ตุ๊กตาค้ำยัน

ก็เป็นธรรมเนียมครับก่อนอื่น ต้องสวัสดีพี่ๆ น้องๆ ชาววิศวกรรมโยธาทุกๆ คนครับ ก็เหมือนเดิมครับพบกัน เช่นเดิมครับอีกแล้วครับท่าน มีเรื่องมาเล่าให้ฟังครับ มีอยู่ว่า “เด็กๆ มักชอบเล่นตุ๊กตา ส่วน โครงการงานก่อสร้างทำไมต้องเอาตุ๊กตาของเด็กๆ มาเกี่ยวข้องด้วยล่ะครับ!!!” ชักจะงงๆ ส่วนท่านที่ทราบดีแล้วที่อยู่ในวงการก่อสร้าง ก็อย่ารำคาญเลยล่ะครับ ส่วนนักศึกษาวิศวกรรมโยธาที่จะเป็นนายช่างต่อไปก็คงให้เรียนรู้ต่อไปครับ
คำว่า “ตุ๊กตา” ภาษาทางช่าง หมายถึง ค้ำยันสำหรับรองรับคานคอนกรีตนั่นเองครับ ส่วนการเรียกชื่อตุ๊กตานี้ผมคงเกิดไม่ทันหรอก และไม่ทราบแน่ชัดครับว่า “นายช่างคนไทยสมัยโบราณบัญญัติไว้” ครับ ต้องขอยกย่อง นายช่างคนไทยสมัยโบราณ ต่อไปมาเข้าเรื่องเลยครับ การที่ผู้รับเหมาหรือผู้ควบคุมที่จะทำการติดตั้งหรือหล่อคานคอนกรีตจำเป็นต้องทำตุ๊กตา ส่วนประกอบก็มีไม่กี่อย่างหรอกครับ ไม้กลมๆ หรือไม้หน้าสาม (1½” x 3″ ) นั่นแหละครับ ตะปู ฆ้อน เลื่อย เป็นต้น


พอทำตุ๊กตาแล้วก็จะมีไม้แบบท้องคานและผูกเหล็กคานในลำดับต่อ พอเสร็จแล้วก็ประกอบแบบข้างเพื่อเทคอนกรีตคานต่อไปดัง รูปที่ 1 ครับในส่วนระยะเวลาในการรื้อถอดตุ๊กตา ก็ตามข้อกำหนดของ (วสท.) ระยะเวลาก็ประมาณ 14 วันครับ ปัจจุบันความทันสมัยและการพัฒนาของวงการคอนกรีตกำลังสูง สามารถเพิ่มและเร่งกำลังของคอนกรีตให้ทันต่อการใช้งานได้ครับ สามารถเร่งถอดตุ๊กตาในระยะเวลา อันสั้นได้ครับ ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องอยู่ที่ผู้รับเหมาหรือผู้ควบคุมงานใช้คอนกรีต กำลังอัดที่เท่าใดและประสานงานกับทางเจ้าหน้าทดสอบคอนกรีตเสมอว่า คานคอนกรีตที่จะถอดตุ๊กตาต้องมีผลการทดสอบ ของคอนกรีตก่อนครับ เพื่อความปลอดภัยของโครงสร้างที่จะทำการรื้อตุ๊กตาต่อไปครับ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น