ความรู้เบื้องต้นก่อนการออกแบบ. (ตอนที่ 2)

1.1.3.ชิ้นส่วนโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ
        มีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป ตามลักษณะรูปร่างและการจัดวางเพื่อต้านทาน และรับน้ำหนักที่มากระทำ ดังแสดงในรูปที่ 1.1
       1.คาน(Beams and girders) หมายถึง โครงสร้างที่รับน้ำหนักผ่านด้านข้างของตัวคานเอง ในรูปของโมเมนต์ดัด และ แรงเฉือน เช่น จันทัน อกไก่ ตะเฆ่สัน-ตะเฆ่ราง ขื่อ อะเส รวมถึงบังใบหรือปั่นลม คานแม่บันได ลูกขั้นบันได ตง ลฯ
       2.ชิ้นส่วนรับแรงดึง(Ties) หมายถึง โครงสร้างที่รับน้ำหนักผ่านแนวแกนหรือจุด c.g. ในรูปของแรงดึง เช่น สลิงยึดเสาอากาศรับ-ส่งสัญญาณ ค้ำยันหรือชิ้นส่วนต่างๆในระบบโครงสร้างเหล็กทั้งหมดที่วิเคราะห์ออกมาแล้วมีเฉพาะแรงดึงเกิดขึ้น ลฯ
       3.ชิ้นส่วนรับแรงอัด(Struts , column or stanchions) หมายถึง โครงสร้างที่รับน้ำหนักผ่านแนวแกนหรือจุด c.g. ในรูปของแรงอัด เช่น ดั่ง เสาต่างๆ ค้ำยันต่างๆหรือชิ้นส่วนต่างๆในระบบโครงสร้างเหล็กทั้งหมดที่วิเคราะห์ออกมาแล้วมีเฉพาะแรงอัดเกิดขึ้น ลฯ
       4.ชิ้นส่วนค้ำยัน(Bracing) หมายถึง ชิ้นส่วนที่วางตัวอยู่ในแนวเอียงซึ่งอาจจะเป็นโครงสร้างรับแรงอัดหรือแรงดึงก็ได้ เพื่อทำหน้าที่ต้านทานแรงลมและช่วยเพิ่มเสถียรภาพของโครงสร้าง ซึ่งการวางตัวดังกล่าวอาจวางในระนาบของโครงหลังคา-โครงถัก หรือ ระนาบของเสา
       5.แป(Purlins) หมายถึง โครงสร้างประเภทคานสำหรับน้ำหนักวัสดุมุงหลังคา
       6.โครงถัก(Truss and lattice girders) หมายถึง โครงสร้างที่ประกอบกันขึ้นเป็นโครงด้วยทั้งชิ้นส่วนรับแรงอัดและชิ้นส่วนรับแรงดึง ซึ่งจะรับน้ำหนักโดยผ่านด้านข้างในแนวตั้งของตัวโครงถักเอง ซึ่งเรานำโครงถักมาใช้ทั้งในส่วนของการเป็นตัวโครงสร้างหลักเพื่อรับน้ำหนัก หรือใช้ในส่วนของการค้ำยัน-ยึดโยงโครงสร้างเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดความแข็งแรง และมีเสถียรภาพที่มั่นคงยิ่งๆขึ้น

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น