาศบริสุทธิ์ได้ด้วย ระบบนี้ ราคาค่อนข้างสูง แต่จะประหยัดในระยะยาว เพราะสามารถ ถอดล้างทำความสะอาดได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนแผ่นกรอง

การติดตั้ง HOOD ระบายอากาศในห้องครัว
HOOD ระบายอากาศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับห้องครัว เพื่อระบายอากาศ และกลิ่น จากภายในสู่นอกอาคาร สิ่งที่ต้องคำนึงในการติดตั้ง คือ
1. ขนาดของห้องครัว และลักษณะของการปรุงอาหารว่าเป็นอาหารประเภทไหน มีควัน มีกลิ่นมากน้อยเท่าไร รวมไปถึงการกำหนดทิศทางของอากาศที่ระบายออกมา ต้อง ไม่รบกวนส่วนอื่นๆ ของบ้าน
2. ระยะของเคาน์เตอร์ปรุงอาหารกับความสูงของช่องท่อลม ต้องสัมพันธ์กันเพื่อ ประสิทธิภาพในการทำงาน และต้องมีความสัมพันธ์กับประเภทการใช้เตาว่ามีเปลวไฟสูง ขนาดไหนด้วย เพราะมีสายไฟฟ้าอยู่ภายในอาจเกิดอันตรายได้

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น