ประเภทของสี

การแบ่งประเภทของสี แบ่งตามการใช้งานโดยเริ่มจากชั้นล่างสุด คือ

1. สีรองพื้น ( Primer ) หมายถึงสีชั้นแรกสุด ที่เคลือบติดวัสดุนั้นๆ เช่น สีรองพื้นกันสนิมมีหน้าที่กันไม่ให้เกิดสนิมเหล็ก หรือเกิดช้าที่สุด สีรองพื้นปูนใหม่กันด่าง คือ สีที่กันความเป็นด่างจากพื้นปูนใหม่ เพื่อไม่ให้เกิดความเป็นด่างจากเนื้อปูน ทำปฏิกิริยากับสีทาทับหน้า ลดจำนวนสีทับหน้า วิธีนี้สามารถลดจำนวนสีทับหน้าลงได้

2. สีชั้นกลาง ( Undercoat ) เป็นสีชั้นที่สองรองจากสีรองพื้น เป็นสีที่เป็นตัวประสานระหว่างสีรองพื้นกับสีทับหน้า เป็นตัวเพิ่มความหนาของฟิล์มสี และลดการใช้สีทับหน้า

3. สีทับหน้า ( Top Coat ) เป็นสีขั้นสุดท้ายที่จะให้คุณสมบัติที่สวยงาม คงทน เงางาม มีสีมากมายให้เลือกใช้ตรงตามวัตถุประสงค์ เช่น สีขาว เหลือง แดง ขึ้นอยู่กับรสนิยมและความพอใจ

4. สีทับหน้าประเภทใส ( Clear T/C ) เป็นสีที่ไม่มี Pigment จะไม่มีสีเป็นสีใสๆ หรือเหลืองอ่อน ใช้เคลือบบนวัสดุต่างๆ ให้เงามากขึ้น หรือด้าน หรือกึ่งเงากึ่งด้าน

การจำแนกวัตถุประสงค์ของสีกับการใช้งาน

สีเป็นวัสดุเคลือบผิวชนิดหนึ่ง ซึ่งผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ต่างๆ แล้วสรุปจำแนกสีนำไปใช้งานได้อย่างคร่าวๆ เพื่อให้ีความเข้าใจ แบบกว้างๆเกี่ยวกับการแยกลักษณะการใช้งานของสีชนิดต่างๆดังนี้
1. สีทาซีเมนต์ / คอนกรีต เช่น บ้าน อาคาร ตึก คอนโด อาพาร์ทเมนต์ ที่ใช้ปูนซีเมนต์ เป็นหลัก ควรใช้สีน้ำหรือสีน้ำ Emulsion เคลือบทับพื้นผิว ดูระบบด้วย
2. สีทาไม้ – ทาเหล็ก เช่น บ้านไม้ เรือไม้ เรือเหล็กขนาดเล็ก ชิ้นงานเหล็กต่างๆ ควรใช้สีเคลือบเงาทาดูระบบด้วย
3. สีทาถนน ถนนคอนกรีต ถนนลาดยาง ควรใช้สีทาถนนโดยเฉพาะ
4. สีอบ เป็นสีที่ใช้ความร้อน อบชิ้นงาน เช่น ตู้เอกสาร แผ่นโลหะเคลือบต่างๆ
5. สีอบ ประเภท UV Cure เป็นสีหรือกึ่งหมึกพิมพ์ ใช้กับถุงอาหาร จะผ่านแสง UV และจะแห้งทันที เช่น ถุงอาหาร ดินสอ
6. สีทนความร้อน เป็นสีที่ใช้กับงานต่างๆ ที่ต้องการทนความร้อน เช่น ปล่องไฟ ปล่องควัน ท่อไอเสีย
7. สีใช้เป็นสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น ทาท่อน้ำ ปล่องไฟ ท่อก๊าซ ทาขอบถนนบอกเป็นห้ามจอด ขอบทาง
8. สีใช้งานเฉพาะ เช่น สีพ่น Acrylic ประตู Alloy สีกันเพรียง สีทาเรือรบ สีพ่นรถยนต์ สีพรางรถถัง สีพ่นตู้เอกสาร สีพ่นเครื่องดับเพลิง ฯลฯ จะมีระบุเฉพาะ
แนวคิดในการเลือกใช้สี
สีในท้องตลาดมีมากมายหลายชนิด แบ่งแยกตามจุดประสงค์การใช้งาน แนวคิดกว้างๆ ในการเลือกใช้สี ต้องเลือกใช้สี ที่เหมาะสม กับจุดประสงค์ การใช้งาน เพื่อประโยชน์สูงสุด ที่ได้รับ การเลือกสีสำหรับอาคารนั้น ต้องเลือกให้ตรงตาม วัตถุประสงค์ที่ใช้ โดยแยกตาม ประโยชน์และหน้าที่ เฉพาะของสีโดยมี รายละเอียดดังต่อไปนี้

1. ทาสีเพื่อปกป้องพื้นผิว การทีสีนั้นนอกจากทำเพื่อความเรียบร้อยสวยงามแล้วยังช่วยปกป้องและป้องกันความเสียหายอันเกิดกับพื้นผิวของวัสดุต่างๆ ของอาคารจากการกัดกร่อนของธรรมชาติ ได้แก่ แสงแดด ฝน สภาวะอากาศ รวมถึงทั้งสารเคมี และการสัมผัส เช็ด ถู ขูดขีด เป็นต้น

2. เพื่อสุขลักษณะและความสะอาด การทาสีที่ผ่านการเลือกใช้อย่างดี ถูกต้องตามลักษณะการใช้สอยของพื้นที่ในส่วนต่าง ๆ แล้ว จะช่วยทำให้ผิวหน้าของพื้นผิวเมื่อมีการใช้งานจะทำความสะอาดได้ง่ายไม่ดูดซึมน้ำและสารละลายต่างๆ ได้ เช่น ครัว ควรใช้สีที่ทำความสะอาดง่ายเช่นสีน้ำมัน หรือ สีAcrylic อย่างดี, ห้อง LAB หรือห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ ควรใช้สีที่มีความทนทานต่อสารเคมี และห้องน้ำ ควรใช้สีที่ทนต่อน้ำและความชื้นได้ดี ทำความสะอาดง่าย เป็นต้น

3. เพื่อปรับความเข้มของแสง บรรดาเฉดสีต่างๆ นอกจากจะมีผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้อยู่อาศัย เช่น ทำให้ดูโล่งกว้าง ดูหนักแน่น หรือดูเร้าใจ เป็นต้นแล้วก็ยังจะมีส่วนช่วยในการปรับ ความเข้ม จาง ของแสงจากแสงแดดและแสงไฟฟ้า เฉดของสีมีส่วนช่วยเพิ่มหรือลดความเข้มของแสงในอาคารได้ เช่น ในห้องอ่านหนังสือที่ต้องการแสงสว่างมาก ๆ ก็ควรใช้เฉดสีสว่าง เช่น สีขาว ในขณะที่ห้องชมภาพยนตร์ ควรจะเลือกใช้เฉดสีที่มืด ไม่รบกวนการชมภาพยนตร์ เป็นต้น ในห้องที่แสงไม่พอ ก็สามารถ ใช้เฉดสีสว่างเข้ามาช่วยทำให้แสงภายในห้องดีขึ้นได้ส่วนหนึ่ง

4. สัญลักษณ์เครื่องหมาย บางครั้งก็มีการใช้สีสื่อความหมาย เป็นเครื่องหมายสัญลักษณ์ ในรูปกราฟฟิก สีบางชนิด จะมีการสื่อ ความหมาย เป็นแบบมาตรฐานสากลได้ เช่น ป้ายจราจร สัญลักษณ์ ระวังอันตรายต่างๆ เป็นต้น

5. ความสวยงาม ประการสุดท้ายซึ่งเป็นประการสำคัญในการเลือกใช้สี คือเรื่องของความสวยงามความพอใจ ซึ่งเป็นผลโดยตรง และเห็นได้ชัดเจนที่สุด สำหรับงาน ทางสถาปัตยกรรม อาคารบ้านเรือนต่างๆ การเลือกชนิดของสี และ เฉดสีอาจช่วยเน้น ให้แนวความคิดใน การออกแบบแสดงออกมา ได้ดียิ่งขึ้น
การเลือกใช้สีนั้น อันดับแรก ต้องพิจาณา ถึงความต้องการใช้สอยในพื้นที่ที่จะทาเสียก่อน ว่ามีการใช้งานมากน้อย หนักเบาอย่างไรบ้าง ดูว่าพื้นที่นั้น ๆ มีความต้องการพิเศษ หรือไม่อย่างไร สุดท้ายจึงคำนึงถึงความชอบ ความสวยงาม
ชนิดและประเภทของสีเพื่อการใช้งาน
สีชนิดทาภายนอกอาคาร คือ สีที่จะทาในส่วนภายนอกอาคารทั้งหมด ที่มีการระบุให้ทาสี รวมทั้งพื้นผิวส่วนที่เปิดสู่ภายนอก หรือ พื้นผิวส่วนที่จะได้รับแสงแดดโดยตรงจากภายนอกได้ ให้ทาด้วยสีประเภทอาคิลิค (Pure Acrylic Paint )โดยทำการทา 3 เที่ยว ในการทาสีทุกชนิดโดยเฉพาะสีทาภายนอกนั้น ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดคือการเตรียมพื้นผิวสำหรับการทาสีนั่นเอง เพราะกว่า 80 % ของ การวิบัติของสี เกิดมาจาก การเตรียมพื้นผิวไม่ดี ก่อนการทาสีนั้น ต้องให้แน่ใจว่า พื้นที่จะทานั้น แห้งสนิท ไม่มีสภาพ เป็นกรดด่าง หรือมีฝุ่นเกาะ ควรเป็น ผนังที่ฉาบเรียบ ไม่มีรอยแตกให้เห็น หากมีต้องทำ การโป๊วปิดรอยต่อ เสียให้เรียบร้อย ก่อน การทาสี โดยปรกติ การทาสีทุกประเภทจะทาประมาณ 2 – 3 รอบและ ไม่ควร ทาสีเกิน 5 รอบ เพราะจะทำให้ชั้นของสี มีความหนาเกินไป และหลุดร่อนได้ง่าย

สีน้ำพลาสติกทาภายใน คือ สีที่จะทา ส่วนภายในอาคาร เช่น ผนังฉาบปูนพื้นผิว ยิปซั่มบอร์ด กระแผ่นเรียบ หรือส่วนอื่นๆ ที่ระบุให้ทา ด้วยสีพลาสติก ( ทา 2-3 เที่ยว ) ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะนำสีภายในใช้ทาผนังภายนอก เนื่องจากสีภายใน ไม่ทนแดดทนฝน ทำให้สี หลุดร่อนได้ง่าย ที่คิดว่ามีราคาถูกกว่าสีทาภายนอกตั้งแต่แรกก็จะกลายเป็นแพงกว่าขึ้นมาทันที แถมยังเสียเวลา เสียความรู้สึก อีกด้วย เวลาสีหลุดล่อนแตกลายงา ส่วนในผนังที่จะทาสีน้ำมันต้องสะอาด แห้ง และสิ่งที่สำคัญมากคือ ต้องไม่มีความชื้นเพราะ ความชื้นที่มีอยู่ ภายใน หากทาสีแล้วชั้น ของสีน้ำมันจะทับทำให้ระบายอากาศไม่ได้และจะทำให้เนื้อสีพอง บวม ออกมาได้ชัดเจน มากกว่าสีน้ำ หรือ สีอาคิลิค (Acrylic) สีในแต่ละส่วนของบ้าน ไม่ว่าจะเป็นภายนอก ภายใน หรือส่วนอื่นของบ้านย่อมมี รายละเอียดของสี ที่ทาแตกต่างกัน
การทาสี
คงจะมีอยู่น้อยคนนักที่ยังไม่เคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง และก็ยังคงมีอยู่น้อยคนเช่นกันที่จะปฏิเสธ
คำกล่าวข้างต้นว่าไม่เป็นความจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสุภาพสตรีทั้งหลาย ซึ่งส่วนใหญ่จะพบว่าการแต่งหน้าหรือแต่งตัวเป็นส่วนหนึ่ง
ของกิจวัตรประจำวันที่ขาดเสียไม่ได้ และถ้าจะเพิ่มเติมคำกล่าวข้างต้นเสียหน่อยว่า ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง บ้านสวยเพราะ
สีดี ก็ไม่น่าจะผิดความเป็นจริงแต่ประการใด เพราะบ้านที่มีสีสันสวยงามดูใหม่สะอาดตา ย่อมมีส่วนช่วยให้บ้านหลังนั้นดูเด่นเป็นสง่า
น่าอยู่อาศัย เป็นที่ประทับใจแก่ผู้อยู่อาศัยและผู้พบเห็น และการที่จะให้ได้มาซึ่งสิ่งเหล่านี้ย่อมขึ้นอยู่กับการเลือกใช้สีที่เหมาะสม การใช้
สีที่มีคุณภาพ ตลอดจนขั้นตอนในการทาสีที่เป็นไปอย่างถูกต้อง เพราะการใช้สีชนิดที่เหมาะสม มีคุณภาพ และมีขั้นตอนการทาสีที่ถูก
ต้องจะช่วยให้บ้านมีความสวยงามและสวยทนนาน
ประเภทของสีทาบ้าน
สีที่มีจำหน่ายทั่วไปตามท้องตลาดมีอยู่มากมายหลายชนิด ยิ่งถ้าจะแบ่งแยกกันอย่างละเอียดรวมถึงน้ำมันเคลือบผิวต่างๆ ด้วยแล้ว
ก็มีนับร้อยชนิดเลยทีเดียว แต่ละชนิดจะมีองค์ประกอบของเนื้อสีและคุณสมบัติที่ต่างกัน อีกทั้งวัตถุประสงค์และประเภทของการใช้งาน
ก็แตกต่างกันออกไป ซึ่งถ้าจะนำมากล่าวถึงทั้งหมดก็คงจะเป็นรายละเอียดที่เกินความจำเป็น ในที่นี้ผู้เขียนจึงจะกล่าวถึง สีเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับ งานทาสีบ้านเท่านั้น สีที่ใช้ในการทาบ้านที่นิยมใช้กันทั่วไปอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ตามวัสดุที่ใช้ทำสี และลักษณะ ของการใช้งาน อันได้แต่สีพลาสติก และสีน้ำมันดังนี้
สีพลาสติก
สีพลาสติกหรือที่เรียกกันคุ้นหูอีกชื่อหนึ่งว่าสีอะคริลิก (acrylic emulsion paint) เป็นสีพลาสติกที่ผลิตขึ้นจากลาเท็กซ์ พีวีเอซี โคพอลิเมอร์ (latex PVAc copolymer) ผสมกับแม่สี เป็นสีที่สามารถใช้น้ำเป็นตัวทำละลายหรือผสมสีให้เจือจาง แต่เมื่อสี
แห้งได้ที่แล้วจะไม่ละลายน้ำหรือหลุดลอกไปตามน้ำ ใช้สำหรับงานทาผิวพื้นปูนหรือคอนกรีตทั่วไป รวมทั้งอิฐและกระเบื้องแผ่นเรียบ
สีพลาสติกดังกล่าวยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดตามลักษณะการใช้งาน ได้แก่ สีสำหรับทาภายในและสีสำหรับทาภายนอก
สีพลาสติกชนิดทาภายนอกนั้นจะมีคุณสมบัติที่ทนต่อแดด และฝนได้ดีกว่าสีชนิดทาภายใน อีกทั้งสีพลาสติกที่มีจำหน่ายอยู่
ในท้องตลาดมากมายหลายยี่ห้อนั้นยังมีคุณสมบัติและความคงทนของสีที่แตกต่างกันออกไปอีกขึ้นอยู่กับส่วนผสมและปริมาณของเนื้อสี
ที่มีอยู่ ทั้งนี้ระดับราคาก็จะแตกต่างกันออกไปด้วย นอกจากนี้ปัจจุบันยังมีการพัฒนาสีให้มีคุณสมบัติพิเศษต่างๆ ให้เลือกใช้ เช่น สีที่มี
ความยืดหยุ่นตัวสูง เพื่อปกปิดรอยแตกลายงาของผนัง สีที่สามารถเช็ดล้างทำความสะอาดได้ง่าย สีที่สามารถป้องกันเชื้อราและตะไคร่
น้ำ เป็นต้น ซึ่งสีดังกล่าวจะมีราคาที่ค่อนข้างสูง
สีน้ำมัน
สีน้ำมันหรืออาจเรียกอีกสีหนึ่งว่าสีเคลือบเงา (full gloss enamel) เป็นสีน้ำมันที่ผลิตขึ้นจากแอลคิดเรซิน (alkyd resin) ผสมกับแม่สี ใช้น้ำมันหรือทินเนอร์เป็นตัวทำละลายหรือผสมสีให้เจือจาง ใช้สำหรับงานทาไม้และโลหะหรือแม้แต่ทาผิวปูนและ คอนกรีต เพื่อให้เกิดความเงางาม ทำความสะอาดได้ง่าย สีน้ำมันที่มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดมีอยู่มากมายหลายประเภท ผลิตขึ้นเพื่อให้
สามารถนำไปใช้งานประเภทต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง เช่น งานอุตสาหกรรม งานโครงสร้าง รวมทั้งงานซ่อมแซมต่างๆ ซึ่งสีน้ำมันแต่
ละประเภทจะมีคุณสมบัติพิเศษที่แตกต่างกันออกไปตามลักษณะของการใช้งาน เช่น สีบางประเภทอาจจะต้องมีคุณสมบัติที่ทนต่อน้ำ
เค็ม สารเคมี หรือ ความร้อนเป็นต้น แต่สีน้ำมันที่ใช้สำหรับทาบ้านซึ่งส่วนใหญ่มักจะใช้ทาวงกบ ประตู หน้าต่าง หรือบางส่วนที่เป็น
เหล็กนั้นจะเป็นสีน้ำมันชนิดทั่วไป การเลือกใช้สีมักพิจารณาเลือกใช้ตามยี่ห้อของสีเท่านั้น เพราะสีต่างยี่ห้อกันอาจมีคุณสมบัติในด้าน
ความคงทนและราคา ที่แตกต่างกัน
งานทาสีแม้มองเผินๆ จะไม่ใช่ของยาก แต่ถ้าจะทำให้ได้ผลงานที่ดีก็ไม่ใช่ของง่ายเช่นกัน ขั้นตอนการทสีที่ถูกต้องเหมาะสม ก็มีความสำคัญไม่น้อยกว่าตัวสีที่ใช้เลยทีเดียว เพราะมีส่วนอย่างมากที่จะทำให้ผลงานของสีที่ทานั้นมีความสวยงาม เรียบร้อย และ คงทน เริ่มต้นจาการเตรียมพื้นผิวของบริเวณที่จะทำการทาสี เช่น ถ้าเป็นพื้นผิวที่เป็นปูนพื้นผิวจะต้องแห้ง สะอาด ปราศจากคราบไขมัน สีเก่า หรือ เศษปูนฉาบที่หลุดล่อน ถ้าเป็นพื้นผิวที่เป็นเหล็กพื้นผิวจะต้องแห้ง สะอาด ปราศจากสนิม ฝุ่น ไขมัน และวัสดุที่หลุดล่อน เป็นต้น นอกจากนี้ การใช้สีที่มีสภาพใหม่รวมทั้งอุปกรณ์ทาสีที่สะอาดปราศจากสิ่งปนเปื้อนก็จะช่วยให้ได้ผลงานทาสีที่มีคุณภาพดี
การทาสีและการเลือกใช้สี
1. หลังจากการทำความสะอาดพื้นผิวตรงบริเวณที่จะทำการทาสีแล้วก่อนการทาสีจริงหรือสีทับหน้าจะต้องมีการทาสีรองพื้น
ก่อนเสมอ ซึ่งสีรองพื้นดังกล่าว จะต้องเป็นชนิดที่เหมาะสมกับ ชนิดและสภาพของพื้นผิว ที่จะทาด้วยเพื่อให้ผลงาน ที่ได้มี คุณภาพดี และคงทน เพราะสีรองพื้นต่างชนิดกัน จะมีคุณสมบัติในการป้องกันและรักษาที่แตกต่างกัน เช่น ใช้สีรองพื้นปูนใหม่ กันด่างสำหรับพื้นผิวปูน ที่ยังไม่เคยทาสีมาก่อน ใช้สีรองพื้นปูนเก่า สำหรับพื้นผิวปูนเก่า ที่เคยผ่านการทาสี และขูดสีเก่าออกแล้ว ใช้สีรองพื้นแดงกันสนิม
สำหรับงานทาสีพื้นผิวเหล็กทั่วไป และใช้สีรองพื้นไม้กันเชื้อราสำหรับงานทาสีพื้นผิวไม้ เป็นต้น มีอยู่บ่อยครั้งที่มีการทาสีจริง ทับหน้าเลยโดยไม่มีการทาสีรองพื้นก่อน เช่น งานทาสีเหล็กต่างๆ หรือมีการใช้สีรองพื้นผิดประเภท เช่น งานทาสีปูนเก่าและปูนใหม่ ซึ่งอาจจะทำด้วยความจงใจหรือไม่ก็ตาม แต่สิ่งเหล่านี้ จะทำให้ผลงาน ที่ได้มีคุณภาพไม่ดี เท่าที่ควร และมีอายุการใช้งานสั้นลง
2. . การเลือกสีที่ใช้ว่าเป็นสีอะไรนั้นควรจะเลือกตามเบอร์หรือสเป็กของสีที่แต่ละบริษัทผลิตมาจากโรงงาน เพราะแต่ละบริษัท
ผลิตมาจากโรงงาน เพราะแต่ละบริษัทจะผลิตสีต่างๆ ออกมาให้เลือกเป็นจำนวนมากอยู่แล้ว ไม่ควรนำสีต่างๆ มาผสมเอง เพราะการ ผสมสีเองในแต่ละครั้ง อาจเกิดการผิดเพี้ยนได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อต้องมีการผสมสี เพื่อซ่อมสีบางจุดใน ภายหลัง อาจเกิด การผิดเพี้ยนได้มาก อีกประการหนึ่งการนำสีต่างๆ มาผสมกันเองอาจเป็น สาเหตุที่ทำให้มีการนำเอาสีเก่า หรือสีที่ด้อยคุณภาพ มาผสมลงไปได้โดยง่าย ซึ่งทำการตรวจสอบได้ยาก ทำให้สีที่ได้ด้อยคุณภาพลงอีกด้วย
3. สีที่นำมาใช้ควรจะเป็นสีใหม่หรืออยู่ในสภาพที่ดี มีเนื้อสีสม่ำเสมอเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่มีลักษณะของการปนเปื้อนหรือจับตัว
เป็นก้อน กระป๋องที่บรรจุสีจะต้องอยู่ในสภาพดี มีฝาปิดสนิท มีการระบุเบอร์ของสีที่ชัดเจน ไม่อยู่ในสภาพบุบเบี้ยวหรือหรือเต็มไปด้วยสนิม ซึ่งทำให้ไม่สามาถเก็บรักษาสีให้อยู่ในสภาพที่ดีได้
4. สำหรับบางคนอาจจะเลือกใช้กระดาษปิดผนัง (wallpaper) แทนการทาสีในบางส่วนเพื่อเพิ่มความหรูหราสวยงามให้แก่
ตัวบ้าน เนื่องจากการใช้กระดาษปิดผนัง จะต้องใช้กาวเป็นตัวติดประสาน จึงมีข้อควรระวังปัญหา เรื่องน้ำ โดยเฉพาะผนังด้าน ที่มีหน้าต่างหรือช่องกระจก ควรระวังเรื่องการรั่วซึมของน้ำฝน เพราะหากมีน้ำรั่วซึมออกมาแล้ว จะทำให้กระดาษปิดผนัง เป็นรอยด่าง ขึ้นราและหลุดออกได้ง่าย ฉะนั้นการเลือกใช้กระดาษปิดผนัง แทนการทาสี จึงควรพิจารณาถึง สิ่งเหล่านี้ด้วย เพื่อหาทางป้องกันเอาไว้
อาคารบ้านเรือนหลายหลังที่พบว่ามีอาการวิบัติของสีที่ใช้ในการทาบ้าน หรือที่ภาษาชาวบ้านเขามักจะเรียกว่า “สีลอก สีร่อน” จริง ๆ แล้วอาการที่ว่าก็เกิดจากสาเหตุไม่กี่อย่าง แต่พอจะมีวิธีป้องกัน และแก้ไขเสียก่อน ตั้งแต่กระบวนการก่อสร้าง หลักการข้อแรกคือ ต้องพึงนึกอยู่เสมอว่า สีกับความชื้นจะไม่ถูกกัน ฉะนั้นถ้ามีสิ่งที่ก่อให้เกิดความชื้น ก็ไม่ควรที่จะลงมือทำอะไรที่เกี่ยวกับสีครับ เช่น ในกรณีหน้าฝนที่มีฝนตกลงมาเช่นนี้ ก็ไม่ควรที่จะให้ช่างสีลงมือทาสีเลยทันที โดยเฉพาะผนังภายนอก หลังจากฝนตกแล้วควรทิ้งไว้สัก 2-3 วันหรือมากกว่านั้นได้ยิ่งดี เพื่อให้ความชื้นในผนังหมดไปเสียก่อน จึงได้ฤกษ์ลงมือทาสีกันได แต่ถ้าการก่อสร้างของท่าน เร่งด่วนจริง ๆ ก็มีสีรองพื้นปูนใหม่ประเภทที่ฉาบเสร็จ 1 วันทาได้เลยครับ เป็นสีผสมผงปูนอย่างหนึ่ง สีชนิดนี้จะทาประมาณ 2-3 รอบ ลักษณะการทาจะเหมือนกับการฉาบปูน (ปูนกาว) บาง ๆ ทับปูนฉาบไปอีกชั้นหนึ่ง แต่หากเป็นสีปกติธรรมดาจะลงมือทาสีได้ หลังจากฉาบและทิ้งไว้ ๑๔ - ๒๘ วันเป็นอย่างน้อย เพื่อให้ปูนทำปฏิกิริยาให้เสร็จเสียก่อน จึงจะทาสีได้ ไม่เช่นนั้นสีก็จะเป็นขุย หรือจะลอก ซีดได้

ปัญหาอีกอย่างที่พบเห็นกันอยู่ทั่วไปคือ รอยร้าวเล็ก ๆ ที่ผนังซึ่งก็เป็นอุปสรรคต่อการทาสีได้เช่นกัน รอยร้าวเหล่านี้ส่วนใหญ่ เกิดจากการที่ไม่ได้ทำเอ็นรอบวงกบ และต่อเอ็นไปเชื่อมส่วนโครงสร้างหลักหรือไม่ได้ ติดลวดตะแกรงที่มุมวงกบ หรืออาจเกิดจาก ฝีมือของช่างฉาบเอง เช่น ฉาบปูนแล้วไม่ได้บ่มน้ำ หรืออาจจะเป็นเพราะว่า ใช้ฟองน้ำฉาบไล้ผิวแบบผิดวิธี
ถ้าเป็นรอยแคร๊กเล็กๆ ทั้งหลายสามารถ "โป๊ว" ปิดรอยแตก หรือ อาจจะด้วยเนื้อสีเอง โดยการใช้แปรงสีทาปาด ให้เนื้อสีมีความหนา ปิดรอยแตก โดยให้ทาเน้นๆ รอจนกว่าสีจะแห้ง จากนั้นไล่ลูกกลิ้งแบบทาสีทั่วไป แต่มักจะมีปัญหาตามมาทีหลัง ถ้าแตกเป็น รอยใหญ่ ก็ใช้ปูนยิปซัม (ปูนพลาสเตอร์) อุดเข้าไป แต่ถ้าใหญ่มาก็ ควรสกัดเป็นแนวแล้วฉาบแก้เข้าไปใหม่แต่วิธีนี้ก็ยังเป็นวิธีที่ไม่ดีเท่าไรนัก เนื่องจากเนื้อปูนที่ฉาบเข้าไปใหม่นั้นไม่ได้เป็นเนื้อเดียวกันกับปูนเก่า จึงมีโอกาสหลุดออกมาเป็นแนว เมื่อตึกมันเก่า ถ้ามีงบประมาณพอก็ควร สกัดทั้งผืนแล้วฉาบใหม่อีกที แล้วจึงลงมือทาสี ข้อสำคัญผนังที่จะทาสีนั้นต้องสะอาด แห้ง ไม่มีความชื้น พื้นที่จะทานั้นแห้งนิดไม่มีสภาพเป็นกรดด่าง หรือมีฝุ่นเกาะควรเป็นผนังที่ฉาบเรียบ ไม่มีรอยแตกให้เห็น และข้อสำคัญที่สุด จะประหยัดอะไร ก็ประหยัดได้แต่อย่าไปประหยัดสีรองพื้น หรือที่ช่างมักเรียกว่า ไพร์มเมอร์ เป็นอันขาด เพราะสีรองพื้น จะทำหน้าที่ทั้งในการยึดเหนียวสีที่ทากับผนัง และยังช่วยไล่ความชื้นจากผนังไม่ให้เข้าไปทำลายสีไม่ให้เกิดการหลุดล่อน

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น