การขนส่งคอนกรีต การลำเลียงคอนกรีต

การขนส่งคอนกรีตหรือการลำเลียงคอนกรีต จากจุดที่ผสมคอนกรีต ไปยังจุดที่จะเท ต้องกระทำในลักษณะที่ทำให้คอนกรีตยังคงสภาพสม่ำเสมอ และเสียค่ายุบตัวน้อยที่สุด
1. ข้อกำหนดของ ว.ส.ท.ในเรื่องของการขนส่งคอนกรีตหรือการลำเลียงคอนกรีต
1.1 คอนกรีตที่ขนส่งจากเครื่องผสมไปยังจุดที่จะเท ต้องขนส่งด้วยวิธีที่มีการป้องกันมิให้คอนกรีตแยกตัว หรือหกรั่ว
1.2 เครื่องมือที่ใช้ขนส่งคอนกรีตต้องมีประสิทธิภาพดี โดยไม่ทำให้ส่วนผสมของคอนกรีตแยกตัว และเสียจังหวะในการเท จนกระทั่งคอนกรีตสูญเสียแรงเกาะกันระหว่างคอนกรีตที่เทต่อเนื่องกัน

2. วิธีการขนส่งคอนกรีตหรือการลำเลียงคอนกรีต
วิธีการขนส่งคอนกรีตหรือการลำเลียงคอนกรีตขึ้นอยู่กับลักษณะงาน และพื้นที่ทำงาน วิธีที่ใช้กันส่วนใหญ่ ได้แก่
2.1 การใช้ถังหรือรถเข็นปูน การใช้ถังจะสามารถใช้ได้กับงานที่มีจุดเท และจุดผสมอยู่ต่างระดับกัน สำหรับการใช้รถเข็นปูน จะใช้ได้กับงานในแนวระดับ วิธีทั้งสองจะต้องสิ้นเปลืองแรงงานมาก และไม่ควรใช้ในกรณีที่ระยะทางขนส่งไกล ๆ เพราะคอนกรีตจะมีโอกาสเกิดการแยกตัวได้สูง



2.2 การใช้รางปูน วิธีนี้เหมาะสำหรับงานที่มีจุดเทอยู่ต่ำกว่าจุดผสมมากๆ คอนกรีตที่ใช้จะต้องไม่แห้งจนไหลไม่สะดวก หรือเปียกจะน้ำแยกตัวออกจากส่วนที่เป็นของแข็ง หากรางมีความยาวมากๆ อาจทำชั้นพักเป็นชั้นๆ ให้คอนกรีตคงสภาพสม่ำเสมอได้ และควรมีสิ่งปกคลุม เพื่อป้องกันการระเหยของน้ำในคอนกรีตระหว่างการขนส่ง
2.3 การใช้สายพานส่ง วิธีนี้จะใช้กับงานในทุกสภาพ สิ่งที่ต้องระวังคือการระเหยของน้ำในคอนกรีต และการแยกตัวของคอนกรีตอาจเกิดขึ้น ณ จุดเปลี่ยนของสายพานได้

2.4 การใช้ท่ออัดส่งหรือฉีด (Concrete Pump) วิธีนี้เหมาะกับงานขนาดใหญ่ สิ่งที่ต้องระวัง คือ วิธีนี้จะทำให้มีการสูญเสียน้ำขณะฉีด หรือพ่นมาก อัตราส่วนผสมคอนกรีตจึงต้องมีส่วนผสมของปูนซีเมนต์ และน้ำมากกว่าปกติ ทำให้สิ้นเปลืองมากกว่า


2.5 การใช้ถังเทคอนกรีต วิธีนี้ก็เป็นอีกวิธีที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน โดยจะประกอบด้วยถังเทคอนกรีตขนาดต่างๆ ซึ่งอาจจะใช้โมบายเครน หรือทาวเวอร์เครนในการยกไปเทในสถานที่ที่ต้องการ ซึ่งถังเทคอนกรีตก็จะมีหลายหลาย ทั้งขนาดความจุและรูปแบบ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น